Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66645
Title: การสลาย พลังงานของแอ่งสลายพลังงานแบบขั้นบันไดบนพื้นเอียงขึ้น
Other Titles: Energy dissipation on stepped basin with adverse slope
Authors: อธิคม รักสัตว์
Advisors: เสรี จันทร์โยธา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การถ่ายเทพลังงาน
แบบจำลองทางชลศาสตร์
Energy transfer
Hydraulic models
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพในการสลายพลังงานของแอ่งสลายพลังงานแบบขั้นบันได้บนพื้นเอียงขึ้นโดยได้ศึกษาแอ่งสลายพลังงาน 5 รูปแบบคือรูปแบบ 1, 2, 3, 4 ชั้นและแบบพื้นเอียงขึ้น(slope) ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนความสูงของแอ่งสลายพลังงานทั้งหมด 4 ค่าคือความสูงแอ่งสลายพลังที่ 3.6, 4.8, 5.4และ 6.0 เซนติเมตรตามลำดับโดยทำการทดลองในสภาพการไหลคงที่ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการสลายพลังงานของแอ่งสลายพลังงานบนพื้นเอียงขึ้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบลักษณะทางกายภาพของแอ่งสลายพลังงานอันประกอบด้วยความสูงของขั้นบันไดและความยาวของแอ่งสลายพลังงานโดยจากการศึกษาพบว่าขั้นบันไดมีส่วนช่วยลดความลึกน้ำหลังเกิดน้ำกระโดดได้มากกว่าการเกิดน้ำกระโดดบนพื้นราบซึ่งมีผลทำให้ช่วยในการสลายพลังงานเพิ่มขึ้นด้วยและสามารถสลายพลังงานได้มากขึ้นเมื่อค่าฟรูดนัมเบอเพิ่มขึ้นโดยเมื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบแอ่งสลายพลังงานแบบขั้นบันไดบนพื้นเอียงขึ้นในแต่ละรูปแบบให้เหมาะสมกับอัตราส่วนระหว่างความยาวขั้นบันได้ (l) ต่อความสูงของขั้นบันได้ (S) จะทำให้แอ่งสลายพลังงานมีประสิทธิภาพในการสลายพลังงานได้มากที่สุดโดยรูปแบบ S1 (1ชั้น) อัตราส่วงl/s มีค่าประมาณ 12.6, รูปแบบ S2 (2ขั้น) อัตราส่วน l/s มีค่าประมาณ 10.3, รูปแบบ S3 (3ขั้น) อัตราส่วน l/s มีค่าประมาณ 10.4 รูปแบบ S4 (4ขั้น) อัตราส่วนl/s มีค่าประมาณ 13.5 และรูปแบบ S0 (slope) อัตราส่วน l/s มีค่าประมาณ 11.4
Other Abstract: The objective of this study was to determine the efficiency of 5 types of stepped stilling basins with adverse slope in energy dissipation of steady flow channel. The five stilling basins included four stepped basins and one adverse slope basin. The numbers of steps for each type of stepped stilling basins were 1, 2, 3, 4 steps respectively. The step heights of each stilling basin under this investigation were 3.6, 4.8, 5.4 and 6.0 cm, respectively. From the studied results, it has been that the efficiency of stepped stilling basin with adverse slope on energy dissipation were depended on the physical characteristic of stilling basins including step height and basin length. The stepped stilling basins help to reduce sequent depth that lowers than the plane basin. The stepped stilling basin yield more energy dissipation when Froude Number is higher. The maximum efficiency of stepped stilling basins depends on ratio of length to height of step. The appropriate ratio for 1, 2, 3, 4 steps were 12.6, 10.3, 10.4 and 13.5, respectively, for adverse slope was 11.4
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมแหล่งน้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66645
ISBN: 9741422512
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atikom_ra_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.02 MBAdobe PDFView/Open
Atikom_ra_ch1_p.pdfบทที่ 1771.83 kBAdobe PDFView/Open
Atikom_ra_ch2_p.pdfบทที่ 21.95 MBAdobe PDFView/Open
Atikom_ra_ch3_p.pdfบทที่ 31.1 MBAdobe PDFView/Open
Atikom_ra_ch4_p.pdfบทที่ 43.16 MBAdobe PDFView/Open
Atikom_ra_ch5_p.pdfบทที่ 53.05 MBAdobe PDFView/Open
Atikom_ra_ch6_p.pdfบทที่ 6753.53 kBAdobe PDFView/Open
Atikom_ra_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก5.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.