Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68342
Title: Development of anioniic chitosan derivative as water soluble emulsiifier
Other Titles: การพัฒนาอนุพันธ์ไคโตซานแอนไอออนในการเป็นตัวทำอิมัลชันที่ละลายน้ำได้
Authors: Suchada Chongprakobkit
Advisors: Wanpen Tachaboonyakiat
Suwabun Chirachanchai
Rawiwan Maniratanachote
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This research was dividing into two parts. Part 1, the emulsifying capability of sodium chitosan phosphate (PCTS) as anionic polymer was studied. In the prelimainary study, the Hydrophilic-Lipophilic Balance (HLB) and Critical Micelle Concentration (CMC) of sodium chitosan phosphate were determined and found those values around 19 and 0.13%w/v, respectively. These values indicated that PCTS was suitable for production oil-in-water emulsion. Then, the stability of emulsions was investigated. The results showed that emulsion using PCTS with degree of substitution (DS) around 0.04 at concentration of 1-3%w/v exhibited stable emulsion. Furthermore, the influence of ionic levels to emulsion stability was determined and found that emulsion using PCTS with high DS around 0.62 at concentration 4%w/v showed stable emulsion over wide range of pH. Part 2, the systematic conditions (pH, ionic strength, temperature) were set to investigate the physical mechanism which explained the destabilization phenomena of the stable emulsion emulsifying with 1%w/v PCTS and different ionic levels. The emulsion using PCTS with DS 0.04 (coding E85/0.1) exhibited positive surface charges, whilst that of using PCTS with DS 0.25 and 0.62 (coding E85/1 and E85/2) exhibited negative surface charges. Those emulsions showed isoelectric points (pI) which shifted to lower pH as increasing DS. E85/0.1 gradually increased its droplets size above pI, whereas E85/1 and E85/2 maintained constant in their size, except agglomerate below pI. With increasing electrolyte concentrations in the range of 0.1-4 mM or 0.1-1 mM, the droplet size for those E85/0.1, E85/1 and E85/2 maintained constant without considering the surface charges. With increasing electrolyte concentrations more than or equal 6 mM for E85/0.1 and 2 mM for E85/1, E85/2, may cause to compress the electric double layer in a consequence of agglomeration. The surface mean diameter of E85/0.1, E85/1, and E85/2 increased abruptly around 50℃ due to the water dehydration around PCTS molecule inducing more hydrophobic surface. The individual droplets became closer with hydrophobic interaction, resulting in agglomeration.
Other Abstract: ในงานวิจัยนี้ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ในส่วนแรกทำการศึกษาความสามารถในการเป็นตัวทำอิมัลชันของโซเดียมไคโตซานฟอสเฟตซึ่งมีลักษณะเป็นแอนไอออนิกพอลิเมอร์ โดยหาค่าพื้นฐานสำหรับตัวกระทำอิมัลชันได้แก่ ค่าสมดุลของหมู่ที่ชอบน้ำกับหมู่ที่ชอบน้ำมันและความเข้มข้นวิกฤตที่ทำให้เกิดไมเซลล์ จากการทดลองพบว่ามีค่าเท่ากับ 19 และ 0.13 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักโดยปริมาตร ตามลำดับ ซึ่งค่าเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าโซเดียมไคโตซานฟอสเฟตมีลักษณะที่เหมาะสมในการเป็นตัวทำอิมัลชันสำหรับระบบน้ำมันในน้ำ จากนั้นศึกษาความเสถียรของอิมัลชันจากการทดลองพบว่าอิมัลชันที่ใช้โซเดียมไคโตซานฟอสเฟตที่มีระดับการแทนที่ของหมู่ฟอสเฟตประมาณ 0.04 ที่ความเข้มข้น 1 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักโดยปริมาตรแสดงอิมัลชันที่มีความเสถียรดี นอกจากนี้เมื่อทำการศึกษาผลของระดับไอออนที่มีต่อความเสถียรของอิมัลชันพบว่าอิมัลชันที่ใช้โซเดียมไคโตซานฟอสเฟตที่มีระดับการแทนที่ของหมู่ฟอสเฟตสูงหรือประมาณ 0.62 ที่ความเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักโดยปริมาตรแสดงอิมัลชันที่มีความเสถียรดีในช่วงความเป็นกรด-เบสที่กว้าง ในส่วนที่สองของงานวิจัยนี้ได้กำหนดภาวะที่มีความเป็นกรด-ด่าง, ความเข้มข้นของไอออนและอุณหภูมิต่างๆ เพื่อใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่ทำลายเสถียรภาพของอิมัลชันที่มีความเสถียรซึ่งใช้โซเดียมไคโตซานฟอสเฟตที่ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักโดยปริมาตรและมีระดับของไอออนิกที่แตกต่างกันเป็นตัวทำอิมัลชัน จากการทดลองพบว่าอิมัลชันที่ใช้ โซเดียมไคโตซานฟอสเฟตที่มีระดับการแทนที่ของหมู่ฟอสเฟตประมาณ 0.04 (ใช้ตัวย่อว่า E85/0.1) แสดงประจุที่พื้นผิวเป็นบวก ในขณะที่โซเดียมไคโตซานฟอสเฟตที่มีระดับการแทนที่ของหมู่ฟอสเฟตประมาณ 0.25 และ 0.62 (ใช้ตัวย่อว่า E85/1 และ E85/2 ตามลำดับ) แสดงประจุที่พื้นผิวเป็นลบ ซึ่งอิมัลชันเหล่านี้แสดงค่าจุดไอโซอิเลคทริคที่มีแนวโน้มลดลงเมื่อระดับการแทนที่ของหมู่ฟอสเฟตเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่าขนาดอนุภาคของ E85/0.1 มีลักษณะเพิ่มสูงขึ้นทีละน้อยเมื่อความเป็นกรด-ด่างในระบบมากกว่าจุดไอโซอิเลคทริค ในขณะที่ E85/1 และ E85/2 ยังคงอนุภาคที่มีขนาดเท่าเดิมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด-ด่างของระบบแต่จะจับรวมกันเป็นกลุ่มก้อนที่ความเป็นกรด-ด่างของระบบต่ำกว่าจุดไอโซอิเลคทริค เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของอิเลคโทรไลต์ในช่วง 0.1 ถึง 4 มิลลิโมลาร์หรือ 0.1 ถึง 1 มิลลิโมลาร์ พบว่าขนาดอนุภาคของ E85/0.1 E85/1 และ E85/2 ยังคงมีค่าคงที่โดยไม่พิจารณาประจุที่พื้นผิว แต่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของอิเลคโทรไลต์มากกว่าหรือเท่ากับ 6 มิลลิโมลาร์สำหรับ E85/0.1 และ 2 มิลลิโมลาร์สำหรับ E85/1 และ E85/2 พบว่าอนุภาคอิมัลชันเกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการบีบอัดของไอออนที่ล้อมรอบอนุภาค เมื่อศึกษาภาวะของระบบอิมัลชันที่อุณหภูมิต่างๆเพื่อใช้อธิบายปรากฎการณ์ที่ทำลายเสถียรภาพของอิมัลชันพบว่า ขนาดอนุภาคของ E85/0.1 E85/1 และ E85/2 มีขนาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่ออุณหูมิของระบบประมาณ 50 องศาเซลเซียส เนื่องจากเกิดปฏิกิริยากำจัดน้ำรอบโมเลกุลของโซเดียมไคโตซานฟอสเฟตซึ่งทำให้พื้นผิวของอนุภาคมีความเป็นไฮโดรโฟบิกเพิ่มขึ้น และแต่ละอนุภาคสามารถเข้ามาใกล้กันได้มากขึ้นด้วยแรงกระทำของไฮโดรโฟบิก ส่งผลให้เกิดการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนของอนุภาคในที่สุด
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2010
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68342
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada_ch_front_p.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_ch_ch1_p.pdf691.24 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_ch_ch2_p.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_ch_ch3_p.pdf861.65 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_ch_ch4_p.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_ch_ch5_p.pdf654.71 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_ch_back_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.