Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67443
Title: การศึกษาความคิดเห็นด้านโภชนาการสำหรับเด็กของผู้ปกครองเด็กวัยอนุบาลที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและเกินเกณฑ์มาตรฐาน ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of opinion on children nutrition of parents with underweight and overweight preschool children in Bangkok Metropolis
Authors: วิไลวรรณ กลิ่นถาวร
Advisors: อรชา ตุลานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เด็ก -- โภชนาการ
เด็กน้ำหนักเกิน
น้ำหนักตัว
เด็ก -- สุขภาพและอนามัย
ผู้ปกครองกับเด็ก
Children -- Nutrition
Overweight children
Body weight
Children -- Health and hygiene
Parent and child
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นในด้านโภชนาการของผู้ปกครองเด็กวัยอนุบาล (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองในด้านโภชนาการสําหรับเด็กวัยอนุบาลที่มีน้ำหนักต่ำกว่า เกณฑ์มาตรฐานและเกินเกณฑ์มาตรฐาน (3) เปรียบเทียบการเลือกอาหารของเด็กวัยอนุบาลที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและเกินเกณฑ์มาตรฐานตัวอย่างประชากรเป็นผู้ปกครองเด็กวัยอนุบาล และเด็กวัยอนุบาลที่ มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและเกินเกณฑ์มาตรฐาน ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ปกครอง แบบสังเกต การเลือกอาหารของเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคํานวณร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้ปกครองเด็กวัยอนุบาลมีคะแนนอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง คือ ข้อควรปฏิบัติในด้านการเลือกซื้อและประกอบอาหาร ส่วนเรื่องที่ผู้ปกครองเห็นด้วย คือ ประเภทและปริมาณของอาหารที่เด็กควรได้รับ ส่วนเรื่องที่ผู้ปกครองไม่เห็นด้วย คือ ข้อที่ไม่ควรปฏิบัติเกี่ยวกับประเภทและปริมาณของอาหารที่เด็กควรได้รับ ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารของเด็ก ลักษณะทางด้านร่างกายของเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและเกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนสิ่งที่ผู้ปกครองปฏิบัติตัวทุกครั้งคือการเป็นแบบอย่างการรับประทานอาหารของผู้ปกครอง บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองสอนเกี่ยวกับโภชนาการและการรับประทานอาหาร ส่วนสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติเป็นแบบอย่างการรับประทานอาหารให้กับเด็กและสิ่งที่ไม่ควรสอนเกี่ยวกับโภชนาการและการรับประทานอาหารให้กับเด็กนั้นผู้ปกครองปฏิบัตินาน ๆ ครั้ง 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านโภชนาการสําหรับเด็กของผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและเกินเกณฑ์มาตรฐานในด้านการเลือกอาหารของผู้ปกครอง การปฏิบัติตัวของผู้ปกครอง และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปฏิบัติตัวของผู้ปกครองเด็กวัยอนุบาลจากแบบสอบถามมีคะแนนไม่แตกต่างกัน 3. การเปรียบเทียบการเลือกอาหารคาวของเด็กวัยอนุบาลที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและเกินเกณฑ์มาตรฐานแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อาหารหวานแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการเลือกผลไม้ไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of the study were to 1) study opinion on children nutrition of preschooler's parents 2) compare opinion on children nutrition of parents with underweight and overweight preschool children 3) compare food choices of underweight and overweight preschoolers. The sample was 372 parents of preschool children and underweight and overweight preschool children in Bangkok Metropolis. The instrument used were a parental opinion questionnaire, a parental opinion interview form, and a children observation form. The data were analyzed using percentage. mean of arithmetic, standard deviation, and t-test. The results were as followered: 1. Preschooler's parents strongly agreed on good practice in buying and preparing food while agreed on types and quantities of food that children should received. They strongly disagreed on items described inappropriate types and quantities of food for children; food myth; and opinion on under and overweight children characteristics. Parents were always being a good role model in food consumption and frequently teach children about nutrition and food consumption. They rarely practiced inappropriate teaching method or being a bad role model. 2. There were no significant differences in food selection, parental practices; and other factors that effect parental practice of parents of underweight and overweight preschool children. 3. Underweight and overweight children's choices of main dishes and deserts were significantly difference at .01 while the choices of fruits were not significantly difference
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67443
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.782
ISBN: 9741420099
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.782
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilaiwan_kl_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ923.15 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_kl_ch1_p.pdfบทที่ 1999.08 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_kl_ch2_p.pdfบทที่ 22.3 MBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_kl_ch3_p.pdfบทที่ 3929.6 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_kl_ch4_p.pdfบทที่ 41.61 MBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_kl_ch5_p.pdfบทที่ 5954.46 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_kl_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.