Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6622
Title: การติดตามบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สำเร็จการศึกษาเมื่อปีการศึกษา 2526
Other Titles: A follow-up of graduates from Faculty of Education, Chulalongkorn University : graduated in academic year B.E.2526
Authors: สุทธนู ศรีไสย
จิตต์นิภา ศรีไสย
Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- บัณฑิต
การประเมินหลักสูตร
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการติดตามบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษาเมื่อปีการศึกษา 2526 และเป็นการติดตามหลังจากสำเร็จการศึกษาไปแล้ว 1 ปีโดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลในการประกอบอาชีพของบัณฑิต และ 2) เพื่อศึกษาทัศนะของบัณฑิตเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ที่บัณฑิตได้รับจากการศึกษาในคณะครุศาสตร์ วิธีวิจัย: ในการวิจัยดังกล่าวผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองสอบถามจากบัณฑิต จำนวน 341 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 212 ชุด คิดเป็นร้อยละ 62.14 ของประชากรทั้งหมด สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้สถิติคือ ร้อยละ ความถี่ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตารางประกอบการอธิบาย ผลการวิจัย: 1. บัณฑิตครุศาสตร์ได้งานทำร้อยละ 81.28 ศึกษาต่อร้อยละ 11.90 และยังไม่มีงานทำ ร้อยละ 6.82 2. สาขาวิชาที่บัณฑิตว่างงาน ได้แก่ การศึกษาปฐมวัย การสอนวิชาเฉพาะ(ดนตรี) การสอนวิชาเฉพาะ (พลศึกษา) ประถมศึกษา และมัธยม-มนุษย์-สังคม โดยมีค่าร้อยละ 22.22, 16.67, 12.50. 6.90 และ 3.12 ตามลำดับ 3. บัณฑิตทำงานตรงสาขาวิชาที่เรียนร้อยละ 64.23 ไม่ตรงร้อยละ 35.77 และสาขาวิชาที่บัณฑิตทำงานไม่ตรงมากที่สุดร้อยละ 71.43 ได้แก่ การสอนวิชาเฉพาะ (ศิลปศึกษา) รองลงมาได้แก่ สาขาการสอนวิชาเฉพาะ (พลศึกษา) มัธยม-วิทยาศาสตร์ ประถมศึกษา การสอนวิชาเฉพาะ (ธุรกิจศึกษา) มัธยม-มนุษย์-สังคม การสอนวิชาเฉพาะ (ดนตรี) การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาปฐมวัย ตามลำดับ 4. บัณฑิตที่ประกอบอาชีพครู-อาจารย์ ส่วนมากสอนในระดับมัธยมศึกษา รองลงมาได้แก่ ระดับประถมศึกษา ระดับก่อนวัยเรียน และระดับอุดมศึกษา ตามลำดับ 5. เหตุผลที่บัณฑิตได้รับการพิจารณารับเข้าทำงานเรียงตามลำดับ คือ ความรู้ ความสามารถ (ทักษะ) บุคลิกภาพ และระบบพรรคพวก 6. บัณฑิตประกอบอาชีพในกรุงเทพมหานคร มากที่สุดร้อยละ 68.46 รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 13.92, 10.19, 4.26, 2.71 และ0.46 ตามลำดับ และทำงานอยู่ในเขตเมืองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.46 เขตชนบทเพียงร้อยละ 11.54 เท่านั้น 7. บัณฑิตที่ได้งานทำทั้งหมด หางานทำได้ภายใน 6 เดือนมีจำนวนมากถึง ร้อยละ 93.16 ระยะเวลาที่หางานทำได้จำนวนมากที่สุด คือภายใน 1 เดือน หลังจากสำเร็จการศึกษาคิดเป็นร้อยละ 40.12 8. บัณฑิตทราบข่าวการรับสมัครงานจากหนังสือพิมพ์มากที่สุด 9. บัณฑิตได้รับเงินเดือนเดือนแรกสูงกว่าวุฒิ มีร้อยละ 33.03 เท่ากับวุฒิ ร้อยละ 61.67 และต่ำว่าวุฒิร้อยละ 5.30 10. ปัญหาที่บัณฑิตประสบขณะทำงานมีอยู่ 5 ด้าน จำแนกเป็นด้านส่วนตัว 11 ข้อ ด้านวิชาการ 17 ข้อ ด้านบริหาร 13 ข้อ ด้านสวัสดิการ 4 ข้อ และด้านอื่น ๆ 1 ข้อ 11. ตามทัศนะของบัณฑิต บัณฑิตได้รับความรู้จากกิจกรรมการเรียนการสอน ร้อยละ 57.05 กิจกรรมนอกหลักสูตร ร้อยละ 42.95 บัณฑิตส่วนมาก ร้อยละ 33.61 ใช้ความรู้ที่เรียนมาตรงกับงานที่ทำอยู่ในระดับปานกลาง 12. บัณฑิตครุศาสตร์นำความรู้ในหมวดวิชาเฉพาะ ((วิชาเอก) ไปใช้ในระดับใช้มาก ส่วนหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป หมวดวิชาครู และหมวดวิชาเลือกเสรี ใช้ในระดับปานกลาง 13. รายวิชาที่บัณฑิตเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการทำงานมากที่สุด มีทั้งหมด 37 รายวิชา 5 วิชาแรกได้แก่ ประสบการณ์วิชาชีพ จิตวิทยาพื้นฐานการศึกษา ภาษาอังกฤษ สถิติศาสตร์ชั้นนำ และมนุษยสัมพันธ์ 14. รายวิชาที่บัณฑิตเสนอแนะให้มีการปรับปรุงมีทั้งหมด 35 รายวิชา ด้านที่ควรปรับปรุงมากที่สุด ได้แก่ ด้านวิธีการสอน รองลงมาได้แก่ ด้านเนื้อหาวิชา การวัดและประเมินผล ตามลำดับ 15. รายวิชาที่บัณฑิตเสนอให้เพิ่มเข้าไปในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตมีทั้งหมด 44 รายวิชา 16. บัณฑิตให้ข้อเสนอแนะอื่น ๆ จำแนกเป็นด้านการผลิตบัณฑิต 5 ข้อ ด้านหลักสูตร และการเรียนการสอน 27 ข้อ ด้านอาจารย์ผู้สอน 5 ข้อ และด้านอื่น ๆ 7 ข้อ
