Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67640
Title: ความเหมาะสมและประโยชน์ของชุดการเรียนด้วยตนเอง สำหรับหลักสูตรการฝึกอบรมทางไกล ของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
Other Titles: Appropriateness and benefits of self instructional packages for correspondence training courses of Thailand Management Association
Authors: จารุวรรณ กล่ำสนอง
Advisors: อุ่นตา นพคุณ
ไพฑูรย์ โพธิสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
แบบเรียนสำเร็จรูป
การฝึกอบรม
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ผ่านการฝึกอบรมทางไกลของศูนย์ฝึกอบรมทางไกล สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับชุดการเรียนด้วยตนเองทั้ง 5หลักสูตร คือ หลักสูตรกลยุทธ์การวิเคราะห์และแก้ปัญหา หลักสูตรทักษะในการปรับปรุงงาน หลักสูตรการจัดระเบียบสถานที่ทำงานด้วยกิจกรรม 5 ส. หลักสูตรการพัฒนาหัวหน้างาน และหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารในด้านความเหมาะสมและประโยชน์ของเนื้อหาต่อการนำไปใช้ปฏิบัติงานในหน้าที่ ตามภูมิหลังของผู้ผ่านการฝึกอบรมที่แตกต่างกันคือ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ในการทำงาน คะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบ ช่วงเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม และปริมาณการอ่านชุดการเรียนด้วยตนเอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ผ่านการฝึกอบรมทางไกลของศูนย์ฝึกอบรมทางไกล สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทยทั้ง 5 หลักสูตรนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2534-2539 รวมจำนวน 1,872 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มแบบชั้นภูมิได้จำนวนตัวอย่างรวม 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ และได้รับกลับคืนมา 264 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 82.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ผ่านการฝึกอบรมทางไกลทั้ง 5 หลักสูตรมีความคิดเห็นว่าชุดการเรียนด้วยตนเองโดยรวมและรายด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านวัตถุประสงค์ เนื้อหา ภาษา กิจกรรมในการเรียนการประเมินผล และรูปแบบการนำเสนอความรู้ สำหรับประโยชน์ของเนื้อหาในชุดการเรียนด้วยตนเองมีความคิดเห็นว่าอยู่ในระดับมาก ส่วนประโยชน์ของการนำเนื้อหาในชุดการเรียนด้วยตนเองไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่มีความคิดเห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ผ่านการฝึกอบรมทางไกลที่มีภูมิหลังต่างกันพบว่าผู้ผ่านการอบรมทางไกลที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดการเรียนด้วยตนเองในด้านความเหมาะสมของชุดการเรียนประโยชน์ของเนื้อหา และการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ที่มีตำแหน่งงาน ประสบการณ์ในการทำงาน คะแนนที่ได้รับจากการทำแบบทดสอบ ช่วงเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรมและปริมาณการอ่านชุดการเรียนด้วยตนเองต่างกัน มีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนด้วยตนเองไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to study and to compare the opinions of former participants of self instructional packages for correspondence training courses offered by Thailand Management Association. The appropriateness and benefits of the content when applied to the work place. Five courses, namely "How to Identify and Solve Problems", "Skills For On-the-Spot Improvement", "How to Improve Your Workplace", "How to be a Successful Foreman" and "How to be a Successful Mid-level Manager", were evaluated in is research. The subjects were categorized into six independent variables of background differences which were educational background, work position, work experiences, score achievement, length of study and frequency of book review. Research populations were 1,872 group of former participants of self instructional packages for correspondence training courses between 1991-1996. The instrument utilized for data collection was a questionnaire. Three hundred and twenty-two copies of questionnaire were distributed to the participants. Two hundred and sixty-four copies or 82.90 percent were completed and returned. Data were analyzed by using micro computer program SPSS/PC Research Results are as follows: 1. The sample of all different background variables collectively agreed that the packages were highly appropriate in all six aspects by each category of dependent variables, namely purpose of the course, the content, appropriateness of language, extra learning activities, evaluation system, and literary style All courses were, again, rated highly appropriate. Regarding the benefits, all subjects saw the content as highly beneficial, whereas in the application in the work place aspect was rated as fair. 2. Comparison between subjects with different background revealed that only those who differed in educational background held different opinions concerning the appropriateness of the content and its application to one's work with statistical significance of .05. Subjects with different positions, work experiences, score achievement, length of study and frequency of book review, however, did not differ in their respective opinions toward the packages.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67640
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.394
ISBN: 9743345159
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.394
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jaruwan_kl_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ888.91 kBAdobe PDFView/Open
Jaruwan_kl_ch1_p.pdfบทที่ 11.12 MBAdobe PDFView/Open
Jaruwan_kl_ch2_p.pdfบทที่ 22.94 MBAdobe PDFView/Open
Jaruwan_kl_ch3_p.pdfบทที่ 3876.51 kBAdobe PDFView/Open
Jaruwan_kl_ch4_p.pdfบทที่ 41.29 MBAdobe PDFView/Open
Jaruwan_kl_ch5_p.pdfบทที่ 51.28 MBAdobe PDFView/Open
Jaruwan_kl_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.