Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68660
Title: การจำลองพฤติกรรมทางชลศาสตร์ของทางระบายน้ำล้น ที่มีสันฝายในแนวไม่ตรง
Other Titles: Modelling of hydraulic behavior of spillway with nonlinear crests
Authors: พิเชษฐ รัตนปราสาทกุล
Advisors: สุจริต คูณธนกุลวงศ์
จักรี จัตุฑะศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sucharit.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แบบจำลองทางชลศาสตร์
ทางระบายน้ำล้น
Hydraulic models
Spillway
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอ การศึกษาพฤติกรรมการไหลของทางระบายน้ำล้นที่มีสันฝายในแนวไม่ตรงจาก แบบจำลองย่อส่วนของโครงการด้วยมาตราส่วน 1:50 แบ่งการศึกษา 3 ส่วนคือ การไหลในอ่างรับน้ำด้านบนที่มีสันฝายในแนวไม่ตรง ทางลาดระบายน้ำและอาคารสลายพลังงาน ผลการศึกษาสรุปได้ว่าในอัตราการไหลต่ำกว่า 21.02 ลิตร/วินาที อ่างรับน้ำด้านบนทางลาดระบายน้ำ และอาคารสลายพลังงาน สามารถรับน้ำที่ระบายลงและสลายพลังงานได้ร้อยละ 80-90 แต่เมื่ออัตราการไหลมากกว่า 21.02 ลิตร/วินาที(0.52Qmax) ความลึกการไหลในอ่างเก็บน้ำด้านบนสูงขึ้นทำให้เกิดเกิดปรากฏการณ์ submerge ส่งผลให้ความลึกการไหลที่หน้าตัดควบคุมมากกว่าความลึกวิกฤต (critical depth) ระดับน้ำสั่นขึ้นลง และทำให้การไหลในทางลาดระบายน้ำ 1 บางส่วนเปลี่ยนเป็นการไหลแบบ subcritical แต่ในทางลาดระบายน้ำ 2 ยังคงการไหลแบบ supercritical ทุกอัตราการไหลเนื่องจากมีความลาดชันมาก ในส่วนอาคารสลายพลังงาน น้ำกระโดดเกิดนอกอาคารสลายพลังงาน และเกิดปรากฏการณ์ sweep-out คือน้ำชนส่วนท้ายอาคารสลายพลังงาน ด้วยความเร็วสูง พุ่งออกนอกอาคารสลายพลังงาน ทำให้เกิดการกัดเซาะด้านท้ายน้ำอาคารสลายพลังงานสามารถสลายพลังงานลดลงเหลือร้อยละ 50-60 โดยสรุปแล้วแบบจำลองที่สร้างขึ้นมีความลาดชันและความกว้างของอ่าง รับน้ำด้านบนไม่เพียงพอ และระดับน้ำท้ายน้ำของอาคารสลายพลังงานมีระดับไม่เพียงพอทำให้เกิดปรากฏการณ์ sweep-out ขึ้น การศึกษาได้เสนอให้ปรับปรุงเป็น 2 กรณีคือ ปรับปรุงด้านเหนือน้ำ และปรับปรุงด้านท้ายน้ำ การปรับปรุงด้านเหนือน้ำคือปรับปรุงความลาด และความกว้างทางระบายออกของอาคารรับน้ำด้านบน เกณฑ์การกำหนด ค่าความลาดและความกว้างของอ่างรับน้ำด้านบนคือ ความลาดควรมากกว่าความลาดชันวิกฤต ความกว้างทางช่องระบายออกต้องได้ค่ามากกว่า 0.25-0.35 เท่าของความยาวสันฝาย การปรับปรุงด้านท้ายน้ำ โดยทำให้ยกระดับท้ายน้ำให้สูงขึ้นจะสามารถแก้ปัญหา sweep-out ได้ น้ำกระโดดเกิดภายในอาคารสลายพลังงาน ความสูง ท้องคลองด้านท้ายน้ำควรอยู่ที่ 0.30 - 0.40 เท่าของความสูงน้ำกระโดดที่อัตราการไหลสูงสุด (Qmax) เมื่อทำการ ยกระดับท้องคลองด้านท้ายน้ำการสลายพลังงานในอาคารสลายพลังงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90
Other Abstract: The study was done to investigate the flow behaviors of spillway with nonlinear crest from physical model with scale 1:50. The study considered the flow separately into three parts: i.e., upstream intake, Chute and stilling basin. From the experiments when discharge is less than 21.02 l/s the designed upstream intake, chute and stilling basin can drain the flow adequately with energy dissipation of 80-90%. But when discharge is more than 21.02 l/s (0.52Qmax), the depth at control section increases more than the critical depth which induced the submerge flow and water depth flow fluctuation in upstream intake and partly subcritical flow in chute 1 flow. In chute 2 is always supercritical because of steeper slope. In the stilling basin, hydraulic jump occur out of the stilling basin i.e., sweep-out phenomenon and cause scouring at downstream. The energy dissipation reduced to be only 50-60% in the stilling basin. As concluding the designed upstream intake has inadequate slope and channel width and the tail water of dissipation basin is too low. The improvement scheme are proposed for both upstream and downstream parts to counter the sweep-out the flow. As the results, the slope of upstream basin should be more than critical slope and the width of drainage channel of upstream intake should more than 25-35% of overflow length. While the level of downstream stilling basin should be more than 30-40% of maximum jump depth which can dissipate energy up to 90%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมแหล่งน้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68660
ISSN: 9743312447
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phichet_ra_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ610.61 kBAdobe PDFView/Open
Phichet_ra_ch1.pdfบทที่ 11.83 MBAdobe PDFView/Open
Phichet_ra_ch2.pdfบทที่ 22.13 MBAdobe PDFView/Open
Phichet_ra_ch3.pdfบทที่ 33.18 MBAdobe PDFView/Open
Phichet_ra_ch4.pdfบทที่ 43.88 MBAdobe PDFView/Open
Phichet_ra_ch5.pdfบทที่ 5195.35 kBAdobe PDFView/Open
Phichet_ra_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก18.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.