Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66393
Title: | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น เป็นกลุ่มตามความสามารถ และเรียนด้วยตนเองเป็นกลุ่ม |
Other Titles: | A comparison of mathematics learning achievement of mathayom suksa four students learned by whole class instruction ability grouped instruction and team assisted individualtzation |
Authors: | สุรพล ประยงค์พันธ์ |
Advisors: | ยุพิน พิพิธกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- ไทย การเรียน Mathematics -- Study and teaching (Secondary) -- Thailand Academic achievement -- Thailand |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น เป็นกลุ่มตามความสามารถและเรียนด้วยตนเองเป็นกลุ่ม วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดเพลง “โสภณศิริราษฎร์” จ.ราชบุรี จำนวน 3 ห้อง ๆ ละ 36 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มทดลองนักเรียนเรียนเป็นกลุ่มตามความสามารถ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มทดลองนักเรียนเรียนด้วยตนเองเป็นกลุ่ม กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุมนักเรียนเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยซึ่งสร้างขึ้นมีดังนี้คือ แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง "ฟังก์ชัน" ได้ค่าความเที่ยง 0.75 และ 0.79 ตามลำดับ นอกจากนี้ได้สร้างชุดการเรียนการสอนรายบุคคลเรื่อง "ฟังก์ชัน" ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 90. 056/94.468 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์คะแนนมาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 80/80 และบันทึกการสอนเรื่อง "ฟังก์ชัน" ซึ่งผู้วิจัยได้ให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจแก้ไข ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยการทดสอบวัดความรู้พื้นฐานการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนทั้งสามกลุ่ม แล้วดำเนินการสอนโดยใช้บันทึกการสอนกับกลุ่มที่เรียนเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น และเรียนเป็นกลุ่มตามความสามารถ นอกจากนั้นใช้ชุดการเรียนการสอนรายบุคคลกับนักเรียนที่เรียนด้วยตนเองเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มใช้เวลา 18 คาบ ๆ ละ 50 นาที หลังจากที่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเรียนจบแล้วผู้วิจัยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ทั้งสามกลุ่ม จากนั้นนำคะแนนความรู้พื้นฐานการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และคะแนนผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์มาทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One Way Analysis of Covariance) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างมัชฌิมเลขคณิตของผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นรายคู่ (Test of Comparison) โดยวิธีการของ (Scheffe') ผลการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนเป็นกลุ่มตามความสามารถ และเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น ไม่แตกต่างที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยตนเองเป็นกลุ่มสูงกว่าเรียนเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยตนเองเป็นกลุ่มสูงกว่าเรียนเป็นกลุ่มตามความสามารถ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ |
Other Abstract: | Purposes The purposes of this research were to compare mathematics learning achievement of mathayom suksa four students learned by whole class instruction, ability grouped instruction and team assisted individualization Procedures The sample were mathayom suksa four students of wat Pleng “Soponsirirat” School, Rajaburi. There were three groups, thirty-six students each. First group was the experimental group learned by ability grouped instruction. Second group was the experimental group learned by team assisted individualization. Third group was the controlled group learned by whole class instruction. The research instruments constructed were as follows : the mathematics basic knowledge test and the mathematics learning achievement test on "Function" with the reliabilities of 0.75 and 0.79 respectively ; the individualized instructional package on “Function” with the effeciency of 90.056/94.468 and in 80/80 of given efficient standard ; and the lesson plan on “Function” corrected by the advisor and three experts. The mathematics basic knowledge tests were administered to three groups of students. Then the lesson plans were administered to the groups learned by whole class instruction and ability grouped instruction. Besides, the individualized instructional packages were administered to the group learned by team assisted individualization. Each group studied eighteen periods, fifty minutes each. After the experimental group and the controlled group already studied, the mathematics learning achievement tests were administered to three groups. Then the scores of the mathematics basic knowledge test and the scores of mathematics learning achievement test were analyzed by means of One Way Analysis of Covariance and Test of Comparison by Scheffe’. Results 1. The mathematics learning achievement of mathayom suksa four students between the groups learned by ability grouped instruction and whole class instruction was not different at the 0.05 level of significance which rejected the hypothesis. 2. The mathematics learning achievement of mathayom suksa four students of the group learned Ly team assisted individualization was higher than the group learned by whole class instruction at the 0.05 level of significance which retained the hypothesis. 3. The mathematics learning achievement of mathayom suksa four students of the group learned by team assisted individualization was higher than the group learned by ability grouped instruction at the 0.05 level of significance which retained the hypothesis. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาคณิตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66393 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.152 |
ISBN: | 9745676322 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1987.152 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Surapon_pr_front_p.pdf | 935.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapon_pr_ch1_p.pdf | 824.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapon_pr_ch2_p.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapon_pr_ch3_p.pdf | 907.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapon_pr_ch4_p.pdf | 685.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapon_pr_ch5_p.pdf | 827.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapon_pr_back_p.pdf | 13.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.