Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66214
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พุทธรักษา วรานุศุภากุล | - |
dc.contributor.author | นันทพร ละออ | - |
dc.contributor.author | รัตนาถ วิโรจน์รัตนพงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-06-06T15:26:56Z | - |
dc.date.available | 2020-06-06T15:26:56Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66214 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้เตรียมเส้นใยไทเทเนียมไดออกไซด์ด้วยเทคนิคอิเล็กโทรสปินนิงผ่านกระบวนการ sol-gel จากปฏิกิริยาของไทเทเนียมเตตระไอโซโพรพรอกไซด์และพอลิไวนิลไพรโรลิโดน แล้วทำการเผา เพื่อนำไปใช้เป็นวัฏภาคนิ่งในเทคนิคทินแลร์โครมาโทกราฟี จากการศึกษาโครงสร้างผลึกของเส้นใยไทเทเนียม ไดออกไซด์ที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิต่างๆ ด้วยเทคนิค X-ray powder diffraction พบว่า เส้นใยไทเทเนียม ไดออกไซด์มีโครงสร้างผลึกแบบอะนาเทสเมื่อทำการเผาที่อุณหภูมิ 400 และ 500 องศาเซลเซียส และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกจากอะนาเทสเป็นรูไทล์ เมื่ออุณหภูมิการเผามากกว่า 500 องศาเซลเซียส โดย โครงสร้างผลึกของเส้นใยไทเทเนียมไดออกไซด์ส่วนใหญ่เป็นแบบรูไทล์เมื่อทำการเผาที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส จึงสามารถสรุปได้ว่าอุณหภูมิในการเผามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกของเส้นใย เมื่อนำเส้นใยไทเทเนียมไดออกไซด์มาใช้เป็นวัฏภาคนิ่งในเทคนิคทินแลร์โครมาโทกราฟี (Ti-TLC) และเปรียบเทียบกับแผ่น ทินแลร์โครมาโทกราฟีทั่วไปที่ใช้อนุภาคซิลิกาเป็นวัฏภาคนิ่ง (Si-TLC) พบว่า ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัฏภาคเคลื่อนที่บนแผ่น Ti-TLC มีค่าคงที่ในการเคลื่อนที่ (k) 0.044-0.073 cm²/s มากกว่าแผ่น Si-TLC ซึ่งมีค่า 0.028 cm²/s และค่า k ของแผ่น Ti-TLC ที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส มีค่าสูงสุด สำหรับการแยกเมทิลินบลูไฮเดรตซึ่งเป็นตัวแทนของสารประกอบกลุ่มเบส พบว่า เมทิลินบลูไฮเดรตมีค่ารีทาร์เดชันแฟคเตอร์ (Rf) บนแผ่น Ti-TLC (Rf = 0.87-0.93) มากกว่าแผ่น Si-TLC (Rf = 0.05) และการแยกสารบน Ti-TLC ที่มีโครงสร้างของไทเทเนียมไดออกไซด์แบบอะนาเทสและรูไทล์ ได้ค่า Rf ที่ไม่แตกต่างกัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | In this study, the fibrous titanium dioxide was prepared via sol-gel process of titanium tetraisopropoxide and polyvinylpyrolidone and fabricated by electrospinning method in order to use as a stationary phase in thin-layer chromatography. The crystalline structure of titanium dioxide that calcined at different temperature was characterized by X-ray powder diffraction. The fibrous titanium dioxide was anatase phase when calcined at 400 and 500 °C and partly transformed to rutile phase when calcination temperature was increased more than 500 °C. The fibrous titanium dioxide was mostly rutile phase when calcined at 800 °C. The fibrous titanium dioxide was used as stationary phase in thin layer chromatography (Ti-TLC) and compared with commercially available stationary phase which is particulate silica (Si-TLC). The mobile phase transport described by the velocity constant (k) were 0.044-0.073 cm2/s for Ti-TLC and higher than that of Si-TLC which is 0.028 cm2/s. The highest value of k was obtained on Ti-TLC that calcined at 800 °C. For separation of methyleneblue hydrate which represents the basic compounds, the retardation factor (Rf) of methyleneblue hydrate on Ti-TLC (Rf = 0.87-0.93) are higher than that on Si-TLC (Rf = 0.05). However, Rf on Ti-TLC of different phase, anatase and rutile, were similar. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ไทเทเนียมไดออกไซด์ | en_US |
dc.title | การเตรียมเส้นใยไทเทเนียมไดออกไซด์เพื่อเป็นวัฏภาคนิ่งสำหรับการแยกด้วย เทคนิคทินแลร์โครมาโทกราฟี | en_US |
dc.title.alternative | Preparation of Titanium Dioxide Fibers as Stationary Phase in Thin Layer Chromatography | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Puttaruksa.W@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2556_6.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.