Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65703
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชวลิต รัตนธรรมสกุล | - |
dc.contributor.author | พัชรินทร์ นันทิวาวัฒน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-05-09T14:13:09Z | - |
dc.date.available | 2020-05-09T14:13:09Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741741332 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65703 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบอีจีเอสบีในการบำบัดน้ำเสียกากส่าสดจากโรงงานสุราแสงโสม โดยศึกษาถึงผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์ และเปรียบเทียบความเร็วไหลขึ้นในถังปฏิกรณ์โดยให้น้ำเข้ามีความเข้มข้นซีโอดีคงที่เท่ากับ 5,000 มก./ล. แต่แปรค่าภาระบรรทุกสารอินทรีย์เท่ากับ 5 10 และ 15 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน และเปรียบเทียบ ความเร็วไหลขึ้นในถังปฏิกรณ์ชุดที่ 1 และ 2 ซึ่งมีความเร็วไหลขึ้น 3 และ 5 ม./ชม. ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์5 10 และ 15 กก.ชีโอดี/ลบ.ม.-วัน มีเวลากัก 24 12 และ 8 ชั่วโมง ตามลำดับ ร้อยละการกำจัดซีโอดีในถังปฏิกรณ์ชุดที่ 1 (ความเร็วไหลขึ้น 3 ม./ชม.) มีค่าเฉลี่ย 50 51 และ 53 ตามลำดับ ปริมาณก๊าซชีวภาพเกิดขึ้น 1.4 4.5 และ 5.7 ลิตร/วัน คิดเป็นอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพต่อซีโอดีที่ถูกกำจัด 0.27 0.43 และ 0.33 ล./ก.ซีโอดีที่ถูกกำจัด โดยมีร้อยละของก๊าซมีเทน 65.2 60.1 และ 57.8 ตามลำดับ ส่วนถังปฏิกรณ์ชุดที่ 2 (ความเร็วไหลขึ้น 5 ม./ชม.) มีค่าเฉลี่ยในการกำจัดซีโอดีคิดเป็นร้อยละ 51 53 และ 55 ตามลำดับ ปริมาณก๊าซชีวภาพเกิดขึ้น 1.3 4.1 และ 5 .4 ลิตร/วันคิดเป็นอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพต่อชีโอดีที่ถูกกำจัด 0.25 0.38 และ 0.31 ล./ก.ซีโอดีที่ถูกกำจัด โดยมีร้อยละของก๊าซมีเทน 65.6 60.3 และ 58.2 ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการลดสีมีค่าเท่า 9-11เปอร์เซ็นต์ในทุกชุดการทดลอง นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทดลองเพิ่มเติมเพื่อศึกษาผลของการเพิ่มภาระบรรทุกสารอินทรีย์แบบทันทีทันใด โดยเพิ่มภาระบรรทุกสารอินทรีย์จาก 15 เป็น 25 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน เวลากักลดลงเหลือ 4.8 ชม. พบว่าประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีลดลงเหลือ 48 เปอร์เซ็นต์ในถังปฏิกรณ์ชุดที่ 1 และ 49 เปอร์เซ็นต์ในถังปฏิกรณ์ชุดที่ 2 ทั้งนี้เนื่องจากอัตราส่วน F/M มีมากเกินกว่าที่ต้องการ ปริมาณก๊าซชีวภาพเกิดขึ้น 9.6 และ 9.1 ลิตร/วัน คิดเป็นอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพต่อซีโอดีที่ถูกกำจัด 0.39 และ 0.37 ล./ก.ซีโอดีที่ถูกกำจัด โดยมีร้อยละของก๊าซมีเทน 54.7 และ 55.1 ตามลำดับ ปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้นมากนี้ส่งผลให้เม็ดตะกอนจุลินทรีย์ลอยขึ้นไปติดกับเครื่องแยกตะกอนในปริมาณมาก เนื่องจากระดับชั้นตะกอนขยายตัวมาก จึงทำให้ระยะตกตะกอนลดลง ส่วนพารามิเตอร์อื่น ๆ มีค่าใกล้เคียงกับชุดการทดลองอื่น จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าระบบอีจีเอสบีสามารถรับภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่ 25 กก.ชีโอดี/ลบ.ม.-วันได้และยังป้องกันการเพิ่มภาระบรรทุกสารอินทรีย์แบบทันทีทันใดได้เป็นอย่างดี และยังสามารถลดค่าใช้จ่ายสารเคมี โซเดียมใบคาร์บอเนตที่ใช้ปรับสภาพด่างก่อนเข้าระบบได้ถึง 1.55 ก./ลิตรคิดเป็นเงิน 27.9 บาท/ลบ.ม. | - |
