Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65867
Title: | การเปรียบเทียบการพักอาศัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นระหว่างหอพักมหาวิทยาลัยกับทื่พักอาศัยเอกชน |
Other Titles: | Comparative of khon Kaen University student's living between university dormitory and private dormitory |
Authors: | อิสระ อินทร์ยา |
Advisors: | สุปรีชา หิรัญโร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Supreecha.H@chula.ac.th |
Subjects: | มหาวิทยาลัยขอนแก่น -- อาคาร หอพัก สถาบันอุดมศึกษา -- อาคาร Khon Kaen University -- Buildings Dormitories College buildings |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความเหมือน หรือความแตกต่างกัน อย่างไร ระหว่างการพักอาศัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหอพักมหาวิทยาลัยและที่พักอาลัยเอกชน ในด้านสภาพปัจจุบันของการพักอาศัย ลักษณะทั่วไปของผู้พักอาลัย สภาพทางกายภาพของที่พักอาศัยและองค์ประกอบภายในห้องพัก ความต้องการที่พักอาศัย เพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดในการพัฒนาที่พักอาศัยของนักศึกษา ระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิธีการสำรวจและรวบรามข้อมูลด้วยแบบ สอบถาม และการสำรวจภาคสนาม ด้านข้อมูลทั่วไปของผู้พักอาศัย พบว่าในหอพักมหาวิทยาลัย นักศึกษากลุ่มที่มากที่สุดเป็นนักศึกษาหญิง ที่กำลังศึกษาในคณะที่มีระบบการเรียนการสอนในเวลาปกติ นักศึกษากลุ่มที่มากที่สุดมีพื้นฐานมาจากครอบครัวเกษตรกรรม มีระดับรายได้ครัวเรือนปานกลางถึงรายได้ตํ่า ระหว่างที่ศึกษานักศึกษาต้องช่วยเหลือและดูแลตนเองให้มากที่สุด ส่วนในที่พักเอกชน นักศึกษากลุ่มที่มากที่สุดเป็นนักศึกษาชาย ศึกษาในคณะที่ต้องมีการเรียนหรือกิจกรรมนอกเวลาเป็นประจำ มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจของครัวครัวปานกลางถึงสูงด้านสภาพการพักอาศัย พบว่านักศึกษาที่พักในหอพักมหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายที่ตํ่ามาก เพราะเป็นสวัสดิการของมหาวิทยาลัย แต่นักศึกษาจะไม่ได้รับความสะดวกสบายในการพักอาศัยมากนัก นักศึกษาพักรวมกัน 3-4 คน/ห้อง และไม่สนิทสนมกันมาก่อน ส่วนในที่พักเอกชน นักศึกษามีค่าใช้จ่ายด้านที่พักที่สูง แต่มีความสุขสบาย นักศึกษาเข้าพัก 1-2 คน/ห้อง ส่วนใหญ่เป็น เพื่อนกันมาก่อน ด้านสภาพทางกายภาพของที่พักอาศัย พบว่า หอพักมหาวิทยาลัยที่ทำการศึกษา ทั้งหมด 21 หลัง ก่อสร้างตามแบบก่อสร้างชุดเดียวกัน มีพื้นที่ห้อง 9.00-12.00 ตารางเมตร ซึ่งค่อนข้างแออัดสำหรับการเข้าพัก 3-4 คน/ห้อง ที่พักเอกชนมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย พื้นที่ห้อง 15.00-20.00 ตารางเมตรมีผู้เข้าพัก 1-2 คน ซึ่งค่อนข้างเหมาะสมไม่แออัด ด้านองค์ประกอบในอาคารที่พัก พบว่า หอพักมหาวิทยาลัยมีการจัดหาสิ่งบริการและอำนวยความสะดวกที่ค่อนข้างครบทุกประเภท และจัดไว้อย่างละหนึ่งชุดแต่ใช้รวมกันทั้งหอพักซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนผู้เข้าพัก สำหรับในที่พักเอกชนพบว่า เจ้าของอาคารจัดหาเฉพาะบริการที่ก่อให้เกิดรายได้ สิ่งอำนวยความสะดวกแยกเป็นเฉพาะแต่ละห้องพักไม่ใช้รวมกัน ด้านความต้องการที่พักอาศัย พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ในที่พักทั้งสองมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า หอพักมหาวิทยาลัยเป็นที่พักที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนักศึกษา แต่ควรปรับ ปรุงการบริหารจัดการให้การพักอาศัยมีความสุขสบายเหมือนที่พักเอกชน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่าที่พักอาศัยทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ในลามประเด็นคือ 1.วัตถุประสงค์การจัดตั้งโดยที่มหาวิทยาลัยมุ่งจัดตั้งเพื่อเป็นสวัสดิการแก่นักศึกษา ในขณะที่ที่พักเอกชนมุ่งหวังผลกำไรทางธุรกิจ 2. สภาพการให้บริการและการตอบสนองความต้องการของผู้พักอาศัย หอพักมหาวิทยาลัย จัดเก็บค่าเช่าที่ตํ่ามาก มีกฎระเบียบที่เคร่งครัด มีสิ่งอำนวยความ สะดวกและบริการที่เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและพัฒนาการทางการศึกษาและสังคมของนักศึกษา การให้บริการของหอพักมีลักษณะกึ่งให้เปล่า ไม่ก่อให้เกิดรายได้ การปรับปรุงพัฒนามีน้อยการตอบสนองความต้องการของผู้พักอาศัยและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นไปอย่างจำกัดและล่าช้าซึ่งตรงข้ามกับเอกชนที่มุ่งพัฒนาการบริการเพื่อผลกำไรทางธุรกิจ 3. ลักษณะของผู้พักอาศัยด้านนความแตกต่างของวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง และการดำเนินงาน ของที่พักอาศัยทั้งสอง ทำให้ที่พักทั้งสองมีความเหมาะสมกับกลุ่มนักศึกษาผู้พักอาศัยที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการพัฒนาที่พักอาศัยของนักศึกษา โดยการผสมผสานระหว่าง หอพักสวัสดิการและการดำเนินธุรกิจโดยการร่วมทุนกับเอกชนในการจัดสร้างหอพักเพิ่ม จัดแบ่งค่าเช่า และปรับปรุงการบริหารจัดการของกองกิจการหอพักให้ทัดเทียมกับภาคเอกชน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความไว้วางใจระหว่างบุคคล ความผูกใจมั่นต่อองค์การ และการรับรู้คุณค่าของการปันความรู้ระหว่างกัน ที่มีต่อ การปันความรู้ระหว่างกันในองค์การเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดความไว้วางใจระหว่างบุคคล มาตรวัดความผูกใจมั่นต่อ องค์การ มาตรวัดการรับรู้คุณค่าของการปันความรู้ระหว่างกัน และมาตรวัดการปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานวิเคราะห์สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน259 คน ผลการวิจัย พบว่า ความไว้วางใจระหว่างบุคคลมีผลทางบวกต่อ การปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ (β = .61, p < .001) ความผูกใจมั่นต่อองค์การมีผลทางบวกต่อการปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ (β = .18, p < .01) และการรับรู้คุณค่าของการปันความระหว่างกันมีผลทางบวกต่อการปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ (β = .55, p < .001) นอกจากนี้ความผูกใจมั่นต่อ องค์การสามารถเป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจระหว่างบุคคลกับการปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ และสามารถเป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าของการปันความระหว่างกันกับการปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ |
