Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66267
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุเมธ พันธุวงค์ราช-
dc.contributor.authorพัตราพร ไชยสงวนสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialสุราษฎร์ธานี-
dc.date.accessioned2020-06-11T02:46:28Z-
dc.date.available2020-06-11T02:46:28Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66267-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561en_US
dc.description.abstractในปี พ.ศ. 2550 พื้นที่บริเวณปากแม่น้ำท่ากระจาย อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการสร้างเขื่อนที่ยื่นลงในไปทะเล (Jetty) เพื่อรักษาสภาพปากแม่น้ำให้มีเสถียรภาพ ไม่เกิดการเคลื่อนตัวตามฤดูกาล โดยบริเวณชายฝั่งที่อยู่ใต้โครงสร้างที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจึงได้ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น (Breakwater) และเขื่อนหินทิ้ง (Revetment) งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งตั้งแต่ อ.ท่าชนะ จนถึง อ.ไชยา ติดตามการสะสมตัวและการกัดเซาะของตะกอนในช่วงระยะเวลาก่อนและหลังการก่อสร้างเพื่อนำมาเปรียบเทียบหาอัตราการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ที่สามารถอธิบายบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนบริเวณปากน้ำท่ากระจายได้ โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศประยุกต์ใช้กับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System, GIS) อีกทั้งข้อมูลจากภาคสนามเพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของตะกอน การวัดความลาดชันของชายฝั่ง และการสะสมตัวของชั้นตะกอน จากการประยุกต์ใช้ GIS และการเก็บข้อมูลจากภาคสนาม เมื่อนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ได้ว่ารูปแบบการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในพื้นที่ศึกษา เกี่ยวข้องกับระยะทางของการพัดพาตะกอนจากบริเวณปากน้ำท่ากระจายเป็นหลัก รองลงมาคือลักษณะธรณีสัณฐานของพื้นที่ชายฝั่ง เพราะการก่อสร้างโครงสร้างเขื่อนบริเวณปากน้ำใหญ่ทำให้พื้นที่ทั้งด้านเหนือและด้านใต้โครงสร้างได้รับผลกระทบจากการรบกวนกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่ง พื้นที่ที่มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากน้ำท่ากระจายคือบริเวณใกล้โครงสร้างทั้งเหนือและใต้โครงสร้างมีอัตรากัดเซาะเพิ่มขึ้น 0.5-1.7 เมตรต่อปี ทางตอนกลางของพื้นที่ มีอิทธิพลจากการเปลี่ยนตำแหน่งปากคลองและการได้รับตะกอนจากปากคลองในบริเวณนั้นมากกว่า และทางตอนใต้ของพื้นที่ศึกษาอยู่ไกลโครงสร้างด้วยการไหลของกระแสน้ำเลียบชายฝั่งเปลี่ยนแปลงไป สมดุลตะกอนเข้าออกฝั่งจึงถูกรบกวนทำให้อัตรากัดเซาะเพิ่มขึ้น 0.05-2.3 เมตรต่อปี บางแห่งตะกอนยังคงเป็นพื้นที่สะสมตัวแต่อัตราสะสมตัวน้อยลง แต่บางแห่งกลายเป็นพื้นที่ที่เกิดการกัดเซาะen_US
dc.description.abstractalternativeIn 2007, The jetty was constructed at Tha Krachai river mouth, Tha Chana district, Surat Thani province prevent river mouths and streams from meandering naturally. In addition, they are also built breakwater and revetment to prevent the coastal area that could affected by the jetty. The objectives in this study is to investigate the coastal change before and after the construction of jetty, breakwater and revetment along the coast from The Chana district to Chaiya district. By using Geographic information system (GIS0 as well as studying the coastal geomorphology and physical properties of beach sediment. Field study area including beach sediment sampling, beach profile measurement, and auger drilling. When analyzing the relationship from using GIS and field study, the coastal change pattern in the study area related to the distance of sediment transport from Tha Krachai river mouth and the geomorphology of the area. As a result of construction in the Tha Krachai river mouth, they disrupt the natural process of longshore drift. The result shows that after the construction, the coastline in the northern part was characterized as an erosional coast. The erosion rate has increased 0.50-1.70 m/year. At the middle part, the change of coastline was influenced by the shifting of river mouths in this part. At the southern part, the erosion rate has increased 0.05-2.30 m/year because the jetty has interrupts the longshore current and disrupts the equilibrium of the beach.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชายฝั่งทะเลหลังจากการสร้างเขื่อนที่ยื่นลงไปในทะเล บริเวณปากน้ำท่ากระจาย อำเภอท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativeCoastal morphological change after the construction of jetty at Pak Nam Tha Krachai, Tha Chana District, Surat Thani Provinceen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorSumet.P@chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattraporn_C_Se_2561.pdf5.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.