Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69494
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์-
dc.contributor.authorญาดาพร ยอดสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T10:07:35Z-
dc.date.available2020-11-11T10:07:35Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69494-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractเหตุผลของการทำวิจัย : จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่ามารดาที่ดูแลบุตรในโรคต่าง ๆ มีภาวะวิตกกังวลแต่การศึกษาโดยตรงถึงภาวะวิตกกังวลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในมารดาของกลุ่มผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ยังไม่ค่อยมีในประเทศไทย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของภาวะวิตกกังวลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังได้รับการผ่าตัดแก้ไขทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่เข้ารับการรักษาในกุมารศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 105 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองซึ่งประกอบ ด้วย 1. แบบสอบถามข้อมูลข้อมูลส่วนบุคคล (สำหรับมารดา) 2. แบบสอบถามประวัติของเด็ก 3. แบบวัดภาวะวิตกกังวล ใช้ของ STAI Form-Y1,Y2 4. แบบวัดความเครียดของมารดาใช้ของ The Parental Stress Scale: Pediatric Intensive Care Unit, PSS:PICU วิเคราะห์ข้อมูลใช้ Univariate analysis (ได้แก่ T-test และ Chi-Square) เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและใช้ Multivariate  Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะวิตกกังวลในมารดากลุ่มนี้ ผลการศึกษา : พบความชุกของภาวะวิตกกังวลภาวะวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 63.5 มีพื้น นิสัยวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 53.3 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิตกกังวลจากการวิเคราะห์โดยวิธี multivariate analysis  พบว่ามี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) จำนวนสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 4 คน  2) การผ่าตัดชนิดผ่าตัดใหญ่ 3) พื้นนิสัยวิตกกังวลระดับในปานกลาง-รุนแรง 4) ความเครียดด้านการตอบสนองทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์ของลูก    สรุป : ภาวะวิตกกังวลของมารดาในการศึกษาครั้งนี้มีผลการศึกษาใกล้เคียงกับการศึกษาในโรคอื่นๆ โดยผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ตระหนักถึงความสำคัญในการคัดกรองและให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป-
dc.description.abstractalternativeBackground:  According to previous studies, mothers caring for children with various diseases had anxiety. However, few studies were conducted on anxiety and related factors among postoperative pediatric patients’ mothers in Thailand. Objectives: To study the prevalence of anxiety and related factors among postoperative pediatric patients’ mothers at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Methods:  Data were collected from 105 pediatric patients’ mothers receiving corrective surgery as in-patients and out-patients by using questionnaires including: 1) The mothers’ demographic questionnaire; 2) The children’s background questionnaire; 3) The STAI Form-Y1, Y2 anxiety measuring form; and, 4) The Parental Stress Scale: Pediatric Intensive Care Unit (PSS: PICU). Univariate analysis (t - test and Chi-square) was used to examine the factors related to anxiety and multivariate analysis was used to determine the predictors of anxiety among this group of mothers. Results:  Most of mothers had moderate level of anxiety state (63.5%) and moderate level of anxiety trait (53.3%). Among them, 3.8 % had high anxiety state, whereas 6.7% had high anxiety trait. Four factors were found being correlated with anxiety:  having more than four family members, children undergone major surgery, having moderate-severe anxiety trait and having stress from children’s behavioral and emotional response. Conclusion:  On average, the participants were in the moderate level of anxiety. Related factors to anxiety were number of family members, major surgery, moderate-severe anxiety trait, and stress from children’s behavioral and emotional responses. These results suggested the attention of the screening and the appropriate support from medical personnel    -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1405-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleภาวะวิตกกังวล ความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมารดาของผู้ป่วยกุมารศัลยศาสตร์หลังผ่าตัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ -
dc.title.alternativeAnxiety, Stress and Associated Factors among Mothers of Child who have Undergone Surgery at King Chulalongkorn Memorial Hospital-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสุขภาพจิต-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1405-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6174254030.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.