dc.description.abstractalternative | The research is aims to study on the efficiencies of Expanded Granular Sludge Bed (EGSB) system applied to the treatment of distillery slop wastewater. The research examined the effects of organic loading rate and compares upflow velocity เท the reactors. The influent COD content was 5,000 mg/l on average, while the organic loading rate varied by 5, 10 and 15 kg-COD/m3-day. The upflow velocity levels of the reactor 1 and 2 were 3 and 5 m/hr, respectively. The results show that the system having organic loading rate at 5, 10 and 15 kg-COD/m3-day has hydraulic retention time (HRT) 24, 12 and 8 hours, respectively. Average percentages of COD removal in Reactor 1 (whose upflow velocity is 3 m/hr) were 50, 51 and 53 percent, respectively. Biogas contents in Reactor 1 were 1.4, 4.5 and 5.7 l/day that contained methane 65.2, 60.1 and 57.8 percent, respectively. While average percentages of COD removal in Reactor 2 (whose upflow velocity is 5 m/hr) are 51, 53 and 55 percent, respectively. Biogas contents in Reactor 2 are 1.3, 4.1 and 5.4 l/day that contain methane 65.6, 60.3 and 58.2 percent, respectively. Biogas production per gram of COD removal was 0.27, 0.43 and 0.33 l/g COD removed in Reactor 1 and 0.25, 0.38 and 0.31 l/g COD removed in Reactor 2 for reactor with HRT of 24, 12 and 8 hours, respectively. The efficiency of color removal is in the range of 9-11 percent in every experiment. There was also an additional experiment to study effects from an increase in organic loading rate suddenly from 15 kg-COD/m3-day of 25 kg-COD/m3-day and the declining of hydraulic retention time to be 4.8 hours. It was found that the efficiency of COD removal in Reactor 1 and 2 slightly decreased to be 48 and 49 percent, respectively. This was due to the exceeding F/M ratio. Biogas contents in the reactors were 9.6 and 9.1 l/day, respectively. This plenty amount of gas affected the rising biomass that stuck on the surface of gas transporting pipe in gas-solid separator. As there was a large expansion of the sludge bed, the height of sedimentation zone therefore decreased. Other parameters contents were similarly to those of the other experiments. It shows that the Expanded Granular Sludge Bed (EGSB) system has a high potential to accept high organic loading rate upto 25 kg-COD/m3-day and prevent the sudden increase in organic loading. Moreover, The system could reduce sodium bicarbonate consumption for alkalinity adjustment. The saving cost was approximately 27.9 bahts/ m3 | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ | en_US |
dc.subject | เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ | en_US |
dc.subject | Sewage -- Purification -- Biological treatment | en_US |
dc.subject | Bioreactors | en_US |
dc.title | การประยุกต์ใช้ถังปฏิกรณ์อีจีเอสบีสำหรับบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสียกากส่าจากโรงงานสุรา | en_US |
dc.title.alternative | Application of expanded granular sludge bed reactor for treatment of organic matters in distillery slop wastewater | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th, chavalit@anoxic.env.chula.edu | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patcharin_nu_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อและสารบัญ | 895.46 kB | Adobe PDF | View/Open |
Patcharin_nu_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 645.61 kB | Adobe PDF | View/Open |
Patcharin_nu_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Patcharin_nu_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 970.59 kB | Adobe PDF | View/Open |
Patcharin_nu_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Patcharin_nu_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 627.33 kB | Adobe PDF | View/Open |
Patcharin_nu_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.