Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68759
Title: การป่วยด้วยโรคนำบางโรคในผู้สูงอายุไทย
Other Titles: Selected major illnesses among Thai elderly
Authors: นิรมล อิทธิสกุลชัย
Advisors: นภาพร ชโยวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Napaporn.C@Chula.ac.th
Subjects: ปวดหลัง
ปวดเอว
ข้อ -- โรค
ผู้สูงอายุ -- ไทย
ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาว่าปัจจัยต่าง ๆ ทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งนวดล้อม และพฤติกรรมของบุคคลเกี่ยวข้องกับจำนวนโรค การเป็นโรคปวดหลัง/เอว และการเป็นโรคไขข้ออักเสบอย่างไร โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะผู้สูงอายุไทยปี พ.ศ. 2538 ตัวอย่างที่ศึกษา คือ ประชากรอายุ 60 ปีและมากกว่า จำนวน 4,486 ราย ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุไทยมีจำนวนโรคโดยเฉลี่ยที่เป็นประมาณ คนละ 2 โรค ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับจำนวนโรคทีเป็นในผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเป็นไปตามสมมติฐาน ได้แก่ เพศ พฤติกรรมการออกกำลังกาย อาชีพที่ทำนานที่สุด ระดับการศึกษา และเขตที่อยู่อาศัย ตามลำดับ โดยพบว่า เพศหญิงมีจำนวนโรคที่เป็นมากกว่าเพศชาย ความถี่ในการออกกำลังกายและระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ทางลบกับจำนวนโรคที่เป็นในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีอาชีพทีทำนานที่สุดในภาคเกษตรมีจำนวนโรคที่เป็นมากกว่าอาชีพนอกภาคเกษตรและไม่ทำงาน ผู้สูงอายุที่ อยู่ในกรุงเทพมหานครและเมือง ๆ มีจำนวนโรคที่เป็นน้อยกว่าในเขตชนบท ตัวแปรที่ทำการศึกษาทั้งหมด 13 ตัวแปรรวม กันสามารถอธิบายความแตกต่างของจำนวนโรคที่เป็นได้ร้อยละ 6 สำหรับโรคปวดหลัง/เอว มีผู้สูงอายุเป็นโรคปวดหลัง/เอวร้อยละ 68.08 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเป็น โรคปวดหลัง/เอวของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเป็นไปตามสมมติฐาน ได้แก่ อาชีพที่ทำนานที่สุดและเขตที่อยู่อาศัย ตามลำดับ โดยพบว่า ผู้สูงอายุที่มีอาชีพที่ทำนานที่สุดในภาคเกษตรมีสัดส่วนผู้ที่เป็นโรคปวดหลัง/เอวสูงกว่า อาชีพนอกภาคเกษตรและไม่ทำงาน และผู้สูงอายุที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและเมืองอื่น ๆ มีสัดส่วนผู้ที่เป็นโรคปวดหลัง/เอวต่ำกว่าในเขตชนบท ตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด 9 ตัวแปรรวมกันสามารถอธิบายความแตกต่างของจำนวนโรคที่เป็นได้ ร้อยละ 5 ส่วนโรคไขข้ออักเสบมีผู้สูงอายุเป็นโรคไขข้ออักเสบประมาณร้อยละ 40 ฐานะทางเศรษฐกิจของ ครัวเรือนเป็นตัวแปรเพียงตัวเดียวที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคไขข้ออักเสบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความสัมพันธ์มีทิศทางไม่เป็นไปตามสมมติฐาน โดยพบว่า ผู้สูงอายุที่มีฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนสูงกว่ามีสัดส่วนเป็น โรคไขข้ออักเสบสูงกว่าผู้สูงอายุที่มีฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนต่ำกว่า สำหรับ เพศ อาชีพ ระดับการศึกษา เขตที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมการออกกำลังกาย มีความแตกต่างของสัดส่วนผู้ที่เป็นโรคไขข้ออักเสบระหว่างกลุ่มแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำตัวแปรที่ทำการศึกษาทั้งหมด 8 ตัวแปรมารวมกันสามารถอธิบายความแตกต่างของการ เป็นโรคไขข้ออักเสบได้เพียงร้อยละไม่ถึง 1
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68759
ISBN: 9746935483
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Niramon_it_front_p.pdf853.75 kBAdobe PDFView/Open
Niramon_it_ch1_p.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Niramon_it_ch2_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Niramon_it_ch3_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Niramon_it_ch4_p.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Niramon_it_ch5_p.pdf777.05 kBAdobe PDFView/Open
Niramon_it_back_p.pdf956.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.