Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68504
Title: | Formulation of Niosomes containing Phyllanthus Emblica extract with whitening and free radical scavenging activites |
Other Titles: | การพัฒนาสูตรตำรับนิโอโซมที่บรรจุสารสกัดมะขามป้อมซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ผิวขาวและต้านอนุมูลอิสระ |
Authors: | Saowalak Leartamonstiean |
Advisors: | Suchada Chutimaworapan |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences |
Subjects: | Phyllanthus Emblica Antioxidants สารต้านอนุมูลอิสระ มะขามป้อม -- สารสกัด |
Issue Date: | 2010 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The purposes of this study were to investigate anti-free radical and whitening activities of Phyllanthus emblica extract, to formulate and characterize niosomes containing emblica extract prepared by reverse phase evaporation method. Effect of surfactant type and surfactant : cholesterol ratio on the preparation and physicochemical properties of niosomes was studied. The emblica extract was prepared as lyophilized powder. The DPPH scavenging activity of emblica extract, which contained the main constituent namely gallic acid, with the IC₅₀ of 1.38±0.01μg/ml , was higher than ascorbic acid, whereas the standard gallic acid had the greatest activity. Embica extract exhibited lower antityrosinase activity than kojic acid, but much higher than alpha arbutin, with IC₅₀ of 0.97±0.06 mg/ml. Consequently, niosomes loaded with 0.5% weight by volume emblica extract could be prepared by reverse phase evaporation technique. Niosomes could be achieved by nine formulations using Span 20, Span 40, Span 60 and Span 80 with varied surfactant: cholesterol ratios of 1:1, 6:4, 7:3 and with Solulan C-24 as stabilizer. Vesicular size of all formulations determined by photon correlation spectroscopy technique were between 215- 306 nanometers. The size obtained from Span 20 (HLB 8.6) with shortest alkyl chain (C12), was larger than from Span 40 (HLB 6.7, C16) and Span 60 (HLB 4.7, C18). The formulation comprised of Span 20: cholesterol : Solulan C-24 of 57:38:5 by mole, showed the highest entrapment efficiency of gallic acid as 49.29±4.60 %, mean size of 273±7.9 nanometers and polydispersity index of 0.333±0.061. Vesicular size showed a little larger mean sizes at both 4°C and 30°C at 12 weeks, except the formulation with Span 80 showed phase separation after storage. The percentage content of gallic acid in niosomes decreased due to the degradation of gallic acid in a less amount at 4°C than 30°C . The serum formulation with loaded emblica extract niosomes was prepared with 16 % weight by volume of poloxamer 407 as viscosity enhancer. The in vitro permeation using newborn abdominal porcine skin as skin model revealed that niosomes showed higher permeation than its corresponding serum formulation. The niosomes comprised of Span 20: cholesterol : Solulan C-24 of 57:38:5 by mole enhanced the skin permeation as shown by the highest permeability coefficient of 0.0025±0.0009 cm/h, and highest percentage gallic acid deposited in the skin as 2.97±0.59%. |
