Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6935
Title: การย่อยสลายน้ำมันดิบโดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่คัดเลือกไว้ในระบบบำบัดแผ่นหมุนชีวภาพ
Other Titles: Crude oil degradation using selected microbial consortium in rotating biological contactor system
Authors: สกุลรัตน์ พุกกะวรรณะ
Advisors: ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kcharnwi@netserv.chula.ac.th, Charnwit@sc.chula.ac.th
Subjects: ปิโตรเลียม
ปิโตรเลียม -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
ไฮโดรคาร์บอน -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายน้ำมันดิบของกลุ่มจุลินทรีย์ในระบบบำบัดแผ่นหมุนชีวภาพขนาด 4 ลิตร ซึ่งถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จากผลการทดลองการย่อยสลายน้ำมันดิบ (Tapis crude oil) พบว่าการสลายตัวทางกายภาพ โดยไม่เติมเชื้อจุลินทรีย์ของไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันดิบ ที่ระดับความเร็วรอบของแผ่นหมุนชีวภาพ 2 รอบต่อนาที ระดับการจมตัวของแผ่นหมุนชีวภาพ 20 เปอร์เซ็นต์ กับที่ ระดับความเร็วรอบของแผ่นหมุนชีวภาพ 4 รอบต่อนาที ระดับการจมตัวของแผ่นหมุนชีวภาพ 40 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้สถิติ Pair Samples Test เป็นตัวทดสอบ พบว่าอัตราการสลายตัวทางกายภาพ โดยไม่เติมเชื้อจุลินทรีย์ของไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันดิบเท่ากับ 41.46 เปอร์เซ็นต์ และ 41.38 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 7 วันตามลำดับ ดังนั้นจึงศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันดิบในระบบบำบัด โดยแปรผันความเร็วรอบในการหมุนของแผ่นหมุนชีวภาพ และระดับการจมตัวของแผ่นหมุนชีวภาพ และจากการทดลองพบว่าทั้งระดับการจมตัวและความเร็วรอบในการหมุนของแผ่นหมุนชีวภาพมีผลต่ออัตราการย่อยสลายของน้ำมันดิบและสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของระบบบำบัดที่ใช้ คือ ที่ระดับความเร็วรอบ 4 รอบต่อนาที และระดับการจมตัวของแผ่นหมุนชีวภาพ 40 เปอร์เซ็นต์ โดยระบบสามารถย่อยสลายไฮโดรคาร์บอนได้ 87.35 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 5 วัน ดังนั้นใช้สภาวะที่เหมาะสมศึกษาต่อในระบบต่อเนื่องพบว่าระบบสามารถย่อยสลายน้ำมันดิบได้ 91.96 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 5 วัน
Other Abstract: Finds out the optimal conditions for crude oil degradation in 4 liter rotary biological contactor system. Experimental results of crude oil degradation show that the system performance on physical degradation when the contactor operated (a) at the speed of 2 rpm with immersion level of 20% and (b) the speed of 4 rpm with the immersion level of 40% are not different. The comparison was based on pairwise test method with 95% confidence level. The rated of physical degradation were 41.46% and 41.38% within 7 days for parameter sets (a) and (b) respectively. The appropriate parametric configuration was further investigated in biological system by varying the rotational speeds and the immersion levels of the contactor. The result indicated that the biological degradation set (b) gave better performance. With this configuration, 87.35% of the hydrocarbon component was degraded within 5 days. The system was extended to be operated in continuous mode under set (b) operating condition. The rate of biological degradation in continuous system could reach 91.96% within 5 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6935
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1191
ISBN: 9745328227
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1191
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakulrat.pdf4.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.