Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67638
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธรรม อยู่ในธรรม-
dc.contributor.authorจิรจิตร ช่วยศรียัง-
dc.date.accessioned2020-08-20T08:11:45Z-
dc.date.available2020-08-20T08:11:45Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741417942-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67638-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในเชิงทฤษฎีทางกฎหมาย และเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียว แนวความคิดและหลักกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทถือว่าบริษัทเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของบุคคลโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ และแบ่งปันผลกำไรอันเกิดจากการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งแบกรับผลขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจนั้นร่วมกัน บริษัทมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก จากผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นทุกคนมีความรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงิน หรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ตนนำมาลงทุนในบริษัทเท่านั้น ทั้งนี้การจัดการของบริษัทจะต้องอยู่ภายใต้หลักการแบ่งแยกระหว่างความ เป็นเจ้าของและการจัดการ บริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียวเกิดขึ้นเนื่องจากการลงทุนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการต้องการเป็นเจ้าของกิจการและครอบงำการดำเนินธุรกิจแต่เพียงผู้เดียว บริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียวได้พัฒนาจากการเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นการประกอบธุรกิจในลักษณะของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย ทั้งปัญหาการใช้สภาพ ความเป็นนิติบุคคลเพื่อเป็นเกราะป้องกันความรับผิดของตนเอง ปัญหาการจัดตั้งบริษัทด้วยเงินทุนตํ่าปัญหาการถือหุ้นไขว้กันของบริษัทในเครือ หรือปัญหาการผูกขาดทางการค้า ดังนั้นในประเทศต่าง ๆ ที่ อนุญาตให้มีการจัดตั้งบริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียวจึงมีความพยายามในการออกกฎหมายพิเศษขึ้นเพื่อบังคับใช้กับบริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียวโดยเฉพาะ ผลจากการวิจัยพบว่า การนำหลักกฎหมายเกี่ยวกับบริษัทจำกัดโดยทั่วไปมาบังคับใช้กับบริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียวอาจจะไม่เหมาะสม เนื่องจากบริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียวเป็นบริษัทที่มี ลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากบริษัทจำกัดโดยทั่วไป กล่าวคือ การจัดตั้งบริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียวทำให้หลักการรวมตัวกันของบุคคลเพื่อจัดตั้งบริษัทไม่มีความหมายอีกต่อไป นอกจากนี้ยังทำให้สภาพความ เป็นนิติบุคคลกลายเป็นเครื่องมือเพื่อจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นเพียงคนเดียวของบริษัท ทั้งนี้จากการศึกษาถึงทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างตัวการตัวแทนพบว่าผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทมักจะเป็น บุคคลคนเดียวกันซึ่งทำให้ผู้ถือหุ้นในฐานะเป็นกรรมการบริษัทดำเนินงานของบริษัทเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตนเองโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อบุคคลอื่น รวมทั้งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม นอกจากนี้การดำเนินงานของบริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียวยังส่งผลกระทบต่อการกำกับดูแลกิจการ ทำให้หลักความเสมอภาคซึ่งสิทธิในระหว่างผู้ถือหุ้นทั้งหลาย การใช้อำนาจของผู้บริหารบริษัท ตลอดจนหลักความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้นทั้งหลายไม่มีความหมายอีกต่อไป ในท้ายที่สุดของการวิจัยนี้มีความประสงค์ที่จะเสนอแนะกรอบความคิด และข้อพิจารณาเกี่ยวกับตัวตนของบริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียวเพื่อเป็นความเข้าใจพื้นฐานในการที่จะนำไปแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to research study in terms of the legal and economic aspects of a single-member private limited company. The theory behind the laws that governs the function of a limited company is that a company is set up by a group of individuals that shares the same objectives to conduct a business with the aim to share the profits and the lost and liabilities which may occur. A company is a legal entity separated from the shareholder. Each shareholder will only be liable for the lost of the company measured from the shares that they hold in the company or the amount of money or assets that they invest in the company. With this the ownership of the company and the management must be separated. A single-member private limited company is establish due to the reality that there is a lot more investment in the market, and the investor would like to also be the sole manager of the company. A single-member private limited company was developed from a small- medium enterprise into a multinational company. This causes many problems and difficulties to follow such as the usage of a company separated legal entity to shield the sole investor from the company’s liability, the problem with the small investment capital, problems with cross holding in the related company, and anti- trust. Therefore, there are specific legal requirements in the local legislation in countries that allow the set up of a single-member private limited company. In the research, it is found out that the current legislation regarding company limited liability may not be sufficient due to the fact that a single-member private limited company has the set up that is different than most limited liability company. This can be demonstrated in the fact that single-member private limited company makes the objectives coming together for the setup of the company becomes obsolete. Principal-Agent Theory shows that if the shareholder and directors of the company are the same person will make company to maximize their profit and do not concern to the damages of another persons or social. Also, the current rules of limited liability can be use to defend the sole investor from the liability of the company. The separation of the ownership and the management of the company, the rights of shareholders, the abilities of the management becomes obsolete. Finally the objective of this research is to present the existence, problems and observation in a single-member limited company to be use as a bases for further studies of the problems in hope for possible solution in the future.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกฎหมายบริษัทen_US
dc.subjectบริษัทen_US
dc.subjectผู้ถือหุ้นen_US
dc.titleบริษัทจำกัดที่มีผู้ถือหุ้นคนเดียวen_US
dc.title.alternativeSingle-member private limited companyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSudharma.Y@chula.ac.th-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirajit_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ995.71 kBAdobe PDFView/Open
Jirajit_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1775.32 kBAdobe PDFView/Open
Jirajit_ch_ch2_p.pdfบทที่ 24.2 MBAdobe PDFView/Open
Jirajit_ch_ch3_p.pdfบทที่ 34.06 MBAdobe PDFView/Open
Jirajit_ch_ch4_p.pdfบทที่ 43.02 MBAdobe PDFView/Open
Jirajit_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.27 MBAdobe PDFView/Open
Jirajit_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.