Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65994
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะชาติ แสงอรุณ-
dc.contributor.authorสุนทร ดอนอินทร์ทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-25T04:56:09Z-
dc.date.available2020-05-25T04:56:09Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741750412-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65994-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาการแทงหยวก ในด้าน 1) ความสำคัญ และคุณค่าการถ่ายทอด 2) การถ่ายทอด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสาร การศึกษาภาคสนาม เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านข้อมูล (Data-Triangulation) ประมวลผลสร้างข้อสรุปด้วยวิธีการแบบอุปนัย (Analytic-Induction) นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสำคัญ และคุณค่าของการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น"การแทงหยวก" คือ 1) มีความสำคัญที่เป็นการเรียนรู้จากความใกล้ชิด คุ้นเคย การได้คลุกคลีกับกิจกรรมทางศิลปะในครอบครัวและการติดตามผู้ใหญ่ไปแทงหยวกเป็นประจำ ซึ่งทำให้ครูช่างและผู้เรียนเกิดความใกล้ชิดผูกพันกันอย่างแนบแน่น การได้สืบทอดศิลปะของบรรพชนยังเป็นสิ่งที่สร้างความรู้สึกผูกพันต่อถิ่นกำเนิดและทำให้คนในครอบครัวได้เจอกันเพื่อร่วมกันทำแทงหยวกอยู่บ่อย ๆ ทำให้เกิดความใกล้ชิดกันในครอบครัว การแทงหยวกยังเป็นกิจกรรมทางศิลปะที่ให้ความเพลิดเพลินแก่คนดูจากการได้ชมการปฏิบัติงานของช่างตั้งแต่ต้นจนจบ 2) มีคุณค่าในด้านการเลือกสรรวัสดุธรรมชาติที่ด้อยค่ามาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะที่งดงาม เป็นสื่อแทนความระลึกถึง กตัญญูต่อบุพการี และแฝงไว้ด้วยความเชื่อของช่างคือเป็นงานศิลปะที่ใช้เฉพาะในงานพิธีอวมงคล การเคารพบูชาต่อครูอาจารย์พระวิษณุ และวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือช่าง มีการคิดค้นดัดแปลง พัฒนาในด้านรูปแบบ ลวดลาย ขั้นตอนวิธีการอย่างสืบเนื่องยาวนานจนเกิดเอกลักษณ์ของตนเองเป็นองค์ความรู้อันเป็นภูมิปัญญาแห่งเมืองเพชรที่ช่างชำนาญการสรรสร้างผ่านศิลปะงานแทงหยวก 2. การถ่ายทอดภูมปัญญาท้องถิ่น "การแทงหยวก” พบว่า 1) เกิดจากความสนใจ ชื่นชมเห็นคุณ ค่าในศิลปะการสนับสนุนของคนใกล้ชิด และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดกับศิลปะ การได้คลุกคลีร่วมทำงานกับกลุ่มช่างทำให้ เกิดการเรียนรู้ไปในตัว และความภาคภูมิใจในมรดกของบรรพชนที่เป็นแรงผลักดัน ให้รู้สึกอยากถ่ายทอด เรียนรู้ให้คงอยู่ต่อไป 2) กระบวนการถ่ายทอด ผู้เรียนและผู้สอนต้องมีใจรักในศิลปะ มีความพร้อมทั้งด้านจิตใจ มีสภาพอารมณ์ที่เอื้อต่อการทำงานศิลปะ วัตถุป ระสงค์การถ่ายทอดมุ่งเน้นที่การรู้จริง ปฏิบัติได้จริง รัก และรู้ค่าในศิลปะ วิธีการถ่ายทอดเป็นการให้ความรู้ควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติโดยตรง และการพาผู้เรียนไปแทงหยวกเพื่อให้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง การประเมินผลดูจากผลงานที่มีคุณภาพ และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในขณะปฏิบัติงาน 3) ผลที่เกิดจากการถ่ายทอด คือเกิดช่างแทงหยวกที่มีความรู้ มีทักษะในเชิงช่างที่สามารถสร้างงานแทงหยวกโดยการทำตามแบบแผนของบรรพบุรุษ แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของช่าง และสามารถปรับตัวให้คงอยู่ได้ตามการเปลี่ยนแปลงใน อนาคต ทั้งยังได้รับคุณธรรมการทำงานคือ ความรับผิดชอบ มีสมาธิแน่วแน่ในงาน การทำงานอย่างเต็มที่ ด้วยจิตใจเบิกบาน การพิจารณาตนเอง และจิตใจหนักแน่น การทำงานเป็นกลุ่มทำให้เกิดข้อคิด คือ ความสามัคคี ความเคารพ ให้เกียรติกัน การปรับตัวเข้าหากัน การใจกว้างยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น รวมถึงการได้รับความเพลิดเพลินสุขใจ สบายใจในการทำงานศิลปะ และรู้สึกภาคภูมิใจเมื่องานสำเร็จ-
