Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68584
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิรัตน์ เพ็ชรศิริ-
dc.contributor.authorวทัญญู เขมะจารีย์กุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-10-15T06:38:34Z-
dc.date.available2020-10-15T06:38:34Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743342427-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68584-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อทราบถึงอุปสรรคหรือข้อจำกัดทางกฎหมายที่ก่อให้เกิดปัญหาการดำเนินคดีผู้ทุจริตในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และเพื่อทราบว่าอุปสรรคหรือข้อจำกัดทางกฎหมายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการป้องกันและปราบปรามผู้ทุจริตในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ อย่างไร ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนวิธีพิจารณา ยังไม่เอื้ออำนวยให้การดำเนินคดีผู้ทุจริตในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล กล่าวคือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานชั้นก่อนฟ้อง แบ่งแยกกระบวนการดำเนินคดีชั้นก่อนฟ้องออกจากกัน ไม่เป็นกระบวนการเดียวกัน โดยกระบวนการประกอบไปด้วยขั้นตอนที่แบ่งแยกออกจากกันตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งได้แก่ การสืบสวนของเจ้าพนักงานสรรพากรที่เรียกว่าการตรวจสอบไต่สวนและการพิจารณาดำเนินคดีอาญาชั้นสรรพากร แล้วต่อด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานสอบสวน และการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ การรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานที่ต้องผ่านหน่วยงานหลายหน่วยงาน ทั้งของเจ้าพนักงานสรรพากรและพนักงานสอบสวนกว่าจะถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการฟ้องร้องคดีอาญา คืออัยการนั้น ย่อมทำให้เกิดปัญหาความผิดพลาดในการดำเนินคดี และความล่าช้าในการดำเนินคดีมากกว่าการรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานที่เป็นกระบวนการเดียวกัน นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาชั้นพิจารณาคดีในศาล ก็กำหนดหน้าที่น่าสืบแก่โจทก์ โดยอัยการโจทก์จะต้องน่าสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลได้เชื่อจนปราศจากข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิด การพิสูจน์ความผิดตามหลักเกณฑ์ทั่วไปเช่นนี้ ทำให้เกิดปัญหาความยากลำบากในการดำเนินคดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการพิสูจน์เจตนาในการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้เพราะผู้ทุจริตที่ร่วมกันกระทำความผิด จะพยายามไม่สร้างพยานหลักฐานผูกมัดตัวเองว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตั้งแต่แรก โดยที่ปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการป้องกันและปราบปรามผู้ทุจริตในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากไม่อาจดำเนินคดีเพื่อลงโทษผู้ทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล งานวิจัยนี้จึงเสนอว่า ควรปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนวิธีพิจารณาให้มีลักษณะพิเศษโดยควรให้กระบวนการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานชั้นก่อนฟ้อง เป็นกระบวนการเดียวกัน และควรกำหนดให้หน้าที่น่าสืบตกแก่จำเลย ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการดำเนินคดีทั้งในชั้นสรรพากร สอบสวน ฟ้องร้อง และการพิจารณาคดีในศาลกับผู้ทุจริต มีความรวดเร็ว เหมาะสม และได้ผลดีในการป้องกันและปราบปรามผู้ทุจริตนั้นต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed at exploring the legal limitations or legal obstacles in the prosecution of VAT fraud cases and the impact on the prevention and suppression of VAT fraud. The findings reveal that the law regarding criminal procedure does not lead to successful in and efficient VAT fraud case prosecution due to two reasons. First of all, the prosecution procedure in bringing and action involves of three separate steps the investigation and criminal prosecution by revenue officials, the criminal prosecution by investigation officials, and the criminal proceeding by public prosecutors. On account of these pre-court procedures, the evidence is transferred from revenue officials to investigation officials before it is submitted to public prosecutors, all of which can cause mistakes in prosecution or result in prolonging the case. On the other hand, if all steps were to be integrated, it would minimize error and take less time. The second reason is the law concerning court procedures require that the burden of proof be on plaintiff so the plaintiff’s legal representative must be able to prove in court that the defendants are guilty beyond a reasonable doubt. Based on this general principle of law, verification is difficult especially in the prosecution of VAT fraud intent because wrongdoers tend to avoid giving evidence that has a biding effect regarding themselves. Since both the procedures and the principles mentioned above have a negative impact on VAT fraud prevention and suppression, the law concerning criminal procedure should take this into account. As a result, the prosecution procedure should be a unified one and the burden of proof should be on defendant instead. With these suggested changes, the whole process would tend to be shorter and more efficient. Furthermore, VAT fraud prevention and suppression would then be more effective.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟ้องคดีอาญาen_US
dc.subjectภาษีมูลค่าเพิ่มen_US
dc.subjectการหนีภาษีen_US
dc.subjectProsecution-
dc.subjectValue-added tax-
dc.subjectTax evasion-
dc.titleข้อจำกัดทางกฎหมายในการดำเนินคดีผู้ทุจริต ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มen_US
dc.title.alternativeLegal obstacles to the prosecution of vat fraud casesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorApirat.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vatanyoo_kh_front_p.pdf900.78 kBAdobe PDFView/Open
Vatanyoo_kh_ch1_p.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Vatanyoo_kh_ch2_p.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Vatanyoo_kh_ch3_p.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Vatanyoo_kh_ch4_p.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Vatanyoo_kh_ch5_p.pdf968.12 kBAdobe PDFView/Open
Vatanyoo_kh_back_p.pdf897.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.