Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68904
Title: อุปสรรคและแนวทางการแก้ไขการพัฒนาที่อยู่อาศัยในเขตเมืองใหม่ ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Obstructions and solutions of housing development in new town Samet, Chon Buri
Authors: ชลภวัต บริรักษ์คูเจริญ
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
มานพ พงศทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suwattana.T@Chula.ac.th
Manop.B@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาที่อยู่อาศัย -- ไทย -- ชลบุรี
ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- ชลบุรี
เมืองใหม่ -- ไทย -- ชลบุรี
ชลบุรี -- ภาวะสังคม
ชลบุรี -- ภาวะเศรษฐกิจ
การใช้ที่ดินในเมือง
Housing development -- Thailand -- Chon Buri
Housing -- Thailand -- Chon Buri
New towns -- Thailand -- Chon Buri
Chon Buri -- Social conditions
Chon Buri -- Economic conditions
Land use, Urban
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความเป็นมาของโครงการจัดสร้าง “เมืองใหม่ ชลบุรี” โดยการ นำที่ดินซึ่งรัฐสงวนไว้มาพัฒนาเป็นโครงการเพื่อที่อยู่อาศัย และศึกษาถึงอุปสรรคของการอยู่อาศัยในชุมชน “เมืองใหม่ ชลบุรี” รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายที่อยู่อาศัยไปสู่ชุมชน “เมืองใหม่ ชลบุรี” ตลอดจนเสนอแนะแนวทางและวิธีการแก้ไขเพื่อเป็นตัวอย่างของการจัดสร้างที่อยู่อาศัยในเมืองใหม่ของประเทศในอนาคตต่อไป ปัญหาของการอยู่อาศัยในชุมชน “เมืองใหม่ ชลบุรี” พบว่า ระบบสาธารณูปโภคเป็นปัญหาของผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่ โดยการบริการจัดเก็บขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ผู้อยู่อาศัยพบมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัญหาด้านการประปา และการบำบัดน้ำเสีย นอกจากนี้ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการขาดแคลนศูนย์บริการชุมชน ก็เป็นอุปสรรคหนึ่งในการพัฒนาเมืองใหม่ ชลบุรี แต่อย่างไรก็ดี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังคงเลือก ที่จะย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชน “เมืองใหม่ ชลบุรี” เนื่องจากอากาศที่ดีเป็นแรงจูงใจที่สำคัญ ส่วนแรงต้านทานการย้ายที่อยู่อาศัยสืบเนื่องมาจากการได้อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยเดิมเป็น ระยะเวลานาน และมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยนั้น ส่วนปัจจัยที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างไม่อยากย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชน “เมืองใหม่ ชลบุรี” เนื่องจากเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การศึกษาในครั้งนี้ยังพบว่า “ เมืองใหม่ ชลบุรี” เกิดขึ้นเนื่องจากการเล็งเห็นประโยชน์จากการนำที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ (ที่ป่าชายเลน) อันเนื่องจากทางราชการได้สงวนไว้ มาพัฒนาเป็นโครงการเพื่อที่อยู่อาศัย ในรูปแบบของการจัดสร้างเพื่อที่จะให้เป็น “เมืองใหม่” หาได้เกิดขึ้นเนื่องจากการวางแผนสร้าง “เมืองใหม่” ขึ้นเพื่อที่จะช่วยแบ่งเบาภาระจากเมืองแม่ หากเราพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ที่ตั้ง บทบาทและหน้าที่ของเมือง ตลอดทั้งรูปแบบการจัดการและการบริหารเมืองของ “เมืองใหม่ ชลบุรี” แล้ว จะพบว่าแตกต่างกับตัวอย่างของเมืองใหม่ที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศทุกด้าน จากผลการศึกษาครั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า “เมืองใหม่ ชลบุรี” นั้นเป็นโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย หรือการพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยการนำคำว่า “เมืองใหม่” มาเป็นชื่อโครงการ หาได้เป็น “เมืองใหม่” ที่แท้จริงไม่ โครงการ “เมืองใหม่ ชลบุรี” นี้ถือได้ว่ากรณีศึกษาของการจัดสร้างเมืองใหม่แห่งอื่นของประเทศต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม “เมืองใหม่ ชลบุรี” ต้องสูญเสียป่าชายเลนเพื่อแลกกับการเกิดขึ้นของเมือง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสูด เพื่อให้คุ้มค่ากับสิ่งที่สูญเสียไป
Other Abstract: The objectives of this research are; to study the background of the New Town Samet, Chon buri project-to observe how the reserved land of the state became open for housing development; to examine the living conditions in New Town Samet community-including the factors effecting on migration towards this community. This thesis also provides some recommendations and solutions for future housing development in this area. Most of the living problems found in New Town's Samet community deal with infrastructure issues of community services pose the greatest problems especially in the area of Garbage Disposal, other problem areas however, also include in sufficient development of water services to all areas and a lack of [adequate] Waste Disposal services. Moreover, safeties and in sufficient of community service center are also the obstacle to the project developing. Nevertheless, most of the respondents still expressed a desire to migrate to New Town Samet because of the good weather, others are worried about security issues and most of them had their own living places and used to live there for a long time. New Town Samet, Chon buri was built on mangrove forest land. This project has not been considered [successful] in terms of fulfilling the intentions of the idea of the "New Town”, factors such as location relative to the old town, its function, role and management style all suggest that Samet's New Town probably should not be considered a "New Town". The term "New Town" has simply been adopted as the name of the project. Nevertheless, it would be very useful if we examine New Town Samet, Chon buri as a case study for our further new town development projects, especially in the environmental issues.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68904
ISBN: 9746395858
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cholbhavat_bo_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.06 MBAdobe PDFView/Open
Cholbhavat_bo_ch1_p.pdfบทที่ 11.21 MBAdobe PDFView/Open
Cholbhavat_bo_ch2_p.pdfบทที่ 21.26 MBAdobe PDFView/Open
Cholbhavat_bo_ch3_p.pdfบทที่ 31.2 MBAdobe PDFView/Open
Cholbhavat_bo_ch4_p.pdfบทที่ 46.63 MBAdobe PDFView/Open
Cholbhavat_bo_ch5_p.pdfบทที่ 55.97 MBAdobe PDFView/Open
Cholbhavat_bo_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.