Other Abstract: Objectives of the study: The purpose of this study was twofold; firstly, to study the professional information of the graduates, secondly, to study point of view of the graduates about knowledge and experience that received in the Faculty of EducationProcedures: The instrument used in this study was a questionnaire constructed by the researchers from an extensive analysis of related literature. A total of 341 questionnaires were administered to graduates of which 212 or 62.17% were completed. Data were then analyzed using percentage, frequency, arithmetic means and standard deviations. Research result was presented in the tables and descriptive explanation. Findings: 1. Graduate of Faculty of Education, 81.28% have had the work, 11.90% continuing study, and 6.82% have not the work yet. 2. The filed that some graduates have not the work yet were Kindergarten Education (22.22%), Teaching of Special Subjects (Music and Physical Education) (16.67% and 12,50%), Elementary Education (6.90%), and Secondary Education (Human-Social) (3.12%) 3. Graduates; 64.23% work directly in the field and work indirectly 35.77%. The fields that graduates work indirectly in the filed were as follows; Teaching of Special Subjects (Art Education and Physical Education) (71.43% and 57.14%), Secondary Education (Science) (45.45%), Elementary Education (33.33%), Teaching of Special Subjects (Business) (33.33%), Secondary Education (Human-Social) (26.92%), Teaching of Special Subjects (Music) (20.00%), Non-Formal Education (20.00%) and Kindergarten Education (14.29%). 4. Graduates that has teacher profession, the most teach in secondary education level, next, elementary education, pre-school and higher education level sequently. 5. Reason of the boss for examination or selection the graduates were sequently as follow: knowledge, skill, personality and accomplices system. 6. Graduates, all the most (68.46%) do work in Bangkok and another (31.54%) do work in the other part of Thailand. All of them do work in urban district 88.46% and rural district 11.45%. 7. Graduates that have had the work, 93.16% of them received the work 6 months after finished. 8. The most graduates knew application information from newspapers. 9. The first salary of graduates; 33.03% of graduates received salary more than degree, equal degree 61.67% and less than degree 5.30%. 10. While graduates do work, they found 5 main problems were as follows; personal 11 items, academic 17 items, administration 13 items, safety 4 items and other 1 items. 11. The point of view of the graduates, they received knowledge from activities in the class 57.05% and from extra-activities outside the class 42.95%. Graduates (33.61%) used the knowledge (that study from Faculty of Education) directly for execution in moderated level. 12. Graduates used the knowledge for execution were as follows: special subjects or major part in high level, and another parts (general education, teacher and elective) in moderate level. 13. The point of view of graduate about the courses that were the most utilization for working. It found that, there were 37 courses. The 5 course first were as follows; Professional Experience, Psychological Foundation of Education, English Language, Introduction to Statistics and Human Relation. 14. There were 35 courses that graduates recommended to modification. Method of teaching side ought to modify in the first. Besides, content and evaluation sides ought to modify in the next. 15. There were 44 courses that graduates recommend to fill in undergraduated curriculum. 16. The general recommendation of graduates; there were 5 items for student product, 27 item for curriculum and instruction, 5 items for staff and 7 items for others.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6622
ISBN: 9745660469
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttanu(edu).pdf13.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.