Other Abstract: | Khon Kaen University is the first university in northeastern Thailand. Established in January 1966, It now comprises 15 faculties with a total enrollment of 15,500 students. As most students come from other regions they need housing accommodation to study at KKU. Today KKU has only 40 dormitories for its student, which is insufficient. Private investors have built dorms to rent for KKU students. This study aims to compare students living in KKU dormitories and adjacent private dormitories, Those data are living conditions, building physical characteristic, and supporting facilities in the building and living unit. In terms of student's general data, this study found that in KKU dorms student are mainly female and enrolled faculties which teaching in general times. They come from families, which have medium to low income. They must save money and help themselves in everyday life. In private dorms, most students are male and study in faculties which have practiced or laboratory hours outside normal times. In terms of living conditions, all KKU dorms serve students with very low budgets, but the students live in a low level of comfort because they must live 3-4 persons per room. They do not know each other before. In private dorms, students must pay more, but they enjoy a most comfortable situation alive with friend. The KKU dormitories are constructed according to the same design about 10-12 sqm./room, the density is too high for 3-4 persons per room. Even though KKU dorms provide full service like TV rooms, study rooms, garden and car parking. They are insufficient to meet requirement shared. In private dorms there are a variety of architectural styles. The room area about 16-20 sqm., big enough for 1-2 persons per room. But private dorms provide few service because investors provide only service profit. Most students in the two type of dorms agree that KKU dorms are suitable for KKU students to live, but they must be developed to better standards like private dorms. The research concludes that the two type of dorms are different in 3 ways (1) The objective of dorms was established to be only student welfare, while private dorms aims mainly for profit. (2) University's dorms utilize users need while the rent is low and maintain strict regulations. All dorms provide supporting facilities help promote education quality and student social life, almost free of charge, provide no profit, causing low development comparing to private investment. (3) Characteristic of user, the differentiate of dorm's management lead to the dorm that is suitable for different kind of students. Researcher thinks KKU must be turn their vision about dorms because this facilities can change to be valuable investment. KKU should find the way to make the dorms can supports its own for budgets and how can the dorms can be the real living and learning place for all students. The purpose of this research was to study the effects of interpersonal trust, organizational commitment, and perceived value of knowledge sharing on knowledge sharing within organization. The instruments in this research were The Interpersonal Trust Scale, The Organizational Commitment Scale, The Perceived Value of Knowledge Sharing Scale, and The Knowledge Sharing Within Organization Scale. The subjects were 259 credit managers of commercial bank in Bangkok Metropolis. It was found that interpersonal trust had positive effect on knowledge sharing within organization. (β = .61, p < .001), Organizational commitment had positive effect on knowledge sharing within organization. (β = .18, p < .01) Similarly, perceived value of knowledge sharing had positive effect on knowledge sharing within organization. (β = .55, p < .001) Additionally, organizational commitment could also do function as moderating variable in the relationship between interpersonal trust and knowledge sharing within organization. Organizational commitment could also do function as moderating variable เท the relationship between perceived value of knowledge sharing and knowledge sharing within organization. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65867 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.257 |
ISBN: | 9741741391 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.257 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Isara_in_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Isara_in_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Isara_in_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Isara_in_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 4.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Isara_in_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Isara_in_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Isara_in_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Isara_in_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.