Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6806
Title: การีตหน่วยคำและการีตกลุ่มคำในภาษาสเปน : การศึกษาทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์
Other Titles: Morphological and anlaytic causatives in Spanish : a syntactico-semantic study
Authors: หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์
Advisors: กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ภาษาสเปน -- หน่วยคำ
ภาษาสเปน -- อรรถศาสตร์
ภาษาสเปน -- วากยสัมพันธ์
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การีตหน่วยคำและการีตกลุ่มคำในภาษาสเปนในด้านโครงสร้างความหมาย และการใช้ รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการีตทั้งสองประเภท ผู้วิจัยทำการศึกษาภายในกรอบทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน-หน้าที่โดยอาศัยข้อมูลภาษาที่ใช้จริงในคลังข้อมูลทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน ผลการศึกษาการีตหน่วยคำแสดงให้เห็นว่าการสร้างการีตหน่วยคำในภาษาสเปนจะนำรากศัพท์ที่เป็นคำคุณศัพท์หรือคำนามมาเติมหน่วยเติมหลังศัพท์ -ar, -ear, -izar, -ificar, -itar, -ecer, -iguar และ -rentar และอาจประกอบด้วยหน่วยเติมหน้าศัพท์ a-, en- อีก โดยการเลือกใช้หน่วยเติมศัพท์ใดมาสร้างกริยาแสดงการีตเป็นเรื่องเฉพาะศัพท์ ไม่อาจกำหนดเป็นกฎได้ ในด้านความหมาย กริยาที่สร้างจากคำคุณศัพท์จะมีความหมายการีตคือการทำให้ผู้รับเหตุเปลี่ยนแปลงสภาพมามีลักษณะตามความหมายของรากศัพท์ ส่วนกริยาที่สร้างจากคำนามจะมีความหมายหลายลักษณะ ได้แก่ การทำให้ผู้รับเหตุมีคำนวมที่เป็นรากศัพท์ การทำให้ผู้รับเหตุปกคลุมหรือล้อมรอบไปด้วยคำนามที่เป็นรากศัพท์ การทำให้ผู้รับเหตุเปลี่ยนสภาพมาเป็นหรือเหมือนคำนามที่เป็นรากศัพท์ และการทำให้ผู้รับเหตุเปลี่ยนสถานที่มาอยู่ในคำนามที่เป็นรากศัพท์ โดยการตีความว่ากริยานั้นมีความหมายแสดงการีตแบบใดจะอาศัยกระบวนการนามนัยประกอบกับการพิจารณาว่ามโนทัศน์ที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับมโนทัศน์ของรากศัพท์ใดที่มีความเด่นทางปริชานมากที่สุด หน่วยสร้างการีตกลุ่มคำในภาษาสเปนมีกริยาการีตหลายคำ คือ hacer 'made', dejar 'let', obligar 'oblige', poner 'put' และ forzar 'force' กริยาการีต hacer และ poner มีส่วนเติมเต็ม 2 ประเภท คือ ส่วนเติมเต็มที่ประกอบด้วยกริยา และส่วนเติมที่ไม่ใช่กริยา ส่วนเติมเต็มที่ไม่ใช่กริยาจะแสดงสถานการณ์การีตที่เหตุการณ์ผลเป็นสภาพ แต่ส่วนเติมเต็มที่ประกอบด้วยกริยาจะแสดงสถานการณ์การีตที่เหตุการณ์ผลเป็นการกระทำหรือสภาพก็ได้ กริยาการีต dejar, obligar และ forzar จะปรากฏกับส่วนเติมเต็มที่ประกอบด้วยกริยาเท่านั้น ส่วนเติมเต็มที่ประกอบด้วยกริยามี 2 โครงสร้าง คือ ส่วนเติมเต็มรูปกิริยากลาง และส่วนเติมเต็มสมมุติมาลา ส่วนเติมเต็มรูปกริยากลางเป็นรูปที่นิยมใช้มากกว่า แต่หากอนุพากย์ส่วนเติมเต็มมีส่วนประกอบมาก โครงสร้างสมมุติมาลาก็จะมีแนวโน้มที่จะถูกเลือกใช้มากขึ้น ผู้วิจัยเสนอว่าปัจจัยเรื่องความหนักและความประหยัดเป็นหลักการที่มีผลต่อการเลือกใช้รูปภาษาทั้งสองแบบ นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่องความเป็นสิ่งมีชีวิตของผู้รับและการหลีกเลี่ยงความกำกวมของรูปภาษามีผลต่อการแสดงรูปการกของนามวลีที่เป็นผู้รับเหตุ ความแตกต่างระหว่างการีตหน่วยคำและการีตกลุ่มคำในภาษาสเปน คือ การีตหน่วยคำจะแสดงเหตุการณ์ผลที่เป็นสภาพเท่านั้น ในขณะที่การีตกลุ่มคำสามารถแสดงเหตุการณ์ผลได้ทั้งที่เป็นสภาพและการกระทำ ในแง่ความถี่การีตหน่วยคำมีความถี่โดยรวมสูงกว่าการีตกลุ่มคำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาแยกย่อยลงไปเป็นความถี่ของสถานการณ์การีตก็พบว่าสถานการณ์การีตที่พบบ่อยส่วนใหญ่อยู่ในรูปการีตหน่วยคำ ส่วนสถานการณ์การีตที่พบเพียงครั้งเดียวในคลังข้อมูลปรากฏในรูปการีตกลุ่มคำสูงกว่า ผลที่ได้ดังกล่าวสามารถอธิบายได้ด้วยหลักความประหยัดและหลักความโปร่งใสทางหน้าที่
