Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69034
Title: การใช้แผ่นใยสังเคราะห์ช่วยเสริมกำลังรับแรง ในการก่อสร้างถนนบนชั้นดินเหนียวอ่อน จ.สุพรรณบุรี
Other Titles: Use of geotextiles as earth reinforcement for road construction on suphanburi soft clay
Authors: สุธรรม โรจนเมฆา
Advisors: สุรพล จิวาลักษณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: แผ่นใยสังเคราะห์
การเสริมแรง
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของดินถมที่ก่อสร้างบนชั้นดินเหนียวอ่อน ระหว่างมีแผ่นใยสังเคราะห์เสริมความแข็งแรงกับไม่มีแผ่นใยสังเคราะห์เสริมความแข็งแรง โดยได้ศึกษาเฉพาะพฤติกรรมการเคลื่อนตัวด้านข้างของชั้นดินเหนียวอ่อน เสถียรภาพความลาดชันของดินถมและการยืดตัวของแผ่นใยสังเคราะห์ ในการเปรียบเทียบได้ใช้แปลงตัวอย่างทดสอบจำนวน 3 แปลง คือ TS-1 เป็นบริเวณที่ไม่มีการเสริมแผ่นใยสังเคราะห์ , TS-2 เป็นบริเวณที่มีการเสริมแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดทนแรงดึงสูงแบบถักทอเพียงชั้นเดียว และ TS-3 เป็นบริเวณที่มีการเสริมใยสังเคราะห์ชนิดทนแรงต่ำแบบไม่ถักทอและแบบผสมจำนวน 3 ชั้น จากผลการตรวจวัดค่า strain ที่เกิดขึ้นในแผ่นใยสังเคราะห์พบว่า แผ่นใยสังเคราะห์จะมีค่า strain เกิดขึ้นมากที่สุดที่บริเวณขอบของแผ่นใยสังเคราะห์ (SE6) ซึ่งสามารถวัดค่า strain ที่เกิดขึ้นได้เท่ากับ 8.9% นอกจากนี้ยังพบว่า Strain Gauge ที่ติดตรงบริเวณกึ่งกลางของแผ่นใยสังเคราะห์ซึ่งเป็น Strain Gauge ตัวที่ 5 (SC5) สามารถวัดค่า strain ได้ใกล้เคียงกับ Strain Gauge ที่ติดตรงบริเวณขอบของแผ่นใยสังเคราะห์ (SE6) โดยสามารถวัดค่า strain ที่เกิดขึ้นได้เท่ากับ 8.5% ซึ่งจากผลการตรวจวัดนี้จะสังเกตเห็นว่า Strain Gauge ทั้ง 2 ตัวจะอยู่ตรงบริเวณ slope ของดินถม ทำให้สามารถสรุปได้ว่าค่าแรงดึงสูงสุดที่เกิดในแผ่นใยสังเคราะห์จะเกิดตรงบริเวณ slope ของดินถม และจากการเปรียบเทียบค่า stress-strain ของแผ่นใยสังเคราะห์ที่ได้จากการทดสอบหา ค่าแรงดึงสูงสุดของแผ่นใยสังเคราะห์ (รูปที่ 4.6 ) โดยใช้ค่าเฉลี่ยของ strain ที่วัดได้จาก Strain Gauge SE6 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.3% พบว่าเกิดแรงดึงในแผ่นใยสังเคราะห์ประมาณ 485 kN/m โดยมีค่า F.S. ของแผ่นใย สังเคราะห์ (Local Failure) เท่ากับ 1.07 จากผลการตรวจวัดของ Inclinometer พบว่าค่าการเคลื่อนตัวด้านข้างมากที่สุดของชั้นดินเหนียวอ่อนของแปลงทดสอบ TS-1 และ TS-2 มีค่าประมาณ 0.013 และ 0.023 เมตรโดยเกิดขึ้นที่ระดับ 1.00 และ 4.00 เมตร จากระดับดินเดิมตามลำดับและสำหรับแปลงทดสอบ TS-3 ได้มีการพังทลายเกิดขึ้นโดยจะสังเกตเห็นรอยแยกบนชั้นดินถมได้อย่างชัดเจนซึ่งสามารถวัดความกว้างของรอยแยกที่มากที่สุดได้ประมาณ 0.30 เมตร และจากการวิเคราะห์เสถียรภาพความลาดชันของดินถมพบว่า ที่แปลงทดสอบ TS-1 มีค่า F.S. เท่ากับ 1.16 , ที่แปลงทดสอบ TS-2 ในกรณีที่ยังไม่มีการเสริมแผ่นใยสังเคราะห์จะมีค่า F.S. เท่ากับ 0.87 และกรณีที่มีการเสริมแผ่นใยสังเคราะห์แล้วค่า F.S. จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.71 โดยการใช้ค่าแรงดึงที่เกิดขึ้นจริงในแผ่นใยสังเคราะห์ ที่ได้มาจากการเปรียบเทียบค่า strain ที่วัดได้ในสนามกับค่า strain ที่ได้จากการทดสอบหาค่าแรงดึงสูงสุดใน แผ่นใยสังเคราะห์ (รูปที่ 4.6) ในส่วนของแปลงทดสอบ TS-3 ในกรณีที่ยังไม่มีการเสริมแผ่นใยสังเคราะห์จะมีค่า F.S. เท่ากับ 0.61 และเมื่อมีการเสริมแผ่นใยสังเคราะห์แล้วจะมีค่า F.S. เท่าเดิม เนื่องจากแผ่นใยสังเคราะห์ที่เสริม มีความยาวไม่ถึงแนวของ slip plane จึงไม่ได้ช่วยให้เสถียรภาพของดินถมเพิ่มขึ้น
