Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68637
Title: การออกแบบระบบการนำน้ำกรดทิ้งกลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมรีดเหล็ก
Other Titles: System design of acid recycle in the metal wire industry
Authors: ประไพรัตน์ เอนกนันท์
Advisors: อุรา ปานเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: น้ำกรด
การกำจัดของเสีย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยจัดของเสีย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
น้ำเสีย -- การนำกลับมาใช้ใหม่
โลหะ -- การกำจัดสนิม -- การกำจัดของเสีย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบระบบการนำน้ำกรดทิ้งกลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมรีดเหล็กนี้ ได้ออกแบบเป็นกระบวนการแบบต่อเนื่อง (Continuous process) โดยนำหน่วยแลกเปลี่ยนประจุ (Retardation unit) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ทำการฟื้นฟูคุณภาพน้ำกรดที่ผ่านการใช้งานจากกระบวนการกำจัดสนิมเหล็ก (Spent pickling acid) ให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่แทนที่จะปล่อยเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อทำการบำบัด ซึ่งต้องประเมินความคุ้มค่าของการลงทุน ระยะเวลาคืนทุนของโครงการ การออกแบบระบบดังกล่าว มีหน่วยปฏิบัติการ (Unit operation) ที่ใช้ประกอบด้วยถังปฏิกริยาสำหรับ กระบวนการกำจัดสนิมเหล็ก จำนวน 1 ถัง ถังรวบรวมน้ำกรดทิ้งที่ปล่อยออกจากถังปฏิกริยา จำนวน 1 ถัง นำหน่วย แลกเปลี่ยนประจุ ( Retardation unit ) เข้าทำการติดตั้งเพื่อรับน้ำกรดจากถังรวบรวมมาทำการฟื้นฟูคุณภาพให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ น้ำกรดในที่ นี้เป็นกรดไฮโดรคลอริค (HCI) เมื่อผ่านการฟื้นฟูคุณภาพแล้วจะนำเข้าถังเตรียมน้ำกรดเพื่อผสมรวมกับ 35% HCI ให้ได้ความเข้มข้น 15% HCI แล้วนำกลับไปใช้ได้ทันทีในกระบวนการกำจัดสนิมเหล็กต่อไป ในการออกแบบนี้ จะใช้ความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริค 15% ในการกำจัดสนิมเหล็ก เมื่อผ่านการใช้งาน แล้วจะมีปริมาณความเข้มข้นเกลือของเหล็กสูงไม่สามารถใช้งานได้ต่อไป จึงนำเข้าหน่วยแลกเปลี่ยนประจุเพื่อฟื้นฟู คุณภาพกรดไฮโดรคลอริค ซึ่งระบบแลกเปลี่ยนประจุสามารถฟื้นฟูคุณภาพน้ำกรดได้ถึง 88.83% และสามารถกำจัดเหล็กได้ 41.89% จากการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุน พบว่าผู้ประกอบการสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีได้ถึง 1,536,450 บาทต่อปี และเมื่อนำระบบดังกล่าวมาใช้สามารถใช้เวลาคืนทุนภายใน 3 ปี การออกแบบระบบการนำน้ำกรดทิ้งกลับมาใช้งานใหม่ด้วยกระบวนการแบบต่อเนื่องดังกล่าว เป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในอุตสาหกรรมรีดเหล็กประเภทเดียวกัน เนื่องจากมีความคล่องตัวและสะดวกรวดเร็วต่อกระบวนการผลิต และจากการนำหน่วยแลกเปลี่ยนประจุมาใช้ในการฟื้นฟูคุณภาพน้ำกรดที่ผ่านการใช้งานแล้ว สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ ผู้ประกอบการสามารถการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก ตลอดจนเป็นการลดผลกระทบที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์โดยรวมของประเทศเป็นอย่างยิ่ง
Other Abstract: The waste acid recycling system has been design using the continuous process by installing the Ion exchanger unit (retardation unit) was performed to investigate its performance on free acid recovery in spent pickling acid solution. The pickling acid solution circulates continuously between the pickling bath and the regeneration plant. The financial profitability can be analyzed by calculating the amortization of the capital investment. To design this system, the unit operation, consist of 1 the pickling bath, 1 unit of waste storage tank to hold waste acid drainage from reactor tank, and 1 unit of ion exchanger unit. Part of the pickling solution is pumped from storage tank into the retardation unit which recoveries free acid and removes the metal salt. The free acid is pumped through into preparation tank to mixing with 35% HCL then can be reuse in pickling process. The system has been designed using 15% hydrochloric acid to remove the oxides and rust. The iron salt concentration increases, while the concentration of free acid decreases. This means, that the pickling effect will be reduced continuously until the concentration of dissolved metals reaches a ‘critical value’ at which the pickling solution has to be renewed. The pickling solution fed into retardation unit to recovery acid, the retardation unit can recover acid at 88.83% and can remove Fe+2 from 41.89% while flow rate and concentration of pickling solution has no effect to capability of recycling acid and eliminate of rust. Economic evaluation value of this process found that the owner can save a lot of cost up to 1,536,450 Bath/year and the payback period for this technology is 3 years. The design to recycling waste acid using continuous process above has been proved that appropriate to use in the each metal finishing industry using retardation unit to recovery of free acid. This system can save cost for the loss of free acid and equivalent demand of sodium hydroxide for neutralization, decreasing salt effluent into watercourse and also reduce impact the environment which lead to an economic value for society.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68637
ISBN: 9743317287
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapairat_an_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.02 MBAdobe PDFView/Open
Prapairat_an_ch1_p.pdfบทที่ 1676.55 kBAdobe PDFView/Open
Prapairat_an_ch2_p.pdfบทที่ 2809.16 kBAdobe PDFView/Open
Prapairat_an_ch3_p.pdfบทที่ 31.68 MBAdobe PDFView/Open
Prapairat_an_ch4_p.pdfบทที่ 41.4 MBAdobe PDFView/Open
Prapairat_an_ch5_p.pdfบทที่ 5853.19 kBAdobe PDFView/Open
Prapairat_an_ch6_p.pdfบทที่ 6693.73 kBAdobe PDFView/Open
Prapairat_an_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.