Other Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและทำให้ผิวขาวของสารสกัดมะขามป้อม พัฒนาสูตรตำรับและประเมินลักษณะของนิโอโซมที่บรรจุสารสกัดมะขามป้อมซึ่งเตรียมโดยวิธีระเหยแบบกลับวัตภาค ได้ศึกษาผลของชนิดสารลดแรงตึงผิว และอัตราส่วนของสารลดแรงตึงผิว:คอเลสเตอรอล ต่อการเตรียมและคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของนิโอโซม สารสกัดมะขามป้อมเตรียมได้ในรูปผงจากการทำแห้งเยือกแข็ง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธีดีพีพีเอชของสารสกัดมะขามป้อมซึ่งมีสารสำคัญคือกรดแกลลิค มีค่าความเข้มข้นที่ฤทธิ์ 50% เท่ากับ 1.38±0.01 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีฤทธิ์สูงกว่ากรดแอสคอร์บิค โดยกรดแกลลิคมาตรฐานมีฤทธิ์สูงสุด ส่วนฤทธิ์ต้านไทโรซิเนสนั้น สารสกัดมะขามป้อมมีฤทธิ์ต่ำกว่ากรดโคจิค แต่มีฤทธิ์สูงกว่าแอลฟาแอลบูทิน โดยมีค่าความเข้มข้นที่ฤทธิ์ 50% เท่ากับ0.97±0.06 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร การเตรียมนิโอโซมโดยบรรจุสารสกัดมะขามป้อม 0.5% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร โดยวิธี ระเหยแบบกลับวัตภาค สามารถเตรียมได้จำนวน 9 สูตรตำรับโดยใช้ สแปน 20 สแปน 40 สแปน 60 และสแปน 80 โดยเปลี่ยนอัตราส่วนของสารลดแรงตึงผิว:คอเลสเตอรอล เท่ากับ 1:1, 6:4, 7:3 และใช้โซลูแลนซี-24 เป็นสารเพิ่มความคงตัว ขนาดเวสซิเคิลที่ได้จากทุกสูตรตำรับซึ่งวัดโดยเทคนิคโฟตอนคอร์รีเลชัน สเปกโทรสโกปี มีขนาดระหว่าง 215-306 นาโนเมตร ขนาดนิโอโซมที่ได้จากสูตรตำรับที่ใช้ สแปน 20 (ค่าเอชแอลบี 8.6) ซึ่งมีสายโซ่แอลคิลสั้นที่สุด (12 คาร์บอน) มีขนาดใหญ่กว่าที่เตรียมได้จากสแปน 40 (ค่าเอชแอลบี 6.7, 16 คาร์บอน) สแปน 60 (ค่าเอชแอลบี 4.7, 18 คาร์บอน) สูตรตำรับที่ประกอบด้วย สแปน 20: คอเลสเตอรอล: โซลูแลนซี-24 เท่ากับ 57:38 :5 โดยโมล มีค่าประสิทธิภาพการกักเก็บกรดแกลลิคสูงที่สุด เท่ากับ 49.29±3.73 % มีขนาดอนุภาคเฉลี่ยเท่ากับ 273±7.9 นาโนเมตร และดัชนีพอลิดิสเพิสซิตี เท่ากับ 0.333±0.061 ขนาดเวสซิเคิลมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ขึ้นเล็กน้อยเมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4°ซ และ30°ซ นาน 12 สัปดาห์ ยกเว้นสูตรตำรับที่ใช้สแปน 80 พบว่าเกิดการแยกวัตภาคเมื่อเก็บไว้ ค่าเปอร์เซนต์ปริมาณกรดแกลลิคในสูตรตำรับนิโอโซมที่เก็บที่อุณหภูมิ 4°ซ มีค่าลดลงเนื่องจากการเสื่อมสลายของกรดแกลลิค น้อยกว่าที่ 30°ซ การพัฒนาสูตรตำรับซีรัมซึ่งผสมนิโอโซมที่บรรจุสารสกัดมะขามป้อมเตรียมได้โดยใช้พอล็อกซาเมอร์ 407 เป็นสารเพิ่มความหนืด ในปริมาณ 16 % โดยน้ำหนักต่อปริมาตร การศึกษาการซึมผ่านผิวหนังแบบนอกกายใช้ผิวหนังหน้าท้องของสุกรแรกเกิดเป็นผิวหนังโมเดล พบว่านิโอโซมสามารถเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังได้สูงกว่าสูตรตำรับเดียวกันในรูปซีรัม พบว่า นิโอโซม ที่ประกอบด้วย สแปน 20: คอเลสเตอรอล: โซลูแลนซี-24 เท่ากับ 57:38 :5 โดยโมล เพิ่มการซึมผ่านผิวหนัง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน เท่ากับ 0.0025±0.0009 ซม/ ชั่วโมงและมีปริมาณเปอร์เซนต์กรดแกลลิคที่สะสมในผิวหนังเท่ากับ 2.97±0.59 % |
Description: | Thesis (M.Sc. in Pharm)--Chulalongkorn University, 2010 |
Degree Name: | Master of Science in Pharmacy |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Pharmaceutics |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68504 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saowaluk_Leartamonstiean_p.pdf | 7.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.