Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65738
Title: การศึกษาสมรรถนะของอุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อม
Other Titles: Study on performance of indirect evaporative cooler
Authors: โอสุ อัมพวานนท์
Advisors: ตุลย์ มณีวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fmetmn@eng.chula.ac.th, Tul.M@Chula.ac.th
Subjects: การปรับอากาศ
การทำความเย็นแบบระเหย
Air conditioning
Evaporative cooling
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับนำมาใช้ในการลดอุณหภูมิอากาศ เนื่องจากมีข้อดีคือสามารถช่วยลดอุณหภูมิลงโดยไม่เพิ่มความชื้นให้อากาศ มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง การทำงาน และการบำรุงรักษาตํ่า แต่ปัญหาที่สำคัญของอุปกรณ์แบบนี้คือไม่สามารถลดอุณหภูมิลงได้มากนัก งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมรรถนะของอุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อม เพื่อศึกษาผลของความเร็วอากาศและผลของความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิกระเปาะแห้งและกระเปาะเปียกของอากาศที่มีผลต่อสมรรถนะของอุปกรณ์ รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการนำอุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมมาใช้งานในสภาวะอากาศของประเทศไทย ผลจากการทดลองพบว่า ความเร็วอากาศด้านคอยล์ควบแน่นของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนจะไม่ส่งผลต่อสมรรถนะของอุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ความเร็วอากาศด้านคอยล์ระเหยของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนมีผลอย่างมากต่อสมรรถนะของอุปกรณ์ กล่าวคือ เมื่อความเร็วอากาศเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้สมรรถนะลดลง ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความแตกต่างของอุณหภูมิกระเปาะแห้งและกระเปาะเปียกของอากาศ จากการทดลองพบว่าเมื่อความแตกต่างของอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้สมรรถนะเพิ่มขึ้น จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำอุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมมาใช้ในสภาวะอากาศของประเทศไทย ซึ่งมีผลต่างของอุณหภูมิกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้งประมาณ 5-8 องศาเซลเซียส อุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมจะมีสมรรถนะเฉลี่ยประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์ จึงลดอุณหภูมิอากาศได้เพียงเล็กน้อย (น้อยกว่า 3 ℃) ดังนั้นสรุปได้ว่า การนำอุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมมาใช้ในสภาวะอากาศของประเทศไทยนั้นมีความเป็นไปได้น้อย
Other Abstract: อุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับนำมาใช้ในการลดอุณหภูมิอากาศ เนื่องจากมีข้อดีคือสามารถช่วยลดอุณหภูมิลงโดยไม่เพิ่มความชื้นให้อากาศ มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง การทำงาน และการบำรุงรักษาตํ่า แต่ปัญหาที่สำคัญของอุปกรณ์แบบนี้คือไม่สามารถลดอุณหภูมิลงได้มากนัก งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมรรถนะของอุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อม เพื่อศึกษาผลของความเร็วอากาศและผลของความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิกระเปาะแห้งและกระเปาะเปียกของอากาศที่มีผลต่อสมรรถนะของอุปกรณ์ รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการนำอุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมมาใช้งานในสภาวะอากาศของประเทศไทย ผลจากการทดลองพบว่า ความเร็วอากาศด้านคอยล์ควบแน่นของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนจะไม่ส่งผลต่อสมรรถนะของอุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ความเร็วอากาศด้านคอยล์ระเหยของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนมีผลอย่างมากต่อสมรรถนะของอุปกรณ์ กล่าวคือ เมื่อความเร็วอากาศเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้สมรรถนะลดลง ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความแตกต่างของอุณหภูมิกระเปาะแห้งและกระเปาะเปียกของอากาศ จากการทดลองพบว่าเมื่อความแตกต่างของอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้สมรรถนะเพิ่มขึ้น จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำอุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมมาใช้ในสภาวะอากาศของประเทศไทย ซึ่งมีผลต่างของอุณหภูมิกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้งประมาณ 5-8 องศาเซลเซียส อุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมจะมีสมรรถนะเฉลี่ยประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์ จึงลดอุณหภูมิอากาศได้เพียงเล็กน้อย (น้อยกว่า 3 ℃) ดังนั้นสรุปได้ว่า การนำอุปกรณ์ทำความเย็นแบบระเหยโดยอ้อมมาใช้ในสภาวะอากาศของประเทศไทยนั้นมีความเป็นไปได้น้อย
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65738
ISBN: 9741736827
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Osu_am_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.08 MBAdobe PDFView/Open
Osu_am_ch1_p.pdfบทที่ 1639.46 kBAdobe PDFView/Open
Osu_am_ch2_p.pdfบทที่ 21.43 MBAdobe PDFView/Open
Osu_am_ch3_p.pdfบทที่ 31.41 MBAdobe PDFView/Open
Osu_am_ch4_p.pdfบทที่ 4958.51 kBAdobe PDFView/Open
Osu_am_ch5_p.pdfบทที่ 5621.31 kBAdobe PDFView/Open
Osu_am_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.