Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6915
Title: ผลกระทบของการฝังกลบขยะสดต่อป่าชายเลนบริเวณแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Impacts of garbage landfill on mangrove area at Leam Pak Bia, Phetchaburi province
Authors: นันทิยา ลาภสาธิต
Advisors: สุรัตน์ บัวเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: bsurat@pioneer.netserv.chula.ac.th, S.bualert@chula.ac.th
Subjects: ขยะ
การฝังกลบขยะ
ป่าชายเลน -- เพชรบุรี (แหลมผักเบี้ย)
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลกระทบของการฝังกลบขยะสดต่อป่าชายเลนบริเวณแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การศึกษาความสามารถในการย่อยสลายของขยะสด ผลกระทบต่อคุณภาพดินตะกอนและน้ำ และการเจริญเติบโตของต้นแสมทะเล ความสามารถในการย่อยสลายของขยะสด พบว่า อัตราการย่อยสลายของขยะสดย่อยสลายสูงที่สุดในช่วง 3 วันแรกหลังจากทำการฝังกลบขยะ และพื้นที่ป่าชายเลนฟื้นฟูใหม่มีอัตราการย่อยสลายของขยะสดมากกว่าพื้นที่ป่าชายเลนอ้างอิง และพื้นที่ป่าชายเลนธรรมชาติ โดยค่าคงที่การสลายตัวของ 45 วันเป็น 0.051, 0.034 และ 0.032 ต่อวัน ตามลำดับ และผลกระทบของการฝังกลบขยะสดในป่าชายเลน พบว่า ความเป็นกรด-ด่างของดินตะกอนในพื้นที่ฝังกลบมีค่า 8.05 ซึ่งมากกว่าพื้นที่ที่ไม่ฝังกลบ (8.03) ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดและฟอสฟอรัสทั้งหมดในดินตะกอนของพื้นที่ฝังกลบมีค่า 2.635 และ 1.331 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่า พื้นที่ที่ไม่ฝังกลบที่มีค่า 3.101 และ 1.433 มิลลิกรัมต่อกรัม ส่วนคุณภาพน้ำนั้น พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างพื้นที่ที่ทำการฝังกลบและไม่ทำการฝังกลบ อัตราการเจริญเติบโตของต้นแสมทะเลบนพื้นที่ฝังกลบ ในป่าชายเลนฟื้นฟูใหม่มีค่ามากกว่าพื้นที่อื่นๆ ทั้งในด้านความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นเพราะพื้นที่ป่าชายเลนฟื้นฟูใหม่นี้เปิดโล่งมาก จึงได้รับแสงแดดส่องผ่านได้ง่ายกว่าพื้นที่อื่นๆ
Other Abstract: The study of impacts of garbage landfill on mangrove area at Leam Pak Bia, Phetchaburi province was divided into three parts: The study of decomposability of garbage, impacts on sediment and water quality and the growth of Avicennia marina. The decomposability of garbage showed that the decomposition rate was highest in the first-three days after landfilling in mangrove area. Moreover, Decomposition rate of the reforestation mangrove area was higher than reference mangrove area and natural mangrove area. The fractional loss rate (k) over 45 days of reforestation mangrove area, reference mangrove area and natural mangrove area were 0.051, 0.034 and 0.032 per day, respectively. The effect of garbage landfill on mangrove area showed that pH of sediment in landfill site was 8.05, higher than non-landfill site (8.03). Total nitrogen and total phosphorus content in sediment of landfill site were 2.635 and 1.331 mg/g respectively, lower than non-landfill site, which were 3.101 and 1.433 mg/g. Water quality showed no significantly difference between landfill and non-landfill site. The growth rate of A. marina on landfill site in reforestation mangrove area war higher than other sites in height and diameter of stem because reforestation mangrove area has more open space which let sunlight get through easier than the other sites.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6915
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.974
ISBN: 9745329037
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.974
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntiya_La.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.