Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68819
Title: คำเรียกสีและการรับรู้สีของผู้พูดภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และ กะเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและพะเยา
Other Titles: Colour terms and colour perception of Tai Lue, Lua, Mong and Karen speakers in Chiangrai and Phayao
Authors: ศตนันต์ เชื้อมหาวัน
Advisors: ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Theraphan.L@Chula.ac.th
Subjects: ชาวเขา -- ภาษา
ภาษากะเหรี่ยง
ภาษาม้ง
ภาษาลื้อ
ภาษาลัวะ
สี
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์คำเรียกสีพื้นฐานและคำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้งและกะเหรี่ยง ตลอดจนการรับรู้สีและทัศนคติที่ผู้พูดภาษาดังกล่าวมีต่อสี ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เก็บจากผู้บอกภาษาซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและพะเยา โดยผู้บอกภาษาเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-45 ปี จำนวนทั้งหมด 40 คน แบ่งออกเป็นภาษาละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์ขณะเก็บข้อมูลคือบัตรสีจำนวน 208 บัตรสี ผลการวิจัยสรุปเนื้อหาสำคัญได้ดังนี้ภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และ กะเหรี่ยงมีจำนวนคำเรียกสีพื้นฐานคือ 12, 5, 6 และ 5 คำ ตามลำดับ อาศัยทฤษฎีสากลและวิวัฒนาการของคำเรียกสี (Berlin and Kay, 1969) อาจกล่าวได้ว่าคำเรียกสีในภาษาทั้ง 4 นี้พัฒนาอยู่ในระยะ (stage) ต่าง ๆ กันของวิวัฒนาการของคำเรียกสีพื้นฐานคือ ระยะที่ 7, 5, 5 และ 4 ตามลำดับ ส่วนการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานนั้น ภาษาที่ศึกษาทั้งหมดมีกลวิธีในการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐาน 3 วิธี คือ 1. การผสมคำเรียกสีเข้าด้วยกัน 2. การผสมคำเรียกสีกับคำขยาย และ 3. การใช้คำเรียกสิ่งของเฉพาะมาเป็นคำเรียกสีไม่พื้นฐาน ภาษาไทลื้อ ลัวะ และ ม้ง มีการใช้กลวิธีที่ 2 ในการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานมากที่สุด แต่ภาษากะเหรี่ยง มีการใช้กลวิธีที่ 1 มากที่สุด และทุกภาษามีการใช้กลวิธีที่ 3 น้อยที่สุด ผลการวิเคราะห์การรับรู้สีและทัศนคติที่มีต่อสีพบว่า ผู้พูดภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และ กะเหรี่ยงมีการรับรู้ใจ กลาง (foci point) ของทุกประเภทสีคล้ายคลึงก็น ส่วนการรับรู้ขอบเขตสี (colour boundary) พบว่าผู้พูดภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยง มีการรับรู้ขอบเขตของประเภทสีเขียวได้ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับขอบเขตสีของประเภทสีอื่น ๆ ส่วนการวิเคราะห์ทัศนคติที่มีต่อสีพบว่า ผู้พูดภาษาเหล่านี้มีทัศนคติบวกต่อสีสดและสีเข้ม และมีทัศนคติลบต่อสีตุ่นและ สีอ่อน
Other Abstract: The purposes of this thesis are to analyze the basic and non - basic colour terms in Tai Lue, Lua, Mong and Karen and to analyze their colour perception and attitude. The data was collected from 40 female informants whose ages are between 30-45 years old. The elicitation of colour terms was done by using 208 colour cards.The research result indicates that these 4 languages have different numbers of basic colour terms. The numbers of basic colour terms in Tai Lue, Lua, Mong and Karen are 12, 5, 6 and 5 respectively. Based on the theory of the Universality and Evolution of basic colour term (Berlin and Kay, 1959), it can be concluded that the basic colour terms in these languages are at different stages in the evolution of basic colour term, i.e., the ones of Tai Lue is at the 7th stage, of Lua and Mong are at the 5th stage, and of Karen is at the 4th stage. In forming non-basic colour terms, three strategies have been found : combining a colour term with another colour term, combining a colour term with an adjective as a modifier and using the names of specific objects as colour terms. In Tai Lue, Lua and Mong, non-basic colour terms are mostly formed by the second strategy except in Karen where the first strategy is mostly used. The third strategy is not popular. Regarding colour perception and attitude to colours, there is no significant difference among the Tai Lue, Lua, Mong and Karen speakers in perceiving the foci point of every colour catagory. In comparison with the other colours, green seems to be very well perceived. These ethnic groups have a positive attitude towards vivid and bright colour and have a negative attitude towards light and subtle colour.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68819
ISBN: 9746396277
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Satanan_ch_front_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Satanan_ch_ch1_p.pdf941.93 kBAdobe PDFView/Open
Satanan_ch_ch2_p.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Satanan_ch_ch3_p.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Satanan_ch_ch4_p.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Satanan_ch_ch5_p.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Satanan_ch_ch6_p.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Satanan_ch_back_p.pdf795.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.