Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66861
Title: กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการก่อตั้งและธำรงอยู่ของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น "จันเสน" จังหวัดนครสวรรค์
Other Titles: Participatory communication process in establishing and maintaining "Chansean" a local museum in Nakhon Sawan
Authors: สุนทรี ลิลา
Advisors: อวยพร พานิช
สุกัญญา สมไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Uayporn.P@chula.ac.th
Sukanya.Som@Chula.ac.th,kayafiles@yahoo.com
Subjects: พิพิธภัณฑ์จันเสน
การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
ชุมชนจันเสน (นครสวรรค์)
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนจันเสนที่ส่งผลในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์จันเสน รวมทั้งศึกษากระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนจันเสนในการก่อตั้งและธำรงอยู่ของพิพิธภัณฑ์จันเสน ซึ่งเก็บข้อมูลโดยวิธีการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุมชนจันเสนเป็นชุมชนเล็กๆ ที่เคยมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ เพราะมีการตัดทางรถไฟพาดผ่าน แต่ต่อมาเมื่อมีการตัดถนน ผู้คนจึงอพยพไปประกอบอาชีพ ในถิ่นอื่น ชุมชนจันเสนเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่มีการรวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่วัดจันเสนและมี "หลวงพ่อโอด" เป็นผู้นำทางความคิดจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน เมื่อมีการค้นพบเมืองโบราณจากภาพถ่ายทางอากาศ จึงมีการขุดค้นอย่างเป็นทางการ จนเมื่อหลวงพ่อโอดดำริให้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โครงการก่อตั้ง"พิพิธภัณฑ์จันเสน" จึงเกิดขึ้น 2. ชุมชนจันเสนใช้กระบวนการสื่อสารเป็นกลไกในการสร้างการมีส่วนร่วมกับทั้งภายในกลุ่มชุมชนและภายนอกกลุ่มชุมชน อันได้แก่ นักวิชาการและนักท่องเที่ยว ซึ่งประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการก่อตั้งและธำรงอยู่ของพิพิธภัณฑ์จันเสน มีดังนี้ (1) การรวบรวมโบราณวัตถุ (2) เรื่องการจัดการอาคารสถานที่ (3) การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ (4) การบริหารงานของพิพิธภัณฑ์ (5) รายรับ - รายจ่ายของพิพิธภัณฑ์ (6) กิจกรรมเสริมของพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์จันเสนเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ก่อตั้งและดำเนินการเพื่อการธำรงอยู่โดยคนในชุมชนเพื่อชุมชนจันเสน สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนอย่างครอบคลุม โดยช่วยเสริมสร้างกลุ่มอาชีพและกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนและที่สำคัญ การดำเนินการของพิพิธภัณฑ์ได้สร้างยุวมัคคุเทศก์ ซึ่งเป็นสื่อบุคคลรุ่นใหม่เพื่อการธำรงอยู่ของพิพิธภัณฑ์ในอนาคต
Other Abstract: This research aims at studying the economic and social condition of Chansean community, which affects the establishment of Chansean Museum. Moreover, it aims at studying the community's participatory communication process in the establishment and maintenance of the museum. The research methodology is composed of non-participatory observation and in-depth interview with 20 persons. The findings are as fallowing; 1. Chansean Community is a small community. It was more thriving in the past due to its access to railway transportation; however, with comfort of road development later on, a number of people moved out to find jobs in other cities. Anyhow, community members remained are combined with people of multi-ethnicity. Practically, Chansean Buddhist Temple and Laung Pau Oad the most respected local priest are considered the centre of the community. When the ruin of ancient city was spotted from aero-photograph and the official excavation started in the community, Laung Pau Oad proposed the idea of establishing a local museum and the Chansean Museum Project was initiated. 2. Communication process is used as a mechanism in participatory-building within Chansean community members and related people from other communities such as academics and tourists. Major concerns with the establishment and maintenance of the museum are as following 1) Collection of ancient artefacts 2) Provision of Building and Facilities 3) Design of Museum Display 4) Management of the Museum 5) Management of the Museum Budget ธ) Initiation of Special Activities to Promote tourism. As a local museum established and maintained "by community members, for the community". Chansean Museum achieved vastly in participatory building. The museum helps initiate jobs and activities for community members. Additionally, via its youth guide project, the musuem has developed the new generation of community members who will help maintain the museum in the long run.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66861
ISBN: 9741423306
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suntharee_li_front_p.pdf902.64 kBAdobe PDFView/Open
Suntharee_li_ch1_p.pdf845.57 kBAdobe PDFView/Open
Suntharee_li_ch2_p.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Suntharee_li_ch3_p.pdf700.49 kBAdobe PDFView/Open
Suntharee_li_ch4_p.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
Suntharee_li_ch5_p.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Suntharee_li_back_p.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.