Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66758
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ | - |
dc.contributor.author | ดุจดาว คุณปิติลักษณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-07-01T07:43:34Z | - |
dc.date.available | 2020-07-01T07:43:34Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741756291 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66758 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | - |
dc.description.abstract | ในยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนดลยีและความก้าวหน้าทางสังคม ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น ส่งผลให้นายจ้างนำเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมาใช้ในการควบคุมตรวจตราลูกจ้างโดยการดักฟังการสนทนาทางโทรศัพท์ การติดตั้งกลอ้งโทรทัศน์วงจรปิด การเช็คข้อความในอีเมล์หรือการใช้อินเตอร์เน็ตของลูกจ้างในสถานประกอบการเอกชนมากขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวคิดและมาตรการทางกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้างในสถานประกอบการเอกชนในประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษและประเทศแคนาดา เพื่อเสนอแนะและ/หรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป จากการศึกษาพบว่า สิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้างในสถานประกอบการเอกชนถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่งที่รัฐต่าง ๆ ควรให้การรับรองและคุ้มครอง ซึ่งในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษชน ข้อ 12 ก็ได้รับรองว่าบุคคลย่อมไม่ถูกแทรกแซงโดยพลการในความเป็นอยู่ส่วนตัว ในครอบครัว ในเคหสถานหรือในการสื่อสาร รัฐทั้งหลายต่างก็ยอมรับว่าสิทธิส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งควรได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยก็ได้นำแนวคิดและหลักการดังกล่าวมาบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ปัจเจกชน ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและเป็นหลักการที่สำคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่าง ๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบันได้บัญญัติรับรองสิทธิส่วนบุคคลไว้แล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่ามีเพียงหลักการแห่งความเป็นส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ยังขาดกฎหมายที่กำหนดขอบเขต วิธีการ ตลอดจนมาตรการทางกฎหมาย ในการใช้บังคับกับหน่วยงานภาคเอกชน เพื่อนุวัตสิทธิส่วนบุคคลอันเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานให้มีการบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายอาญามีลักษณะเป็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นมากกว่าที่จะเป็นลักษณะของการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จึงไม่สามารถนำมาปรับใช้ในยุคปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ แม้ในปัจจุบันจะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกฎหมายทางด้านแรงงานที่กำหนดถึงสิทธิ หน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง แต่มิได้มีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้างในการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ไว้เลย จึงเป็นว่ารัฐควรที่จะผลักดันให้ร่างพระราชบัญญํติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.... ซึ่งเป็นกฎหมายกลางที่ให้คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในข้อมูลข่าวสารของปัจเจกชน มีผลใช้บังคับครอบคลุมถึงหน่วยงานภาคเอกชนด้วย และควรที่จะได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 108 เพื่อให้มีขอบเขตการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้างในการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้างที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย | - |
dc.description.abstractalternative | Advances in technology together with changes in society demand more communication than they did in the past. Employers have many technologies to monitor their employees, such as eavesdropping telephone conversation, using closed-circuit television and sniffing or snooping internet or electronic mail. This is particularly so in the private sector workplace. This thesis focuses on underlying principles and legal measures to protect employees' privacy in private sector workplaces. The study makes its comparison with laws from the United States of America, United Kingdom, and Canada to improvise existing or recommed new laws. It is found that privacy rights of employees in proivate sector whic are one of the basic human rights that every state must protect. Article 12 of the Universal declaration of the Human Rights recognizes that privacy rights are one of the basic rights to be stated in constitutions. Thailand has also adapted this philosophy in its constitution to protect its citizens which is in accordance to Universal declaration of Human Rights and is one of the main philosophies of democracy. Despite the fact that previous consititutions of Thailand, as well as the well as the current one, recoognized this principle, the laws to establish jurisdictions, procedures and legal measures in the private sector to fully enforce are still to materialize. In addition, The Civil and Commercial Gode and The Criminal Code put more focuses on compensation of damage than preventing them from being occurred. Therefore, it is inapplicable for the days with advanced technology. Even though The Labor Protection Act B.E. 2541 and The Labor Relation Act B.E. 2518 which are labor law declare rights, duties, and relationships between employers and employees, there is no declaration to protect privacy rights in electronic communications. Therefore, this thesis makes a recommendation that Thailand must enact The data Prottection Bill B.E.... which is the law to protect personal data covering private sector workplaces. It is also recommended that there should be an amendment of section 108 of The Labor Protection Act B.E. 2541 to cover employee's privacy rights in electronic communications in order to prevent new problems that may arise. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ลูกจ้าง -- สิทธิส่วนบุคคล | - |
dc.subject | สิทธิส่วนบุคคล -- การคุ้มครอง | - |
dc.subject | Employees -- Privacy, Right of | - |
dc.subject | Privacy, Right of -- Protection | - |
dc.title | การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้างในสถานประกอบการเอกชนในประเทศไทย | - |
dc.title.alternative | Employee's privacy in private sector workplace in thailand | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Dujdao_kh_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 988.61 kB | Adobe PDF | View/Open |
Dujdao_kh_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 889.75 kB | Adobe PDF | View/Open |
Dujdao_kh_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Dujdao_kh_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Dujdao_kh_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Dujdao_kh_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 962.98 kB | Adobe PDF | View/Open |
Dujdao_kh_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.