dc.description.abstractalternativeThis research has the following objectives : 1) Importances and Values of the transmission. 2) The transmission .This is the Qualitative Research using document study .field study, Indepth Interview. Non-participatory Observation Techniques. Check in confidence was used to data-triangulation. Systematize and to conclude was used analytic-induction method presented by description. Research findings were as follow : 1. Importances and values of the transmission : 1) Importances for learning from familiarity and involvement with art activity in family , always follow adult to do Tang-Yuak thus , starting to have the closed relationships between Instructors and Practitioners , when person works local art , then led to community attachment and closed family , Tang-Yuak is an activity of art to entertain people who come to see artisans work. 2) Values of transmission : Being ancestor's intellectuality to create artistic work from ordinary natural materials , to be sign of gratefulness and gratitude for ancestor , to reflect Tang-Yuak artisans' belief were only for funeral ceremony , to worship teacher , god Vishnu , tools and materials. These are community knowledges about step process to perform , these are decorative Thai pattern. Have been being transmitted and developed from time to time until melted entirely to be an evidence identity of Muang Petch's wisdom that artisanships create through Tang-Yuak. 2. The transmission of the local wisdom "Tang-Yuak" : 1) The motivation causes by interesting , appreciation in value on Art , supported by neighbourly person , being among approachable art surrounding , involving and working with artisans that led to learn and a feeling of satisfaction in culture heritage required to inherit. 2) Transmission process ; All practitioners and instructors also admire in art , have suitable mind and emotion for practicing in art. The transmission objectives ; Emphasized knowledge , practicing skill and having a good attitude. The transmission methods was the knowledge and skill integrations by practicing and perform in the real experiences. The evaluation could be evaluated from practitioners ' work and observing behaviour practitioners while practicing. 3) The transmission results : Having the Tang-Yuak master to work , still carving as the way of the former times have done as unique work , capable to adapt for changing , The virtue working : were responsibility , concentration , cheerfulness , self-deliberation and toleration. The ethical lession from group working includes ; unity , respect , harmony and agreement , Getting peace of mind , enjoyment during performing and delightful when his work is successful.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้านen_US
dc.subjectศิลปกรรมพื้นบ้าน -- ไทย -- เพชรบุรีen_US
dc.subjectLocal wisdomen_US
dc.subjectFolk art -- Thailand -- Pectchaburien_US
dc.titleการศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น "การแทงหยวก" ในจังหวัดเพชรบุรีen_US
dc.title.alternativeStudy on the transmission of the local wisdom "Tang Yuak" in Pectchaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPiyacharti.s@chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suntorn_do_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ990.64 kBAdobe PDFView/Open
Suntorn_do_ch1_p.pdfบทที่ 11.57 MBAdobe PDFView/Open
Suntorn_do_ch2_p.pdfบทที่ 26.31 MBAdobe PDFView/Open
Suntorn_do_ch3_p.pdfบทที่ 3842.21 kBAdobe PDFView/Open
Suntorn_do_ch4_p.pdfบทที่ 44.52 MBAdobe PDFView/Open
Suntorn_do_ch5_p.pdfบทที่ 52.88 MBAdobe PDFView/Open
Suntorn_do_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก6.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.