Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69442
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์-
dc.contributor.authorนิธิ สัมมาชีพวิศวกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T10:06:51Z-
dc.date.available2020-11-11T10:06:51Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69442-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractที่มาและความสำคัญ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกสามารถพบได้บ่อยในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ ซึ่งการรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกนี้มักจะส่งผลทำให้ช่วงเวลา QT ยาวขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุนำมาซึ่งการเกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะแบบ ventricular tachyarrhythmias ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางมาตรฐานที่ชัดเจนในการวัดช่วงเวลา QT ในคนไข้กลุ่มภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก เพื่อที่จะป้องการการเกดหัวใจห้องล่างเต้นผิดใจหวะแบบ ventricular tachyarrhythmias (VA) ได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ เพื่อหาวิธีการวัดช่วงเวลา QT ที่แม่นยำที่สุดในการคาดคะเนการเกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะแบบ VA ในคนไข้กลุ่มภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก ระเบียบวิธีวิจัย เก็บข้อมูลผุ้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2561 โดยใช้ ICD-10 ในการสืบหาข้อมุลผู้ป่วย โดยนำ 12-lead EKGs วัดช่วงเวลา QT มาทำการวัดที่ lead II หรือ lead V3 และใช้ สมการ Fridericia’s QT interval correction (QTc) รวมถึงกำหนดจุดสิ้นสุดในการวัดช่วงเวลา QT โดยใช้ วิธี Tangent โดยผู้ป่วยทุกคนได้รับการวัด 12-lead EKGs ในทั้งหมด 4 ตำแหน่ง คือ (1) ค่าเฉลี่ยของช่วงเวลา QTc ระหว่าง QTc หลังช่วงเวลา RR ที่ยาวที่สุดและสั้นที่สุด  (2) ค่าเฉลี่ยของช่วงเวลา QTc 3 ช่วงโดยมี QTc หลังช่วงเวลา RR ที่ยาวที่สุดอยู่ตรงกลาง (3) ค่าเฉลี่ยของช่วงเวลา QTc 10 ช่วงโดยหนึ่งในนั้นต้องประกอบด้วย QTc หลังช่วงเวลา RR ที่ยาวที่สุดร่วมด้วย (4) ค่าช่วงเวลา QTc โดยเครื่องอ่านผลระบบ Philips DXL 12- lead algorithm โดยการวิจัยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ ความแม่นยำของแต่ละวิธีการวัดช่วงเวลา QTในการคาดคะเนการเกิด VA และวัตถุประสงค์รอง คือ ความแม่นยำของแต่ละวิธีการวัดช่วงเวลา QT ในการคาดคะเนการเกิด Torsades de pointes (TdP) ในผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก    ผลการวิจัย ข้อมูลจาก 239 คนที่เข้าเกณฑ์กำหนดวิจัยจาก 684 คน  พบมีหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ 48 คน (20.1%) และมี TdP อีก 19 คน (7.9%) โดยได้ผลความแม่นยำของแต่ละวิธ๊เพื่อคาดคะเน VA ที่ช่วงเวลา QT ≥ 500 milliseconds เท่ากับ 82.8% สำหรับ วิธีที่ (1)  (ค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้นได้ [ICC] 0.822; 95% confidence interval [CI] 0.717, 0.893), 84.9% สำหรับ วิธีที่ (2) (ICC 0.809; 95% CI 0.694, 0.886), 84.9% สำหรับวิธีที่ (3) (ICC 0.846; 95% CI 0.725, 0.915) and 69.5% สำหรับวิธีที่ (4)  ในส่วนของความแม่นยำของแต่ละวิธีเพื่อคาดคะเน TdP ที่ช่วงเลา ≥ 500 milliseconds เท่ากับ 91.6% สำหรับวิธีที่ (1), 95.4% สำหรับวิธีที่ (2), 95.4% สำหรับวิธีที่ (3) และ 74.6% สำหรับวิธีที่ (4) บทสรุป ในทั้งหมด 4 วิธีการวัดช่วงเวลา QT พบว่า ในวิธีค่าเฉลี่ยช่วงเวลา QTc 3 ค่า และ ค่าเฉลี่ยช่วงเวลา QTc 10 ค่า มีความแม่นยำที่ดีในการคาดคะเนการเกิด VA และ TdP  และมีความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำที่ดี   ในการวัดช่วงเวลา QTc โดยใช้เครื่องอ่านผลนั้นยังต้องการหลักฐานการวิจัยเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ในการปฎิบัติจริงได้-
dc.description.abstractalternativeBACKGROUND Atrial fibrillation is a common arrhythmia in critical care units and treatment of atrial fibrillation can lead to ventricular arrhythmia due to QT prolongation. There is still no standard method for QT measurement in atrial fibrillation to prevent ventricular arrhythmia to happen. OBJECTIVE To find the most accurate method for QT interval measurement to predict VA in AF patients. METHODS Patients with ICD10 records from 1st January 2014 to 30th September 2018 were identified from among all in-hospital AF patients in four critical care units at King Chulalongkorn Memorial Hospital. The QT interval was measured from 12-lead EKG mainly in lead II and V3 by using Fridericia’s QT interval correction (QTc) formula and the tangent method. Four intervention methods were used for all patients of focus, including (1) Average of QTc intervals following the longest and shortest RR intervals (Long & short method), (2) Average of 3 QTc intervals where the middle QTc interval follows right after the longest RR interval (3 consecutive beats method), (3) Average of QTc intervals for 10 beats that include QTc interval following the longest RR interval (10 consecutive beats method), and (4) Automated QTc interval method by Philips DXL12- lead algorithm. The primary goal was to determine the most accurate QTc measurement method to predict VA events in AF patients, while the secondary outcome was an accurate QTc measurement method to predict Torsades de pointes (TdP) events in AF patients.    RESULTS 239 from 684 atrial fibrillation patients were included in the study. Out of all patients included, 48 patients had VA events (20.1%) and 19 patients had TdP events (7.9%). The accuracy to predict VA at QTc ≥ 500 milliseconds was 82.8% for long & short method (interclass correlation coefficient [ICC] 0.822; 95% confidence interval [CI] 0.717, 0.893), 84.9% for 3 consecutive beats method (ICC 0.809; 95% CI 0.694, 0.886), 84.9% for 10 consecutive beats method (ICC 0.846; 95% CI 0.725, 0.915) and 69.5% for Automated QTc interval. The accuracy to predict TdP at QTc ≥ 500 milliseconds was 91.6%, 95.4%, 95.4% and 74.6% respectively. CONCLUSIONS   Among the 4 methods for QT interval measurement studies, the 3 and 10 consecutive beats methods showed acceptable accuracy to predict VA and TdP events in AF patients. The reproducibility of all 3 methods was acceptable. The Automated QTc interval measurement method is easy to use but requires additional evidence before being implemented in clinical practice.  -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1501-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleการศึกษาวิธีการวัดช่วงเวลา QT ที่เหมาะสมเพื่อคาดคะเนการเกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะแบบ ventricular tachyarrhythmias ในผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก-
dc.title.alternativeThe appropriate method for QT interval measurement to predict ventricular tachyarrhythmias in atrial fibrillation patients.-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1501-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074018230.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.