Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67552
Title: การศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคของอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม ในนประเทศไทย
Other Titles: A study of technical efficiency of palm oil extracting industry in Thailand
Authors: รัตนพงษ์ เภาโบรมย์
Advisors: สามารถ เจียสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: อุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม
อุตสาหกรรมน้ำมันพืช -- ไทย
โครงสร้างตลาด
การแข่งขันทางการค้า
น้ำมันปาล์ม
น้ำมันปาล์ม -- แง่เศรษฐกิจ
การค้าเสรี
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การคึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงสถานการณ์ของอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์มของบ่ระเทศไทย พฤติกกกรมของผู้ผลิตในอุดสาหกรรม การเข้าสู่ตลาดการค้าเสรี และปัญหาที่เกิดขึ้นรวมไปถึงแนวทางการแก้ไขของภาครัฐ โดยทำการศึกษาในเชิงพฤติกรรม และประสิทธิภาพการผลิตทางเทคนิคของอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์มของโรงงานสกัดแบบมาตรฐาน ซึ่งในการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตทางเทคนิคนี้ได้ใช้สมการการผลิตแบบคอบบ์ ดักลาส เพี่อที่จะหาสมการขอบเขตการผลิตที่มีประสิทธิภาพด้วยวิธลิเนียร์ โปรแกรมมิ่ง โดยใช้ ปัจจัยทุน แรงงาน และค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานเป็นปัจจัยในการผลิต การศึกษาในทที่นี้ได้ใช้ข้อมูลจากหน่วยผลิตจำนวน 18 ราย โดยใช้ข้อมูลแบบ Cross-Section ในปี พ.ศ. 2540 เพี่อศึกษาเปรียบเทียบค่าดัชนีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยผลิตในอุตสาหกรรม จากการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์มในส่วนของโรงงานสกัดแบบมาตรฐาน ที่ผ่านมามีหน่วยผลิตเข้ามาใหม่ในอุตสาหกรรมอยู่ตลอดเวลา เป็นผลจากการสนับสนุนของภาครัฐและแรงจูงใจในแง่ผลตอบแทนของภาคเอกชน เนื่องจากการขขยายตัวของการบริโภคน้ำมันปาล์ม อันเป็นผลจากข้อได้เปรียบทางด้านของราคาเมื่อเทียบกับน้ำมันพืชอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมีอุปสรรคทางด้านเงินทุนในการเข้าสู่ตลาดจากการที่ส่วนใหญ่ต้องเข้าเครื่องจักรต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาทางด้านอื่น ๆ เช่น ควานแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์นั้นพบว่า คุณภาพผลผลิตน้ำมันปาล์มที่ได้จากโรงงานสกัดแบบมาตรฐานด้วยกันเองมีลักษณะไม่แตกต่างกันอันเป็นผลจากเทคโนโลยีลักษณะเดียวกันการสร้างความแตกต่างจึงเป็นเพียงส่วนน้อย เช่น การควบคุมคุณภาพการให้ส่วนลดเงินลดและการส่งมอบสินค้าให้ตรงเวลา ทำให้ราคาของแต่ละหน่วยผลิตไม่แตกต่างกันนัก ด้านประลิทธิภาพการผลิตทางเทคนิคของอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมมีระดับประสิทธิภาพทางเทคนิคไม่สูงนัก และมีการกระจายตัวของค่าดัชนีสูง โดยมีระดับผลได้ต่อขนาดของอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์มในช่วงผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง (Decreasing Return to Scale) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการมีกำลังการผลิตสูงเกินกว่าระดับเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับการเข้ามาของผู้ผลิตรายใหม่จากแรงจูงใจในผลตอบแทนของผู้ผลิตในอุตสาหกรรม ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับความมีประสิทธิภาพการผลิตในเชิงเทคนิคของโรงงาน พบว่า ตัวแปรอิสระที่มีผล ได้แก่ สัดส่วนการถือหุ้น ของบริษัทของชาวต่างชาติจากจำนวนหุ้นทั้งหมด และสัดส่วนของผลปาล์มสดที่มาจากสวนของโรงงานเองต่อวัตถุดิบทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเครื่องหมายของค่าสัมประสิทธิ์ที่ได้จากตัวแปรทั้งคู่ไม่เป็นไปตามข้อสมมติที่ตั้งไว้หรือให้เครื่องหมายเป็นลบ แต่การที่ค่าที่ได้รับมีค่าน้อยมากหรือเข้าใกล้ศูนย์จึงสามารถสรุปได้ว่า สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทของชาวต่างชาติจากจำนวนหุ้นทั้งหมด และสัดส่วนของผลปาล์มสดที่มาจากสวนของโรงงานเองต่อวัตถุดิบทั้งหมด ไม่ส่งผลกระทบต่อระดับความมีประสิทธิภาพทางเทคนิคเแต่อย่างใด
Other Abstract: The objective of the thesis Is to analyse Palm oil extracting industry in Thailand by studying market structure, market conduct and technical efficiency of industry, which has applied Cobb-Douglas production function support by capital, labour and factory overheads factors to evaluate the production front tar Linear programming method. The scope of study compiled the data from 18 manufacturers with data range in 1997. The result of the study found the incoming of a new producer has entered the industries, which result from the promotion of the government and the gain of business Itself which lead to an increasing in the consumption of palm oil, arises from the advantage in a field of price compare to other oh business. However, a financial may be an obstacle in the investment of a machinery, which almost of the producers need to Import from the other countries. in any event, to concern with all differences for example, due to the technology there are none of a difference in worth of the product which is produced nom most of the same level in the extracting factories. Those differences are for instant the quality control of the product the discount given to the customer deliver goods on time, which does not make much differences to the price per unit in the field of technical efficiency, the result founded that the technical efficiency level of Industries are not very high and level of an index distribution are high. Where the Decreasing return to Scale takes the place which points out that capability of the production is higher than the appropriation, which agree to the Incoming of new producers by an Inducement of the business. Factors affecting on the level of technical efficiency are the percentage that a foreigner own the business and a share of fresh fruit bunch from the factory's plantations compares to their whole raw materials. However, the sign of the coefficient from those two factors does not follow the assumption that made or as in subtract sign. In conclusion, since the value is very slight or close to a zero, a share of the foreigner in the Industry and a share of a palm from a factory plantation compares to the whole raw materials does not affect to the technical efficiency of palm oil extracting industry.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67552
ISBN: 9743460349
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattanapong_ph_front_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Rattanapong_ph_ch1_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Rattanapong_ph_ch2_p.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open
Rattanapong_ph_ch3_p.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
Rattanapong_ph_ch4_p.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Rattanapong_ph_ch5_p.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Rattanapong_ph_ch6_p.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Rattanapong_ph_back_p.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.