Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67894
Title: วาทวิเคราะห์พระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา (พ.ศ.2510-2548)
Other Titles: Rhetorical analysis of Queen Sirikit's speech on the occasion of Her Majesty's birthday (1967-2005)
Authors: ทิพย์สุดา อิ่มใจ
Advisors: อวยพร พานิช
Advisor's Email: Uayporn.P@chula.ac.th
Subjects: สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระนางเจ้า, 2475- -- พระราชดำรัส
วาทวิพากษ์ -- ไทย
Sirikit, Queen, consort of Bhumibol Adulyadej, King of Thailand, 1932- -- Oratory
Rhetorical criticism -- Thailand
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยศึกษาพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ.2510- 2548 โดยแบ่งเป็น 4 ปริบททางการมือง ได้แก่ ปริบทแรกสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึง เหตุ การณ์ 14 ตุลาคม 2516 ปริบทที่สองสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ จนถึง เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ปริบทที่สามสมัยหลังเหตุการณ์ ตุลาคม 2519 จนถึง รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และปริบทที่สี่ สมัยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยศึกษาจากเอกลารขอสำนักราชเลขาธิการ และเอกสารอื่น ๆ วิธีการ วิจัยเป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ตัวบท ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดสำคัญของพระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษานั้น มีสัดส่วนและประเด็นที่แตกต่างกันตามปริบทของบ้านมือง โดยพระ ราชดำรัสทั้งหมดตั้งแต่ พ.ศ. 2510- 2548 นั้น มีสัดส่วนของแนวคิดสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้ พระราช กรณียกิจ ร้อยละ 30.93 คุณธรรม ร้อยละ 27.84 เหตุการณ์บ้านมือง ร้อยละ 14.42 สถาบันพระมหา กษัตริย์ ร้อยละ 10.31 สถาบันชาติ และสถาบันศาสนา ร้อยละ 4.12 ในด้านกลวิธีการสื่อสารนั้น สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมีกลวิธีในการสื่อสารแนวคิดสำคัญอย่างมีวาทศิลป์ โดยทรงใช้วิธี การที่หลากหลาย ทรงใช้การสื่อสารที่บางส่วนเน้นอารมณ์ และบางส่วนอ้างอิง ซึ่งถือเป็นการสื่อสารแบบ ผสมผสาน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามปริบทบ้านเมือง สรุปได้วพระราชดำรัสของพระองค์ เนื่องในวัน เฉลิมพระชนมพรรษา สะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้นวาทศิลป์ และบทบาทหน้าที่ของพระ องค์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงสอดคล้องไปตามปริบทของบ้านเมืองได้อย่างเหมาะสม สมเป็นราชินีนักปกครอง แห่ง ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อย่างแท้จริง
Other Abstract: The purpose of this research is to study and to analyze Her Majesty Queen Sirikit's speech on the occasion of Her Majesty's birthday (1967-2005) from 4 political contexts. The first context is during the Premiership period of Field Marshal Sarit Thanarat until October 14th ,1973, the second context is during the Premiership period of Sanya Thammasak until October 6th ,1976, the third context is after October 6th ,1976 until the Premiership period of a full general Prem Tinnasoolanon and the forth context is during the Premiership period of the elected government The royal speeches are collected and studied from the Office of His Majesty's Principal Private Secretary and the research methodology comprises of historical and textual analysis. The study shows different proportions and points in main concepts of the Queen Sirikit's speech on occasion of Her Majesty's birthday by the country's context. From 1967 1o 2005, the proportions of main concepts of all the Royal speeches arranged in order of quantity, i.e. Royally duly percentages 30.93, Moral principle percent8ges 21:84, Country's situation percentages 14. 42, Monarch percentages 10:31 and Nationality and Religion percentages 4.12. As regards to the communication strategies, Her majesty Queen Sirikit rhetorically communicate the main concepts using various methods of communication, partly emotive and party referential, concordance with the country's context. In summary, the royal speeches on the occasion of Her Majesty's birthday thoroughly reflects her Majesty's rhetorical's capabilities and also reflect Her Majesty's roles conducted appropriately, complying with the context of political situation as being the genuine govern queen of democracy regime in constitutional monarchy.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67894
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.321
ISBN: 9741418337
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.321
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tipsuda_im_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ819.79 kBAdobe PDFView/Open
Tipsuda_im_ch1_p.pdfบทที่ 1803.91 kBAdobe PDFView/Open
Tipsuda_im_ch2_p.pdfบทที่ 21.85 MBAdobe PDFView/Open
Tipsuda_im_ch3_p.pdfบทที่ 3674.28 kBAdobe PDFView/Open
Tipsuda_im_ch4_p.pdfบทที่ 48.93 MBAdobe PDFView/Open
Tipsuda_im_ch5_p.pdfบทที่ 51.39 MBAdobe PDFView/Open
Tipsuda_im_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก12.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.