Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68900
Title: พฤติกรรมการเปิดรับ การคาดหวังประโยชน์ และความพึงพอใจ ของผู้อ่านนิตยสารแนวธรรมะและแนวอิทธิปาฏิหาริย์
Other Titles: Behavioral exposure, use expectation and gratifications of readers dhamma and superstitious magazines
Authors: ชยุตรา ศิริไกรวัฒนาวงศ์
Advisors: สุกัญญา สุดบรรทัด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sukanya.S@chula.ac.th
Subjects: ธรรมะ -- วารสาร
ปาฏิหาริย์ (พุทธศาสนา)
พฤติกรรมข่าวสาร
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
Dharma (Buddhism) -- Periodicals
Miracles (Buddhism)
Information behavior
Expectation (Psychology)
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการเปิดรับ การคาดหวังประโยชน์ ความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสาร และความพึงพอใจที่มีต่อรูปเล่มของนิตยสาร ของผู้อ่านนิตยสารแนวธรรมะและแนวอิทธิปาฏิหาริย์ ที่มีคุณลักษณะทางประชากร ด้าน เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพทางครอบครัว อาชีพ ระดับรายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ของผู้อ่านนิตยสารแนวธรรมะและแนวอิทธิปาฏิหาริย์ กับการคาดหวังประโยชน์ ความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสาร และความพึงพอใจที่มีต่อรูปเล่มของนิตยสาร โดยศึกษาจาก สมาชิกผู้อ่านนิตยสารแนวธรรมะและแนวอิทธิปาฏิหาริย์ที่มิภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ) จำนวน 291 คน ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย การทดสอบ ความแตกต่าง t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน จากผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะทางประชากรของผู้อ่านนิตยสารทั้งสองประเภทโดยทั่วไปแล้วเกือบไม่แตกต่างกัน ในด้านความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสารพบว่า ผู้อ่านทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน มีความพึงพอใจที่จะได้รับสาระประโยชน์ และความรู้ในเรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น แต่ยังมีการคาดหวังที่จะได้ความรู้ยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนี้ ความพึงพอใจที่มีต่อรูปเล่มของนิตยสารทั้งสองกลุ่มที่มีความสนใจในคอลัมน์ของนิตยสารก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกันด้วย จากผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1. คุณลักษณะทางประชากรของผู้อ่านนิตยสารอิทธิปาฏิหาริย์ มีตัวแปรเดียวที่มีความสัมพันธ์ความพึงพอใจ ในการเปิดรับข่าวสาร ได้แก่ รายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน มีความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. คุณลักษณะประชากรของผู้อ่านนิตยสารแนวอิทธิปาฏิหาริย์ มีตัวแปรตัวเดียวที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจที่มีต่อรูปเล่มของนิตยสาร ได้แก่ เพศ ที่ต่างกันมีความพึงพอใจที่มีต่อรูปเล่มของนิตยสาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากนิตยสารของผู้อ่านนิตยสารแนวธรรมะและแนวอิทธิปาฏิหาริย์มีความสัมพันธ์ กับความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสารในเชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of this research are to study the behavioral exposure, use expectation, satisfaction about the information given and satisfaction with the information given and satisfaction with the designs of the magazines by readers who enjoy Dhamma and Superstitious Magazines. They are based on the characteristics of the population including sex, age, educational background, family status, occupation, monthly income and to study the relationship between the behavioral exposure and, the use expectation, the satisfaction about the information given and the designs of the magazines. The research population includes 291 readers of the magazines who reside in Bangkok. The research was done by using questionnaires. The data are analyzed by distribution frequencies, Calculating percentages and averages. T- test is used to determine differences and ANOVA is used to analyze variation. Pearson product moment correlation coefficient is also applied. It is found there are no significant differences in terms of the characteristics of the population. The level of the readers’ satisfaction about the information given is relatively the same. The reader prefer to have more information. The level of satisfaction about the designs of the magazines is also relatively the same. Based on the assumption tested, it is found that 1. Differences in monthly income affect the satisfaction of being informed at a statistically significant level. 2. Sex is statistically significant towards satisfaction about the designs of the magazines. 3. Behavioral exposure has a negative relationship with the satisfaction of being informed at a statistically significant level.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68900
ISBN: 9743316221
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chayuttra_si_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ969.92 kBAdobe PDFView/Open
Chayuttra_si_ch1_p.pdfบทที่ 1850.71 kBAdobe PDFView/Open
Chayuttra_si_ch2_p.pdfบทที่ 22.12 MBAdobe PDFView/Open
Chayuttra_si_ch3_p.pdfบทที่ 31.16 MBAdobe PDFView/Open
Chayuttra_si_ch4_p.pdfบทที่ 43.46 MBAdobe PDFView/Open
Chayuttra_si_ch5_p.pdfบทที่ 5990.47 kBAdobe PDFView/Open
Chayuttra_si_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.