Other Abstract: The objectives of this study are to analyze morphological and analytic causatives in Spanish with regards to their structure, meaning and use and to identify the differences between the two types of causatives. It adopts the cognitive-functional approach. Analyses are based on authentic data both in spoken and written corpora. The findings indicate that Spanish morphological causatives are composed of adjectival or norminal roots and -ar, -ear, -izar, -ificar, -itar, -ecer, -iguar or -rentar suffixes and may be supplemented with a- or en- prefixes. The choice of affixation pattern is lexically determined and unpredictable. The causative meaning of de-adjectival verbs is to cause to become, while the meaning of de-nominal verbs is more diverse i.e. to cause to have, to cause to become or be similar to, to cause to be covered with, and to cause to be in. The causative meaning of a verb is determined by metonymic mapping and salience of the contiguous concept to the concept of the root. Analytic causatives inSpanish involve several causative verbs, namely hacer 'made', dejar 'let', obligar 'oblige', poner 'put', and forzar 'force'. The causative verbs hacer and poner have two types of complements: clausal complement and non-clausal complement. Constructions with non-clausal complement denote causative situations in which the caused event is a state, while constructions with clausal complement express causative situations where the caused event is a state or action. Causative verbs dejar, obligar and forzar only take clausal complements. Clausal complements have two constructions: the infinitive construction nd the subjunctive construction. The infinitive construction is generally preferred. However, when the complement clause contains several components, the subjunctive construction tends to be preferable. The heaviness effect and the principle of economy of effort are claimed to determine the choice between the two constructions. In addition, animacy of the causee and ambiguity avoidance are found to affect case-marking of the NP denoting the causee. The differences between morphological and analytic causatives are: morphological causatives only denote situations in which the caused event is a state, whereas analytic causatives are used to express events in which the caused event is either a state or an action. Morphological causatives have significant higher frequency of occurrence than analytic causatives. Causative events which occur most frequently are realized as morphological causatives. Causative events which are found only once in the corpora appear in analytic causative constructions. Such results can be explained by the principle of economy of effort and the Principle of Functional Transparency.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6806
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1454
ISBN: 9741734948
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1454
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nunghathai.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.