Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67406
Title: | พหุลักษณ์ของสำนึกทางชาติพันธุ์ : ม้งภูสวยกับการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและการเมือง |
Other Titles: | Pluralism in ethnic identity : Hmong Phu Suay and eco-political organization |
Authors: | มนตรา พงษ์นิล |
Advisors: | ปรีชา คุวินทร์พันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ม้ง -- ความเป็นอยู่และประเพณี กลุ่มชาติพันธุ์ หมู่บ้านภูสวย (เชียงใหม่) society ethnic groups |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ได้เลือกศึกษาที่หมู่บ้านม้งน้ำเงินหนึ่งหมู่บ้าน ในอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการวิจัยภาคสนามในหมู่บ้านเป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งเป็นการใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้านในหมู่บ้าน และใช้วิธีการวิจัยเก็บข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น เอกสารชั้นรอง การสัมภาษณ์อย่างเจาะลึก และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) ผลการวิจัยพบว่าหมู่บ้านภูสวยมีความแตกต่างและหลากหลายทางศาสนาเศรษฐกิจ และชาติพันธุ์ คือ มีชาวม้งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในหมู่บ้าน นอกจากนี้เป็นชาวจีนฮ่อ คนไทย/คนเมือง ชาวกะเหรี่ยง และคนต่างด้าวอาศัยอยู่ด้วย และมีศาสนาพุทธผี คริสต์ อิสลาม ที่นับถือแตกต่างกันไปทั้งภายในและระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ความแตกต่างดังกล่าวมิได้มีความหมายมากเมื่อถูกแทนที่ด้วยระบบความสัมพันธ์ต่อกันทางเศรษฐกิจพืชพาณิชย์ การค้า การปกครอง และความทันสมัยและอิทธิพลของการท่องเที่ยวในบริบทของสังคมไทยที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ดังนั้น กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆจึงสามารถอยู่ร่วมกันเป็นพหุสังคมได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งกันมากนัก ชาวม้งมีการปรับใช้สัญลักษณ์ดั้งเดิมและรับเอาสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมใหม่เช่นการใช้ระบบการปกครองสมัยใหม่เป็นกลไกสร้างกระบวนการในการพยายามรักษาอำนาจและผลประโยชน์ให้คงอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ของตน ไม่ว่าจะเป็นการตระหนักรับรู้ในอำนาจของคนเมืองที่แสดงผ่านการทำพิธีกรรมการทรงของคนเมืองในหมู่บ้านหรือการปรับใช้พิธีกรรมของตนเพื่อลดความวิตกกังวลทางจิตใจ เมื่อได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจทุนนิยมหรือการกระทำของอำนาจรัฐ รวมทั้งมีการปรับใช้พิธีกรรมเพื่อแสดงศักยภาพในการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจสังคมและการปกครองของไทยได้ในระดับหนึ่ง จนมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่นคง การใช้พิธีกรรมและองค์กรทางสังคมเป็นองค์กรทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการ ทำให้สามารถเข้าไปมีอำนาจในการบริหารการปกครองหมู่บ้านได้ และมีการปรับปรุงกฎเกณฑ์การปกครองบางอย่างเพื่อให้เกิดการยอมรับและปฏิบัติตามในทุกกลุ่มชาติพันธุ์ สาเหตุดังกล่าวทำให้ชาวม้งมีการปรับใช้สัญลักษณ์ของสำนึกทางชาติพันธุ์เป็นสามลักษณะ คือ เกิดการรวมสำนึกของความเป็นม้งภายในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันเกิดสำนึกในสัญชาติหรือความเป็นพลเมืองไทยจากนโยบายของรัฐและอ้างอิงถึงถิ่นกำเนิดในภาคเหนือหรือลักษณะทางกายภาพแทนที่สำนึกความเป็นม้ง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอคติทางชาติพันธุ์เมื่อต้องอยู่เพียงลำพังกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น การปรับใช้สัญลักษณ์ของสำนึกทางชาติพันธุ์ดังกล่าวของชาวม้งเป็นไปเพื่อการปกป้องผลประโยชน์และอำนาจที่มีอยู่ภายในกลุ่มชาติพันธุ์เมื่อได้รับผลกระทบจากการกระทำหรือนโยบายของรัฐในอีกด้านหนึ่ง |
Other Abstract: | This is a study of a Hmong visage in a National Park in Chiangmai Province. Theresearcher lived in the visage for one year to collect data by using indepthinterview and palticipant observation methods. Ban Phu Suay, the village under study, is a heterogeous village, comprising ofpeople of various origins, refigious beliefs and economic interests. The Hmong is thelargest ethnic group in term of population and economic and political domination ofthe village. Other groups are Yunnanese Chinese, local Thai (Khon Muang), Thai, Karenand several foreign aliens. Different religious beliefs and practices are Buddhism,Christianity, Islam and spirit worship. Such differences, however, do not lead toopen conflicts. They are, to a certain degree, interdependent and have mutual vestedinterests in trade, tourism, village administration and any interest brought fromoutside through the process of modernization. The Hmong people, however, manage tohold both economic and political power over other groups. To gain economic and political dominance, the Hmong people utilize theirtraditional symbols and rituals to strengthen their internal cohesion. They are allrelated through kinship and are conscious of being a Hmong as an ethnic identity.They have also been able to adopt modern symbols and practices to enhance theireconomic and political interest within and outside the village. They hold all seatsin the local administration. Some of them even converted to Buddhism to enjoy beingaccepted by the more powerful Khon Muang the majority lowland Thai people. Thus, onecan see, on the one hand, the process of "retribalization" whereby the Hmong peoplehave successfully maintained their Hmong identity to define their collective economicand political interest. On the other hand, it is through the process of"detribalization", one can see the adaptation of modern symbo]s such as an acceptanceof rules and regulations imposed from the state, modern education system,citizenship, and royalty to the monarch all of which the Hmong people havemanipulated to legitimize their domination of economic and political interest in theeyes of other groups and also in a wider social and cultural context of Thai society. Through such processes, the Hmong people conciously express three differrentethnic identities. They are Hmong when in the village, "highlander Thai" whenconfronting with the state, and finally "Khon Muang" or Chinese when in Bangkok orany area outside the northern region. The study shows how the Hmong peopleeffectively make use of their traditional symbols as well as modern symbols incompeting for economic and political power within and outside the village. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | มานุษยวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มานุษยวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67406 |
ISBN: | 9743315454 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Montra_po_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montra_po_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 3.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montra_po_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montra_po_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montra_po_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montra_po_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montra_po_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montra_po_ch7_p.pdf | บทที่ 7 | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montra_po_ch8_p.pdf | บทที่ 8 | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montra_po_ch9_p.pdf | บทที่ 9 | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Montra_po_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 884.72 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.