Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66209
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสันติ ภัยหลบลี้-
dc.contributor.authorธนกฤต ชัยชนาวุฒิ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-06-06T15:04:22Z-
dc.date.available2020-06-06T15:04:22Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66209-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560en_US
dc.description.abstractเทือกเขาหิมาลัยอยู่ระหว่างรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian plate) และยูเรเซีย (Eurasian plate) ที่เคลื่อนชนกัน ส่งผลให้เกิดเป็นแนวมุดตัวหลักตอนกลางบริเวณเทือกเขาหิมาลัย (The main central thrust, Himalaya) ในปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกยังคงเคลื่อนที่ชนกันทำให้บริเวณพื้นที่รอบ ๆ ตามรอยเลื่อนย้อนแนวกลางหลักเทือกเขาหิมาลัย มีอัตราการเกิดแผ่นดินไหวสูง รวมถึงแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ เช่น วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2015 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 แมกนิจูด ที่ประเทศเนปาล การศึกษาพฤติกรรมแผ่นดินไหวในอดีตจะทำให้สามารถทำนายพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต จึงจะสามารถที่จะเฝ้าระวัง ป้องกัน และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยแผ่นดินไหวที่มีสาเหตุจากธรรมชาติ เกิดจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยพื้นที่ใดที่มีความเค้นสะสมตัวสูง จะมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวในเวลาต่อมา จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ โดยศึกษาค่าคงที่ b ในสมการกูเตนเบิร์กและริกเตอร์ ซึ่งค่าคงที่ b มีความสัมพันธ์เชิงแปรผกผันกับความเค้น หมายความว่า พื้นที่ใดมีค่า b ต่ำพื้นที่นั้นมีความเค้นสูง ซึ่งมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้ในอนาคต หากมีการปล่อยพลังงานจากความเค้น จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่คัดกรอกแล้วนำมาศึกษาค่า b แต่ละพื้นที่จะมีตัวแปรในการวิเคราะห์ที่เหมาะสมแตกต่างกัน การศึกษาย้อนกลับพบว่า หากกวาดรัศมีใด ๆ ออกไปจากพื้นที่ตามจำนวนแผ่นดินไหว 30 เหตุการณ์ จะทำให้ค่าที่เหมาะสมที่สุดในการณ์วิเคราะห์ค่า b ของบริเวณรอยเลื่อนย้อนแนวกลางหลัก เทือกเขาหิมาลัย เมื่อนำค่าดังกล่าวมาศึกษาต่อจะได้แผนที่การกระจายตัวค่า b ในปัจจุบัน พบว่ามี 14 พื้นที่ที่มีค่า b ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าพื้นที่เหล่านี้มีการสะสมความเค้นเพิ่มมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตได้en_US
dc.description.abstractalternativeHimalaya come into existence due to collision of Indian and Eurasian Plate compression and sequential thrusting along major faults such as Main Central Thrust (MCT). The MCT in Himalaya is seismically active in segment. In recent time, experiencing the deadly 2015 M 7.8 at Nepal. In order of determine the prospective of the forthcoming earthquake sources, the b values of frequency-magnitude earthquake distribution were analyzed. There have been several observations that indicate that changing in b value is inversely related to changes in the stress level. Hence, this study was conducted to evaluate the spatial distribution of b value along the MCT. In this study, we considered the large earthquake, mb ≥ 6.0, because they can result more vulnerable to the area. By the retrospective test, the appropriate parameter to calculate b value was 30 fixed earthquake events. After we got the suitable condition for b-value calculation, we analyzed the most recent earthquake data (A.D. 1905–2014) and mapped the spatial distribution of b value of the MCT. The result revealed that there are 14 local areas showing the anomalous low b-value. However, the b values of these areas have been decreasing, which means the stress have been increasing and these areas may potentially generate large earthquake up to 6.0 mb.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการกระจายตัวของความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานตามรอยเลื่อนย้อนแนวกลางหลัก เทือกเขาหิมาลัยen_US
dc.title.alternativeTectonic stress distribution along the main central thrust, Himalayaen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorSanti.Pa@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Tanakrit Chaichanavut.pdf38.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.