Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66246
Title: ผลกระทบของการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออก และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องต่อเศรษฐกิจภูมิภาค : กรณีศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย
Other Titles: Impacts of jasmine rice production for export and related activities on regional economy : a case study of the lower north-eastern region of Thailand
Authors: พิชญา ชามพูนท
Advisors: ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: การวางแผนพัฒนาระดับภาค
เศรษฐศาสตร์ภูมิภาค
ข้าวหอมมะลิ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างภาค -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของกิจกรรมการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออก โดยพิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีต่อพื้นที่เมืองและชนบท จากการดำเนินกิจกรรมของอุตสาหกรรมโรงสีข้าวขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดรายได้ (ทางตรง ทางอ้อม และรายได้ที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายของรายได้ทางตรงและทางอ้อม) ผ่านการจ้างแรงงานและการซื้อปัจจัยการผลิต ตลอดจนพิจารณาความเชื่อมโยง ระหว่างพื้นที่ การดำเนินกิจกรรมจากการกระจายผลผลิตและการใช้ปัจจัยการผลิตของกิจกรรมดังกล่าว การศึกษาได้แบ่งพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างออกเป็น 3 กลุ่มอำเภอ โดยใช้ความมากน้อยของพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ได้แก่ กลุ่มอำเภอเพาะปลูกข้าวหอมมะลิมาก (กลุ่มอำเภอที่ 1) กลุ่มอำเภอเพาะปลูกข้าวหอมมะลิปานกลาง (กลุ่มอำเภอที่ 2) และกลุ่มอำเภอเพาะปลูกข้าวหอมมะลิน้อย (กลุ่มอำเภอที่ 3) และใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม โดยสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประกอบการโรงสีข้าวขนาดใหญ่ เกษตรกร คนงาน ชาวเมืองและชาวชนบทจากกลุ่ม อำเภอต่าง ๆ การวิเคราะห์ผลกระทบทำโดยใช้ค่า Value Added Ratio จากตารางปัจจัยเข้า-ปัจจัยออก เพื่อหา Income Generators ซึ่งนำมาคำนวณค่าตัวคูณทวีตามทฤษฎีฐานเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากการดำเนินการผลิตและการกระจายผลผลิต ตลอดจนศึกษาแหล่งผลิตและแหล่งตลาดของสินค้าและบริการที่เป็นผลจากการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออก ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินกิจกรรมการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออก สามารถก่อให้เกิดผลกระทบในพื้นที่ชนบทของกลุ่มอำเภอที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิมาก (กลุ่มอำเภอที่ 1) มากที่สุด และผล กระทบในพื้นที่เมืองจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เป็นแหล่งที่ตั้งโรงสีข้าวขนาดใหญ่มากที่สุด (กลุ่มอำเภอที่ 2) ซึ่งการขยายตัวของการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออก ทำให้พื้นที่ซนบทได้รับผลกระทบมากจากการใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ (ข้าวเปลือกหอมมะลิ) ในขณะที่พื้นที่เมืองได้รับผลกระทบมากเช่นกัน จากการให้บริการและสินค้าระดับเมืองกับโรงสี ชาวเมือง แรงงาน ชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้ยังพบว่าการดำเนินกิจกรรมการผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออกมีความเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศแต่ที่สำคัญที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งตลาดค้าส่งภายในประเทศให้กับภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย และเป็นที่ตั้งสำนักงานผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิ และมีความเชื่อมโยงเชื่อมโยงกับพื้นที่ภาคตะวันออกซึ่งมีท่าเรือที่สำคัญในการขนส่งไปยังต่างประเทศต่อไป สำหรับความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ พบว่า ผลพลอยได้ที่สำคัญจากการผลิตข้าวหอมมะลิ ได้แก่ รำข้าวและปลายข้าว มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ในภาคกลางมากที่สุด
Other Abstract: The recent poor performance of our Thai economy has been marked by a rash of business failures in most, if not all, sectors. One industry that has been particularly sensitive to economic downturns is the property and casualty insurance business. The purpose of the research is to investigate the financial factors that is able to estimate the financial strength of the Thai property and casualty insurance business. This research used discriminant analysis to derive important financial factors as an indicators to estimate firm’s strength. The benchmakings of financial strength are obtained from those of the National Association of Insurance Commissioners, Insurance Solvency International standard investigation and by level of Equity. The data are drawn from the department of insurance during the period of 1994 to 1998. This study found the crucial factors those are significantly differentiate between strong and weak property and casualty insurance company as follow : 1) asset management ratios 2) management ratios and 3) leverage ratios and 4) profitability ratios. These financial ratios have been found to be the highly accurate measures to classify firm's financial status during 1994 to 1997. Therefore, the result of this study can be used as one of the tools to monitor and as an early warning to differentiate the financial strength of the Thai property and casualty insurance industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66246
ISBN: 9741312717
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitchaya_ch_front_p.pdf929.13 kBAdobe PDFView/Open
Pitchaya_ch_ch1_p.pdf738.71 kBAdobe PDFView/Open
Pitchaya_ch_ch2_p.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Pitchaya_ch_ch3_p.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Pitchaya_ch_ch4_p.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Pitchaya_ch_ch5_p.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Pitchaya_ch_ch6_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Pitchaya_ch_back_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.