Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67112
Title: ผลของตัวแปรต่อการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์โดยสาหร่ายขนาดเล็กในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ
Other Titles: Effect of variables on carbon dioxide fixation by microalgae in bioreactor
Authors: ชาญชัย อมรรัตนานุเคราะห์
Advisors: พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์
สุเมธ ตันตระเธียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: คลอเรลลา
คาร์บอนไดออกไซด์ -- การตรึง
สาหร่ายขนาดเล็ก -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเลี้ยงเชื้อ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สาหร่ายขนาดเล็กเป็นทางเลือกทางหนึ่งในการดึงคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากกระบวนการเผาไหมให้กลับมาอยู่ในรูปชีวมวล ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการเลี้ยงสาหร่ายคลอเรลลา เพื่อศึกษาผลของปัจจัยความเข้มแสง, อัตราการป้อน CO₂ , ความเข้มข้นของ CO₂ และความเร็วรอบในการกวน ที่มีต่อการเติบโตของสาหร่ายในอาหารเลี้ยงเชื้อสูตร NS III ภายใต้สภาวะอุณหภูมิเฉลี่ย 30.9 องศาเซลเซียส ช่วงมืดและช่วงสว่างเท่ากับ 12 และ 12 ชั่วโมงตามลำดับ ในการทดลองพบว่าแสงเป็นปัจจัยเดียวที่มีผลกระทบต่อสัมประสิทธิ์การเติบโตของสาหร่ายคลอเรลลา จากผลการทดลองสามารถพัฒนาสมการเพื่อใช้ในการพยากรณ์สมประสิทธิ์การเติบโตของสาหร่ายได้ดังนี้ µ = 0.00025235I + 0.5116 โดย µ คือ ลัมประสิทธิ์การเติบโตของสาหร่ายและ I คือความเข้มแสงสภาวะการเลี้ยงที่ให้สัมประสิทธิ์การเติบโตสูงสุดคือที่ความเข้มแสง 3000 ลักซ์, อัตราการป้อน CO₂ 12 ลิตร/ชั่วโมง, ความเข้มข้นของ CO₂ 10 % และความเร็วรอบในการกวน 100 รอบต่อนาที ค่าสัมประสิทธิ์การเติบโต เท่ากับ 1.16 ต่อกัน ลำหรับประเด็นการเปลี่ยนรูป CO₂ ไปอยู่ในรูปชีวมวลพบว่า ที่สภาวะเดียวกันนี้ มีการผลิตชีวมวลสูงสุด โดยปริมาณคาร์บอนในชีวมวลที่ได้เท่ากับ 149.72 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
Other Abstract: Microalgae is an alternative for removing carbon dioxide from combustion processes back to biomass form. Thus in this research, Chlorella sp. was cultured to study the effects of light intensity, carbon dioxide concentration, feed rate of carbon dioxide, and the speed of mixing on the growth in NS III media under 30.9 degree celcius and 12-12 hours of light-dark period. It was found that only light intensity affects the growth efficiency of Chlorella sp. From the experimental result, the relasionship for predicting the growth can be described as: µ = 0.00025235I + 0.5116 where µ was the growth coefficient of Chlorella sp. and I was the light intensity. The condition providing the maximum growth coefficient was at 3000 lux light intensity, 12 L/hr CO₂ feed, with 10% CO₂ concentration and 100 rpm mixing speed. The growth coefficient was 1.16 per day. For carbon dioxide fixation, it was found that, at the same condition, the maximum biomass was produced. The carbon content was 149.72 µg/ml solution.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67112
ISBN: 9741301456
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanchai_am_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ791.05 kBAdobe PDFView/Open
Chanchai_am_ch1_p.pdfบทที่ 1683.15 kBAdobe PDFView/Open
Chanchai_am_ch2_p.pdfบทที่ 2980.22 kBAdobe PDFView/Open
Chanchai_am_ch3_p.pdfบทที่ 3786.27 kBAdobe PDFView/Open
Chanchai_am_ch4_p.pdfบทที่ 41.76 MBAdobe PDFView/Open
Chanchai_am_ch5_p.pdfบทที่ 5610.04 kBAdobe PDFView/Open
Chanchai_am_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก909.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.