Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65771
Title: ชุมชนชาวโปรตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2059-2310
Other Titles: The Portuguese community during the Ayutthaya period, 1516-1767
Authors: พิทยะ ศรีวัฒนสาร
Advisors: ปิยนาถ บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ชุมชนโปรตุเกส (พระนครศรีอยุธยา)
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงศรีอยุธยา, 2059-2310
ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- โปรตุเกส
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งอธิบายวิถีชีวิตและบทบาททางประวัติศาสตร์ของชุมชนโปตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยาระหว่างพ.ศ.2059-2310 เพื่อสะท้อนภาพชีวิตทางสังคม และบริบทต่างๆ ที่เกิดขึ้นแวดล้อมชุมชนแห่งนี้ โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาสถาปนาความสัมพันธ์กับอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.2054 สัญญาทางพระราชไมตรีฉบับแรกใน พ.ศ.2059นอกจากจะทำให้เกิดการติดต่อทางการค้าแล้ว ยังทำให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งถิ่นฐานในราชธานีแห่งนี้และส่งผลให้พวกเขากลายเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาจนถึง พ.ศ.2310หลักฐานประวัติศาสตร์ไทยแทบจะไม่กล่าวถึงชุมชนโปรตุเกสในเมืองพระนครศรีอยุธยา เอกสารไทยรู้จักชุมชนชาวโปรตุเกสในนามชาวฝรั่ง ชาวนรเทศ ชาวแขกประเทศ และชาวกะปิตันชุมชนโปรตุเกสเป็นชุมชนอิสระขนาดเล็กที่มีศักยภาพหลายด้านนอกดินแดนยึดครองของรัฐโปรตุเกสอินเดียซึ่งนอกจากจะอยู่ภายใต้การปกครองของสยามแล้ว ยังมีความผูกพันหลายด้านกับรัฐโปรตุเกสอินเดียอย่างเหนียวแน่นด้วย โดยหัวหน้าชุมชนได้รับการแต่งตั้งจากทางการรัฐโปรตุเกสอินเดียและองค์กรทางศาสนาหลายคณะในชุมชนได้รับพระราชูปถัมภ์จากกษัตริย์โปรตุเกสโดยตลอด ผู้วิจัยได้แบ่งวิวัฒนาการของชุมชนโปรตุเกสเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 เป็นชุมชนพ่อค้าและทหารอาสาขนาดเล็ก มีประชากรประมาณ 2,000 คน (พ.ศ.2059-2112)ระยะที่ 2 เป็นชุมชนพ่อค้า ทหารรับจ้างโปรตุเกส และคนครึ่งชาติโปรตุเกส มีประชากรประมาณ 3,000 คนเศษ (พ.ศ.2112-2199) ระยะที่ 3 เป็นชุมชนเมชติซูเชื้อสายโปรตุเกสมีประชากรประมาณ 6,000 คนเศษ (พ.ศ.2199-2310) ผลการศึกษาชี้ชัดว่า วิถีชีวิตของชุมชนแห่งนี้มีภาษาศาสนา และวัฒนธรรมเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความเป็นคนเชื้อสายชาวโปรตุเกส สมาชิกของชุมชนได้ทำงานรับใช้ราชสำนักหลายหน้าที่ นอกจากนี้พวกเขายังมีบทบาททางด้านการค้าทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งบทบาทในการเผยแพร่ศาสนา วัฒนธรรมการกินอยู่ และศิลปวิทยาการในสยามการเข้ามาของชาวยุโรปชาติอื่นส่งผลกระทบต่อชุมชนโปรตุเกสเป็นอันมาก ความบาดหมางกับทางการสยามเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลโดยรวมให้ทางการสยามไม่ไว้วางใจชาวตะวันตกการเป็นชุมชนชาวต่างชาติที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีรากฐานเป็นส่วนหนึ่งของระบบกำลังพลในสยามทำให้ต้องอดทนและดิ้นรน รวมทั้งปรับตัวเพื่อการอยู่รอดในสังคมสยาม
Other Abstract: The purpose of this thesis is to describe theways of life and historical role of the Portuguesecommunity in Ayutthaya during 1516-1767. The Portuguesewere the first European to establish relationship withthe Kingdom of Ayutthaya in 1511. The treaty signedbetween them in 1516 not only introduced tradingrelation between the two parties but also led to thefounding of the Portuguese settlement in the city ofAyuttaya. The Portuguese thus became an integral partof Ayutthaya history until the fall of the kingdom in1767. Thai historical documents have very littleinformation on the Portuguese community in Ayutthaya ;they were variously referred to in the documents as theFarang, the Bortesa, the Paratesa and the Capitanese. Asmall community outside the Estado da India. , itnevertheless was endowed with high potentials. Althoughit was an extent under the jurisdiction of Ayutthaya,it maintained a close relation with its central stateat Goa ; its village's chief, the capitao-mor wasappointed by the Estado da India and its churches underthe patronage of the king of Portugal. Its developmentcould be divided into 3 periods. First , the communityof some 2,000 Portuguese traders and freelancers during1516-1569. Second, the community of some 3,000Portuguese and Mesticos traders and mercenaries during1569-1653. Third, the community of some 6,000 Eurasiansduring 1653-1767. The research finds throughout itshistory, this Portuguese community maintain its ownlanguages, religion, culture and way of life. Some ofits members entered into the service of the Siamesecourt in various functions and some involved ininternal and external trading and missionary works.They also introduced firearms and other westerntechnology to Siam. However, the troubled relationswith other European nations increasingly affected thestatus of the Portuguese community at Ayutthaya. Astrong mistrust of the westerner was developed amongthe Siamese. Being a relatively large community andpart of the Siamese manpower system, the Portuguese hadto struggle hard in order to survive.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65771
ISBN: 9743317996
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bidya_sr_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.08 MBAdobe PDFView/Open
Bidya_sr_ch1_p.pdfบทที่ 12.01 MBAdobe PDFView/Open
Bidya_sr_ch2_p.pdfบทที่ 23.33 MBAdobe PDFView/Open
Bidya_sr_ch3_p.pdfบทที่ 36.86 MBAdobe PDFView/Open
Bidya_sr_ch4_p.pdfบทที่ 46.52 MBAdobe PDFView/Open
Bidya_sr_ch5_p.pdfบทที่ 5813.11 kBAdobe PDFView/Open
Bidya_sr_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.