Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6668
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร | - |
dc.contributor.author | บุษบา สุวรรณเทวะคุปต์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-04-23T07:40:52Z | - |
dc.date.available | 2008-04-23T07:40:52Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741421362 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6668 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ ที่พักรักษาตัว แผนกอุบัติเหตุ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 106 คน เป็นชาย 87 คน หญิง 19 คน ทำการวิจัยช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2548 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินบุคลิกภาพ และแบบวัดความเครียดของผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, one way ANOVA, chisquare test, Pearson correlation และ stepwise multiple linear regression ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุที่รับไว้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ส่วนใหญ่ มีความเครียดอยู่ในระดับต่ำคิดเป็น 49.06% รองลงมาคือมีความเครียดระดับปานกลางและระดับสูงจำนวนเท่ากัน คิดเป็น 25.47% ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ความรุนแรงของการบาดเจ็บแบบมีภาวะทุพพลภาพชั่วคราว ค่ารักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยใช้สิทธิประกันสังคม สังคมสงเคราะห์ และผู้ป่วยที่ไม่มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท บุคลิกภาพแบบมั่นคงและหวั่นไหวในสภาวะอารมณ์ ความเกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือคดีความในกรณีที่คู่กรณีเป็นฝ่ายถูก แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยที่มีญาติ และในกรณีทีไม่มีคู่สมรส บทบาทที่ไม่ได้เป็นหัวหน้าครอบครัว บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บอื่นที่ไม่ใช่บริเวณหน้า และความพึงพอใจในการได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัว ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องสามารถเป็นตัวพยากรณ์ความเครียดของผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ ที่รับไว้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ บุคลิกภาพแบบมั่นคงและหวั่นไหวในสภาวะอารมณ์ ผู้ป่วยที่ไม่มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท ส่วนที่ระดับ .05 ได้แก่ บทบาทที่ไม่ได้เป็นหัวหน้าครอบครัว ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ตัวนี้ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความเครียดของผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุได้ โดยมีประสิทธิภาพในการทำนาย 58% | en |
dc.description.abstractalternative | To study the level of stress and factors correlated with stress among traffic accidental patients at traumatic department in King Chulalongkorn Memorial Hospital. The population samples were 106 patients, 87 males and 19 females. The study conducted during November to December 2005. Data were collected by using self Report questionnaire, personality test : (MPI) and stress test. statistical analysis was done by using SPSS for Windows. The data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, t-test, one way ANOVA, chi-square test, Pearson's movement correlation coefficiency and stepwise multiple linear regression analysis. The result of this research were as follows: the low level of stress among traffic accidental patients was 49.06% The moderate level and the high level of stress among traffic accidental patients were the same, 25.47%. The factors related to stress statistical significance at p<.05 were severity of injury was temporary disable, social security, social workers and patient whom Universal Coverage Project was not covered, the stability-neuroticism personality, correlation with an opponents when the opposite side to right, social support of relatives and no marriage, a patient who had been just a family member (not a family leader), no facial injury and satisfactory of patient from family support. By using stepwise multiple regression analysis, the most salient factors at p<.05 which can be predictive variable for approximately 58% are the stability-neuroticism personality, patient whom Universal Coverage Project was not covered and patient who had been just a family member (not a family leader). | en |
dc.format.extent | 1382035 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ความเครียด (จิตวิทยา) | en |
dc.subject | อุบัติเหตุทางถนน | en |
dc.subject | ความเจ็บป่วย | en |
dc.title | ความเครียดของผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุการจราจรทางบกที่พักรักษาตัว แผนกอุบัติเหตุในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | en |
dc.title.alternative | Stress among traffic accidental patients at Traumatic Departrment in King Chulalongkorn Memorial Hospital | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | chsrs@redcross.or.th | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Busaba_Su.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.