Other Abstract: This thesis presents the comparing behavior of embankments on soft soil which have the high strength woven geotextile reinforced embankment and unreinforced embankment. The lateral movement of soft soil, slope stability problem of the embankment and the elongation of the reinforcement are interested in this study. Three test sections, which are full-scale tests, used in the comparisons for this study. The behavior of TS-1, which is the unreinforced embankment, TS-2, which is the single layer reinforced embankment by the high strength woven geotextile, and the TS-3, which has the 3-layers reinforced embankment by the composite geotextiles and nonwoven geotextile, are studied. The strain gauges at TS-2 were attached to the geotextile to measure the strain in the geotextile during and after construction. From the results of monitoring, the strain gauges were attached at the center and the edge of geotextile (SC5 and SE6), which are near the slope of embankment, showed 8.5% and 8.9% respectively of maximum strain. These results indicated that the greatest structural tensile demand on the geotextile are required at these locations of embankment. The F.S. for local geotextile failure is 1.07. The maximum tensile load occurred nearly at the same time with the measured sudden lateral movement. This may be resulted from the previously occurrence of the slip plane. From the results of instrumentation indicated that the maximum lateral movement of soft soil of the TS-1 and TS-2 are 0.013 and 0.023 meter at depth 1.00 and 4.00 meter from initial ground surface respectively. For the TS-3, where the crack occurs on the embankment, there are no lateral movement occur. But this test section has been failed, having the failure length about 100 meter. From the analysis of overall slope stability indicated that the minimum factor of safety of the TS-1 is about 1.16, and the TS-2 is about 0.87 for unreinforced embankment and 1.71 for reinforced embankment, upon using the actual tensile force measured from the strain gauge. The TS-3 has the minimum factor of safety about 0.61 for unreinforced and reinforced embankment, since the length of geotextiles are not long enough to the slip plane then they are not useful to increase the stability of embankment.
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69034
ISSN: 9743320598
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutham_ro_front_p.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Sutham_ro_ch1_p.pdf784.21 kBAdobe PDFView/Open
Sutham_ro_ch2_p.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Sutham_ro_ch3_p.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Sutham_ro_ch4_p.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
Sutham_ro_ch5_p.pdf704.59 kBAdobe PDFView/Open
Sutham_ro_back_p.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.