Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68825
Title: ความสามารถในการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย
Other Titles: Export performance of the Thai textile industry
Authors: ธนพ ปัญญาพัฒนากุล
Advisors: สมเกียรติ โอสถสภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อุตสาหกรรมสิ่งทอ -- ไทย
การส่งออก
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากอดีตที่ผ่านมาการค้าระหว่างประเทศเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รองประเทศไทย โดยสินค้าอุตสาหกรรมมีความสำคัญในการส่งออกเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด และสินค้าอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วน ในการส่งออกสูงคือสินค้าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม แต่ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาการส่งออกของประเทศไทยลดลง และหมายถึงการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มกำลังประสบปัญหาการส่งออกตกต่ำเช่นกันซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม ในการศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาความสามารถในการส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ประเภท เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทำจากผ้าทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทำจากผ้ายืด และผ้าผืน เนื่องจากเป็นสินค้าอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงที่สุด โดยจะทำการศึกษาความสามารถในการส่งออกของสินค้าเหล่านี้ของประเทศไทยในตลาดสหรัฐฯ และตลาดสหภาพยุโรป ในช่วงปี 1992-1997 และผลที่ได้จากการศึกษาพบว่าโดยรวมความสามารถในการส่งออกของสินค้าเหล่านี้ลดลง สาเหตุประการหนึ่งเป็นเพราะมีการแข่งขันจากประเทศที่มีการพัฒนาต่ำซึ่งมีแนวโน้มที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำนอกจากนั้นสินค้าจากประเทศไทยยังได้รับผลกระทบจากมาตรการทางการค้าคือ ความตกลง MFA และผลจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจทั้งเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพยุโรป รวมทั้งยังมีปัญหาจากภายใน ทั้งทางด้านการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน และระเบียบวิธีราชการที่มีความล่าช้า ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาที่สามารถทำได้คือการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน โดยต้องมีการปรับตัวทางด้านการ ผลิตเช่น การปรับลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การปรับตัวทางด้านการตลาดเช่น การปรับรูปแบบและคุณภาพของสินค้า รวมทั้งการแสวงหาตลาดสินค้าใหม่ๆ สำหรับการปรับตัวทางด้านเทคโนโลยี ควรมีการส่งเสริม สนับสนุนใหม่การวิจัย พัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งการจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางเพื่อกำหนดบทบาท และแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่มีความชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาครั้งนี้ยังมีข้อจำกัดในการศึกษาซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นประเด็นเพื่อทำการศึกษา ต่อไป ประการแรกคือ ในการศึกษาครั้งนี้จำกัดการศึกษาสินค้าเพียง 3 ประเภทเท่านั้น ซึ่งถ้าหากมีการศึกษาสินค้าสินค้าทุก ๆ รายการก็อาจสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น ประการต่อมา การศึกษานี้จำกัดการศึกษาเพียงการเปลี่ยนแปลงทางของความสามารถในการส่งออก แต่ไม่ได้เจาะลงไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการส่งออก และประการสุดท้าย การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาในลักษณะรายประเทศ แต่ในปัจจุบันมีการลงทุนในรูปแบบของบรรษัทข้ามชาติมากขึ้น มีการขายลิขสิทธิ์ชื่อสินค้า ดังนั้นประเด็นที่น่าสนใจคือความสำคัญของชื่อผลิตภัณฑ์ (Brand Name)
Other Abstract: The Thai economy has been driven by the export sector of which the manufacturing products have a large share in it. The textile sector is probably one of the most important manufacturing export products for three decades. Recently, a number of problems, external and domestic, have affected textile export growth seriously. This study aims to assess export performance of Thai textile products in the US and European Union markets during the period 1992-1997. The products to be examined are clothing and fabrics. The result of the study reveals that the textile exports exhibit a decreasing trend over the period. The declining trend is the result of relatively higher competitiveness of the same products from other low-cost exporting countries. In addition, textile exports from Thailand have been confronting with protective measures such as the Multi Fibre Arrangement (MFA), rules and regulations governing freer flows of the trade among member countries of the NAFTA and the European Union, domestic bottlenecks such as government rules and regulations inadequate, infrastructure supports, and the outdated machines and manufacturing processes also contributed to the export decline. The study points to the need to reassess the various aspects in order to improve the textile sector. These cover an improvement of basic infrastructure, a new marketing system, an improvement in design and product quality, reduction of import tariff, and the quest for new export market. The government should have also put higher emphasis to promote research and development in this area and allocate a sufficient amount of budget to set up and operate a textile research centre. The study recommends in-depth study in the following areas, first, the textile products should be categorized into more brackets, the present study categorized them into three brackets, second, this study provides information on the export performance only but has not done in-depth study into factors contributing to the change. At last, the business strategies of Multinational Corporation and the influence of the products' brands should be studied in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68825
ISBN: 9746395734
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanop_pa_front_p.pdf969.83 kBAdobe PDFView/Open
Thanop_pa_ch1_p.pdf967.81 kBAdobe PDFView/Open
Thanop_pa_ch2_p.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Thanop_pa_ch3_p.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Thanop_pa_ch4_p.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Thanop_pa_ch5_p.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open
Thanop_pa_ch6_p.pdf925.33 kBAdobe PDFView/Open
Thanop_pa_back_p.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.