Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68647
Title: | การเพิ่มความแข็งของทองคำ 18 กะรัต โดยการทำให้เกิดโครงสร้างที่เป็นระเบียบ |
Other Titles: | Hardening of 18 carat gold by ordered hardening |
Authors: | วินัย รักษาพันธ์ |
Advisors: | เอกสิทธิ์ นิสารัตนพร ฉัตรชัย สมคิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ekasit.N@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ทอง Gold Precipitation hardening |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของกรรมวิธีทางความร้อนซึ่งได้แก่ การอบเป็นสารละลายของแข็งเนื้อเดียว และการบ่มเพิ่มความแข็ง ของโลหะทองคำผสม 18 กะรัต (75 wt % Au) ระบบ ทองคำ - ทองแดง - เงิน ที่มปริมาณทองแดงตั้งแต่ 5 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ต่อค่าความแข็ง โครงสร้างจุลภาค และการเกิดโครงสร้างที่เป็นระเบียบ ของชิ้นงานที่ผ่านการขึ้นรูปเย็นโดยการรีดลดขนาดเป็นแผ่นบางให้มีความหนาลดลง 90 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองพบว่า หลังจากบ่มเพิ่มความแข็ง ชิ้นงานที่มปริมาณทองแดง 10 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก มีความแข็งเพิ่มขึ้นจากกลไกการเพิ่มความแข็งโดยการทำให้เกิดโครงสร้างที่เป็นระเบียบ ซึ่งมีอุณหภูมิบ่มที่ได้ความแข็งสูงที่สุดคือ 270 องศาเซลเซียส เมื่อปริมาณทองแดงในชิ้นงานเพิ่มขึ้นทำให้ความแข็ง หลังบ่มมีค่าสูงขึ้น โดยความแข็งหลังบ่มที่สูงที่สุดของชิ้นงานที่มีปริมาณทองแดง 10 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก มีค่า 237 283 และ 306 วิคเกอร์ เพิ่มขึ้นจากความแข็งหลังอบเป็นสารละลายของแข็งเนื้อเดียว 92 123 และ 129 วิคเกอร์ ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่า การเพิ่มขึ้นของปริมาณทองแดงในชิ้นงาน ทำให้อัตราการเพิ่มความแข็งจากการบ่มมีค่าสูงขึ้น จึงทำให้เวลาในการบ่มที่ได้ความแข็งสูงที่สุดมีค่าลดลง กล่าวคือมีค่า 100 60 และ 30 นาที สำหรับชิ้นงานที่มีปริมาณทองแดง 10 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่วนกรณีชิ้นงานที่มีปริมาณทองแดง 5 wt.% ไม่พบโครงสร้างที่เป็นระเบียบ ความแข็งหลังบ่มเพิ่มความแข็งมีค่าสูงที่สุดที่อุณหภูมิบ่ม 150 องศาเซลเซียส หลังจากบ่นนาน 30 นาที โดยมีค่า 137 วิคเกอร์ เพิ่มขึ้นจากความแข็งหลังอบ 22 วิคเกอร์ The effect of solution treatment and aging on microstructure, ordered structure formation and hardness of 18 carat gold (75 wt % Au) were investigated. The specimens, gold-copper- silver alloy contained 5 - 20 wt % copper, were cold rolled with the thickness reduction ratio of 90 %. The experimental result indicated that the samples with 10, 15 and 20 wt.% copper were hardened by order hardening mechanism after aging treatment. The optimum aging temperature for maximum hardness was 270° c. An increase in copper content increased the as-aged hardness i.e. the maximum as-aged hardness values of the samples contained 10, 15 and 20 wt% copper were 273, 283 and 306 Vicker, an increase of 92, 123 and 129 Vicker, respectively when compared to the as-solution treated. Furthermore, the increase in copper content also increased the hardening rate, hence the time required to produce maximum hardness were reduced to 100, 60 and 30 minutes for the samples contained 10, 15 and 20 wt.% copper, respectively. In case of the sample contained 5 wt.% copper, ordered structure was not substantiated. The maximum hardness of 137 Vicker, an increase of 22 Vicker from the as-solution treated hardness, was obtained by aging treatment at 150°c for 30 minutes |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโลหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68647 |
ISBN: | 9743339795 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Winai_ra_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Winai_ra_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 697.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
Winai_ra_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Winai_ra_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 926.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
Winai_ra_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 6.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Winai_ra_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 625.97 kB | Adobe PDF | View/Open |
Winai_ra_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.