Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65722
Title: ผลของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันที่มีต่อการพัฒนาเมตาคอกนิชันในการอ่านและการแก้ปัญหา และต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 11
Other Titles: Effects of science instruction using metacognitive strategy on metacognition development in reading and problem solving and on scientific concept of lower secondary school students in schools under the Department of Gerneral Education, educational region eleven
Authors: จุฑารัตน์ ชนานุสาสน์
Advisors: อลิศรา ชูชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Alisara.C@Chula.ac.th
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
เมตาคอคนิชัน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Science -- Study and teaching (Secondary)
Metacognition
Academic achievement
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบเมตาคอกนิชันในการอ่านและเมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหา ระหว่างก่อนและหลังการเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน 2) เปรียบเทียบเมตาคอกนิชันในการอ่าน เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหา และมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน และกลุ่มที่เรียนตามปกติ และ 3) ศึกษามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เรียนโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน และกลุ่ม เปรียบเทียบจำนวน 30 คน เรียนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) มาตรวัดเมตาคอกนิชันในการอ่านมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.78 และสามารถจำแนกระหว่างนักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนเมตาคอกนิชันสูงกับกลุ่มที่มีคะแนน เมตาคอกนิชันตํ่าด้วยค่าสถิติทีอยู่ในช่วง 2.26 -5.08 2) มาตรวัดเมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหามีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.76 และสามารถจำแนกระหว่างนักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนเมตาคอกนิชันสูงกับกลุ่มที่มีคะแนนเมตาคอกนิชันตํ่าด้วยค่าสถิติทีอยู่ในช่วง 1.99-5.85 และ 3) แบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.33 - 0.59 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเมตาคอกนิชันในการอ่านสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหา สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ภายหลังการทดลองตํ่ากว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือตํ่ากว่าร้อยละ 70 แต่สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: This study was a quasi-experimental research. The purposes of this study were 1) to compare metacognition in reading and metacognition in problem solving of students learning by using metacognitive strategy between before and after learning 2) to compare metacognition in reading, metacognition in problem solving and scientific concept of students between the groups learning by using metacognitive strategy and the group learning by conventional teaching method 3) to study the scientific concept of students learning by using metacognitive strategy. The samples were mathayom suksa two students of Prangku School, Srisaket. They were divided into two groups with 30 students in each group: an experimental group learning through metacognitive strategy and a comparative group learning through conventional method. The research instruments were 1) reading metacognition scale with reliability at 0.78 and was able to discriminate high metacognition group and low metacognition group with t-test scores between 2.26-5.08 2) problem solving metacognition scale with reliability at 0.76 and was able to discriminate high metacognition group and low metacognition group with t-test scores between 1.99-5.85 and 3) scientific concept test with reliability at 0.81 and the discriminative levels were 0.33-0.59. The collected data were analyzed by means of arithmetic means, percentage, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. After the experiment, an experimental group had the reading metacognition score higher than before the experiment and higher than a comparative group at 0.05 level of significance 2. After the experiment, an experimental group had the problem solving metacognition score higher than before the experiment and higher than a comparative group at 0.05 level of significance 3. After the experiment, an experimental group had the average score of scientific concept test lower than the criterion score set at 70 percent but higher than a comparative group at 0.05 level of significance
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65722
ISSN: 9741743718
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jutarat_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ819.19 kBAdobe PDFView/Open
Jutarat_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1865.75 kBAdobe PDFView/Open
Jutarat_ch_ch2_p.pdfบทที่ 22.37 MBAdobe PDFView/Open
Jutarat_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3923.82 kBAdobe PDFView/Open
Jutarat_ch_ch4_p.pdfบทที่ 4685.89 kBAdobe PDFView/Open
Jutarat_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5772.33 kBAdobe PDFView/Open
Jutarat_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.