Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69434
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรอนงค์ กุละพัฒน์ | - |
dc.contributor.author | ปริมล แก้วผลึก | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T10:06:46Z | - |
dc.date.available | 2020-11-11T10:06:46Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69434 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | - |
dc.description.abstract | การออกกำลังกายเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน การเพิ่มการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังเสร็จสิ้นการออกกำลังกายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับอุณหภูมิแวดล้อมที่ส่งผลต่อการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังการออกกำลังกายเพียงหนึ่งครั้งในหญิงอ้วน แต่ยังไม่มีการศึกษาในหญิงอ้วนที่มีการฝึกออกกำลังกาย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาในเพศหญิงที่มีภาวะอ้วนจำนวน 16 คน อายุ 18-50 ปี มีดัชนีมวลกาย 27.5-40 กิโลกรัมต่อเมตร2 มีประจำเดือนปกติ โดยทำการศึกษาในช่วง follicular phase ของประจำเดือนเท่านั้น ผู้เข้าร่วมวิจัยควบคุมอาหารเป็นเวลา 1 เดือน และเข้าโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานที่ความหนักระดับปานกลาง (50-60% heart rate reserve (HRR) ระยะเวลา 30-60 นาที) เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นทำการทดสอบการออกกำลังกาย 2 ครั้ง ที่ความหนัก 60%HRR เวลา 60 นาที และพักฟื้นนาน 60 นาที ในอุณหภูมิร้อน (HT; 31-32°C) ครั้งหนึ่ง และเย็น (CT; 22-23°C) อีกครั้งหนึ่ง ตามลำดับที่สุ่มไว้ มีการประเมินการออกซิเดชันของซับสเตรท และการใช้พลังงานรวมตลอดการทดสอบ ผลการศึกษาพบว่าขณะพักฟื้นในที่เย็นมีการออกซิเดชันของไขมันสูงกว่าในที่ร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (CT; 56.0 ± 24.6 mg.kg-1.h-1 vs. HT; 39.7 ± 27.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) และขณะพักฟื้นในที่ร้อนมีการออกซิเดชันของคาร์โบไฮเดรทมากกว่าในที่เย็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HT; 104.0 ± 46.9 mg.kg-1.h-1 vs. CT; 64.6 ± 40.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของการใช้พลังงานรวมขณะพักฟื้นในทั้งสองอุณหภูมิ (HT; 70.5 ± 19.6 kcal.h-1 vs. CT; 71.3 ± 13.7 kcal.h-1, p = 0.846) สรุปว่าปริมาณการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นมากกว่าในอุณหภูมิร้อน ดังนั้นการพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นภายหลังการฝึกออกกำลังกายในระดับปานกลาง จึงควรเป็นทางเลือกที่ดีในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน | - |
dc.description.abstractalternative | Exercise is an effective weight loss method in obese people. An increase in fat oxidation during recovery after the exercise session is interesting to study. A previous research study reported that environmental temperature affected fat oxidation during recovery after single bout of exercise in obese women. However, there was no research study investigating the recovery fat oxidation in obese women who participated in the exercise training program. Sixteen obese women (age; 18-50 y, BMI 27.5-40 kg/m2) with regular menstruation participated in this study. All subjects stabilized their diet for one month and then underwent a one-month moderate-intensity exercise program on a treadmill. After that, the subjects underwent 2 identical exercise tests and recovered in 2 different environments for 60 minutes each; in hot (31-32°C; HT) and cool (22-23°C; CT) temperatures on separate occasions. Each exercise test was performed on a treadmill at 60%HRR for 60 minutes. All tests were conducted during the follicular phase of the menstrual cycle. The results showed that recovery fat oxidation in cool temperature was significantly greater than in hot temperature (CT; 56.0 ± 24.6 mg.kg-1.h-1 vs. HT; 39.7 ± 27.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001). The recovery carbohydrate oxidation in hot temperature was significantly greater than in cool temperature (HT; 104.0 ± 46.9 mg.kg-1.h-1 vs. CT; 64.6 ± 40.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001). There were no statistically significant differences between total energy expenditure in hot and cool temperatures (HT; 70.5 ± 19.6 kcal.h-1 vs. CT; 71.3 ± 13.7 kcal.h-1, p = 0.846). It is summarized that the recovery fat oxidation of trained obese women was greater in the cool temperature. Thus, obese people should be encouraged to recover in cool temperature after the moderate-intensity exercise training as it is likely the better choice to spend more energy on fat oxidation after exercise completion. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.639 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Health Professions | - |
dc.subject.classification | Medicine | - |
dc.title | ผลของการฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางต่อการออกซิเดชันของไขมันในขณะพักฟื้นหลังออกกำลังกายในอุณหภูมิร้อนและเย็นของหญิงอ้วน | - |
dc.title.alternative | The effect of moderate-intensity exercise training on fat oxidation during exercise recovery in hot and cold environments of obese women | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์การกีฬา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.keyword | การออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้น | - |
dc.subject.keyword | การวัดแคลอรีทางอ้อม | - |
dc.subject.keyword | ภาวะอ้วน | - |
dc.subject.keyword | การฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลาง | - |
dc.subject.keyword | อุณหภูมิแวดล้อม | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.639 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5974075530.pdf | 3.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.