Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69443
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิริยาพร ฤทธิทิศ-
dc.contributor.authorปิยภูมิ ภาคย์วิศาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T10:06:52Z-
dc.date.available2020-11-11T10:06:52Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69443-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractที่มา: การเพาะเชื้อจากกล้องตรวจท่อน้ำดีและตับอ่อน เป็นวิธีที่ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียดื้อยา แต่วิธีนี้ยังมีข้อจำกัดในแง่เวลาที่ต้องรอผลเพาะเชื้อนานหลายวันก่อนที่จะนำกล้องไปใช้กับผู้ป่วยรายอื่นต่อไปได้ ในขณะที่การตรวจวัดอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต ซึ่งเป็นสารที่พบอยู่ในจุลชีพ และสารอินทรีย์ เป็นการทดสอบที่ให้ผลการตรวจทันที รวดเร็วกว่าการเพาะเชื้อ ซึ่งอาจสามารถนำมาใช้ตรวจสอบการปนเปื้อนของกล้องตรวจท่อน้ำดีและตับอ่อนหลังจากผ่านการทำความสะอาด วัตถุประสงค์: ประเมินความสามารถของการทดสอบการตรวจวัดค่าอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต ภายหลังจากการทำความสะอาดกล้องตรวจท่อน้ำดีและตับอ่อนในกระบวนการทำลายเชื้อระดับสูง ในการทำนายการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียก่อโรค โดยมีการเพาะเชื้อเป็นการตรวจมาตรฐาน วิธีการศึกษา: การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลจากกล้องตรวจท่อน้ำดีและตับอ่อนที่ผ่านการใช้งานในผู้ป่วย 84 ราย  ในช่วงเดือนตุลาคม 2560 ถึงกันยายน 2561 โดยได้ทำการเพาะเชื้อ 84 ครั้ง จากสิ่งส่งตรวจที่ได้จากการป้ายตรวจบริเวณเอเลเวเตอร์ และทำการเพาะเชื้อ 84 ครั้ง จากน้ำล้างบริเวณช่องใส่อุปกรณ์ทำงานของกล้อง ร่วมกับได้ทำการตรวจวัดค่าอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตจำนวน 168 ครั้ง  โดยได้วิเคราะห์หาค่าความจำเพาะ ความไว ค่าการทำนายโรคเมื่อผลตรวจเป็นลบและบวก และค่าความถูกต้องของค่าอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต ที่ระดับ 200 หน่วยรีเลทีพไลท์ยูนิท (อาร์แอลยู) และใช้กราฟอาร์โอซี  ในการประเมินหาค่าจุดตัดที่เหมาะสมในการทำนายการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ผลการศึกษา: จากการเพาะเชื้อจากกล้องทั้ง 84 ครั้ง  พบเชื้อแบคทีเรียก่อโรคจากกล้องจำนวน 13 ครั้ง (ร้อยละ 15.5) จากสิ่งส่งตรวจที่ได้จากการป้ายตรวจเอเลเวเตอร์ ในขณะที่ไม่พบการเปื้อนเลยจากสิ่งส่งตรวจที่ได้จากน้ำล้างช่องใส่อุปกรณ์ทำงาน นอกจากนี้พบว่าในจำนวน 13 ผลการตรวจที่ตรวจพบเชื้อแบคทีเรียก่อโรคดังกล่าว มี 12 ผลการตรวจ (ร้อยละ 92.3) ที่ส่งตรวจมาจากกล้องตรวจท่อน้ำดีและตับอ่อนตัวเดียวกัน ซึ่งพบในภายหลังว่ามีสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กติดอยู่ที่บริเวณเอเลเวเตอร์ จากการวิเคราะห์การตรวจวัดค่าอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตด้วยกราฟอาร์โอซี พบว่ามีพื้นที่ใต้กราฟอาร์โอซี เท่ากับ 0.75 และจุดตัดที่เหมาะสมในการใช้ทำนายการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคของกล้องตรวจท่อน้ำดีและตับอ่อนภายหลังทำความสะอาดในกระบวนการทำลายเชื้อระดับสูง คือ ค่าตัวเลข 40 อาร์แอลยู เนื่องจากมีความไวและค่าการทำนายโรคเมื่อผลตรวจเป็นลบเท่ากับร้อยละ 100 สรุปผล: การตรวจวัดค่าอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตเป็นการทดสอบที่มีประโยชน์ในการให้ผลตรวจที่รวดเร็วในการตรวจสอบความสะอาดของกล้องส่องท่อน้ำดีและตับอ่อน เนื่องจากค่าอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตมีความสัมพันธ์ที่ดีกับการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคที่ตรวจพบจากการเพาะเชื้อ โดยแนะนำให้ใช้ค่าตัวเลขที่ 40 อาร์แอลยู เป็นจุดตัดของการทดสอบ-
dc.description.abstractalternativeBackgrounds: Duodenoscope quarantine until negative surveillance culture is one of the measures to reduce the incidence of duodenoscope related infections.  This practice costs at least 2-day delay in resuming the use of duodenoscope. Adenosine triphosphate (ATP) test is a more rapid test to measure bioburden.  Objective: We aimed to determine the efficacies of ATP test to ensure the cleanliness of duodenoscopes after high-level disinfection (HLD). Methods: During October 2017-September 2018, 84 used duodenoscopes were enrolled. After HLD, culture samples (CS) were collected from the elevator system (ES) by swab rotation and from water channel (WC) by flushing. We evaluated the sensitivity, specificity, positive predictive value, negative predictive value (NPV), and accuracy of ATP test by using the cut off value (CV) at the recommended 200 relative light units (RLU) and used ROC to define the better CV. Results: Of 84 CSs, 13 (15.5%) CSs from the ES were positive whereas all CSs from WC were negative. Of 13 positive CSs, 12 (92.3%) CSs were obtained from the same duodenoscope which later found with a tiny foreign body near the ES seen by a microscope. Under the ROC curve, the area under the ROC was 0.75. Given its sensitivity of 100% and NPV of 100%, ATP level of 40 RLU may be the better CV to ensure the cleanliness of duodenoscope after HLD. Conclusions: To rapidly ensure duodenoscope cleanliness after HLD, ATP is a promising rapid test. The ATP threshold < 40 RLU is the recommended cut-off value.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1505-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleการวินิจฉัยการปนเปื้อนของแบคทีเรียด้วยอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตในกล้องตรวจท่อน้ำดีและตับอ่อนที่ผ่านการทำความสะอาดตามมาตรฐาน-
dc.title.alternativeDiagnostic value of adenosine triphosphate for detection of bacterial contamination in duodenoscope after standard reprocessing-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1505-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074021030.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.