Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66583
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ กาญจนกิจ-
dc.contributor.authorอภิศักดิ์ คู่กระสังข์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2020-06-25T07:04:25Z-
dc.date.available2020-06-25T07:04:25Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741438648-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66583-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนิสิตนักศึกษาไทย ในปี 2548 2) ศึกษาปัญหาของการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนิสิตนักศึกษาไทยในปี 2548 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นิสิตนักศึกษาไทยในระดับอุดมศึกษาของรัฐบาลและเอกชน จำนวน 11 แห่ง ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 1,100 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพและปัญหาการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนิสิตนักศึกษาไทย ในปี 2548 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยเทคนิคเซฟเฟ ผลการวิจัยสรุปว่า : 1.สภาพของการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศระหว่างกลุ่มนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 2.ความแตกต่างของสภาพการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวนิสิตนักศึกษาระหว่างภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เหนือ, ใต้, กลาง และตะวันออกเฉียงเหนือ วิเคราะห์โดยเทคนิคการหาความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way Analysis of Variance) พบว่า สภาพการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนิสิตนักศึกษาในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3.ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิตของสภาพการเดินทางท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟของกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า กลุ่มที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ ภาคใต้มีคะแนนสูงกว่ากรุงเทพมานครอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนกลุ่มที่เหลือ ได้แก่ ภาคเหนือกับกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือกับภาคกลาง, ภาคเหนือกับภาคใต้, กรุงเทพมหานครกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กรุงเทพมหานครกับภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคใต้และภาคกลางกับภาคใต้มีสภาพการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไม่แตกต่างกัน 4.ปัญหาของการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนิสิตนักศึกษาไทย ในปี 2548 พบว่า ห้องน้ำสาธารณะไม่สะอาด คิดเป็นร้อยละ 17.3 ห้องน้ำในที่พักไม่สะอาด ร้อยละ 25.1 ของที่ระลึกมีราคาแพง ร้อยละ 27.1 อาหารไม่สะอาดร้อยละ 30.8 สภาพยานพาหนะไม่ดี ร้อยละ 17.1 และเจ้าหน้าที่/พนักงานด้านการท่องเที่ยวพูดจาไม่สุภาพ ร้อยละ 17.7-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were: 1) to study state of domestic tourism of Thai university students in the year 2005 2) to study problems of domestic tourism of Thai university students in the year 2005. The samples were 1,100 students in 11 selected Thai universities both government universities and private universities which under the Commission on Higher Education, Ministry of Education. The research tool was a questionnaire which constructed by researcher in order to investigate the collected data was analyzed state and problems of domestic tourism of Thai university students in the year 2005 by means percentage standard deviation t-test, One Way Analysis of Variance (ANOVA) and the compare paired different mean with Scheffe s’ procedure analysis. The results were summarized as follows: 1.Comparing the state of domestic tourism between government universities and private universities, there were not significantly different at .05 in all items except tourism facilities. 2.There were significantly different at .05 level among the region when using One Way Analysis of Variance. 3.Using Scheffe’s procedure among Bangkok metropolitans, the Northem the South and the Central region there was significant by different at .05 level between Bangkok and Southern region and there was no significant by different in the other four regions. 4.The problems of domestic tourism of Thai university students in the year 2005 were founded as follows: 1) the public restroom was not clean up to standard with 17.3 percent the food service was not up to standard with 30.8 percent, the restroom in the accommodation while with 25.1 percent and tourism souvenirs were expensive with 27.1 percent, the transportation problem with 17.1 percent and the tourism officers were impolite manner and lacking of service mind with 17.7 percent.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทยen_US
dc.subjectนักศึกษา -- ไทยen_US
dc.titleสภาพและปัญหาของการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของนิสิต นักศึกษาไทย ปี 2548en_US
dc.title.alternativeState and problems of domestic tourism of Thai University students in the year 2005en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSombat.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apisak_ko_front_p.pdf943.08 kBAdobe PDFView/Open
Apisak_ko_ch1_p.pdf997.35 kBAdobe PDFView/Open
Apisak_ko_ch2_p.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Apisak_ko_ch3_p.pdf788.23 kBAdobe PDFView/Open
Apisak_ko_ch4_p.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Apisak_ko_ch5_p.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Apisak_ko_back_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.