Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67563
Title: การเปรียบเทียบคุณภาพบริการโรงพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ใช้และที่ไม่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวม
Other Titles: Comparison of hospital service quality as perceived by in-patients between hospitals implementation and non-implementation of tatal quality management
Authors: รุ่งนภา ยางเอน
Advisors: พนิดา ดามาพงค์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาลตร์
Subjects: บริการการพยาบาล
บริการทางการแพทย์ -- การควบคุมคุณภาพ
การบริหารคุณภาพโดยรวม
โรงพยาบาล -- การรับรองคุณภาพ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพบริการโรงพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาล ที่ใช้และที่ไม่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวม เปรียบเทียบคุณภาพบริการโรงพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยในระหว่างโรงพยาบาลที่ใช้และที่ไม่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวม และเปรียบเทียบคุณภาพบริการโรงพยาบาล ตามการรับรู้ของผู้ป่วยในระหว่างโรงพยาบาลที่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวมในช่วงระยะเวลาต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ใช้และไม่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวม จำนวนกลุ่มละ 3 โรงพยาบาล สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มโรงพยาบาลละ 200 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบกาม จำนวน 1 ชุด ซึ่งปรับปรุงจากผลงานวิจัยของ พนิดา ดามาพงศ์ และคณะหาความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างสองกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1.คุณภาพบริการโรงพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลที่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนคุณภาพบริการโรงพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ไม่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวม โดยรวม อยู่ในระดับค่อนข้างมาก 2.การเปรียบเทียบคุณภาพบริการโรงพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยในระหว่างโรงพยาบาลที่ใช้และที่ไม่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวม โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยคุณภาพบริการโรงพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยในทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านโรงพยาบาลที่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวมสูงกว่า ค่าเฉลี่ยคุณภาพบริการโรงพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลที่ไม่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวม 3.การเปรียบเทียบคุณภาพบริการโรงพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน ระหว่างโรงพยาบาลที่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวม ในช่วงระยะเวลาต่างกัน พบว่า คุณภาพบริการโรงพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน โดยรวมและรายด้านจำนวน 6 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านความสะดวกในการใช้บริการ และด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05 โดยโรงพยาบาลที่ใช้การจัดการคุณภาพโดยองค์รวมมาแล้ว3 ปี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ1ปี และต่ำสุด คือ 6 ปี
Other Abstract: The purposes of this research were to study hospital services quality as perceived by in-patients, to compare hospital services quality as perceived by in-patients between hospitals implementation and non-implementation of total quality management, and to compare hospital services quality as perceived by in-patients among hospitals implementation of total quality management in different year. A sample of 200 in-patients of each group, were randomly selected through multi-stage sampling technique. The questionnaire adapted from the research results of Panida Damapong et al. The reliability of the questionnaire tested by Cronbach Coefficient, was .98. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, comparison between two means, and one-way analysis of variance. The major findings were as follow: 1. The services quality as perceived by in-patients of hospitals which implementation of total quality management both the whole and each aspect were high level. The services quality as perceived by in-patients of hospitals non-implementation of total quality management as a whole were almost high. 2. The services quality as perceived by in-patients between hospitals implementation and non-implementation of total quality management, as a whole and each aspect, were statistically significant difference at the level of .05. The services quality scores of hospitals implementation of total quality management is higher than hospitals non-implementation of total quality management. 3. The services quality as perceived by in-patients of hospitals implementation of total quality management, for 1 year, 3 years and 6 years, were not statistically significant difference, while the aspect of convenience and tangibles were statistically significant difference at the level of .05. The services quality score as perceived by in-patients of hospitals implementation quality management for 3 years was higher than that of 1 year and 6 years respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67563
ISBN: 9743347933
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungnapa_ya_front_p.pdf897.37 kBAdobe PDFView/Open
Rungnapa_ya_ch1_p.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Rungnapa_ya_ch2_p.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Rungnapa_ya_ch3_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Rungnapa_ya_ch4_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Rungnapa_ya_ch5_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Rungnapa_ya_back_p.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.