Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69570
Title: กำลังแรงยึดเฉือนระหว่างแบร็กเกตจัดฟันโลหะกับเซอร์โคเนียที่ใช้การปรับสภาพผิวและเรซินแอดฮีซีฟที่แตกต่างกัน
Other Titles: Shear bond strength between metal orthodontic brackets and zirconia using different surface treatments and resin adhesives
Authors: พลอยลดา วิทวัสพันธุ์
Advisors: อธิคม สุรินทร์ธนาสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้เพื่อเปรียบเทียบกำลังแรงยึดเฉือนระหว่างแบร็กเกตจัดฟันโลหะกับเซอร์โคเนียที่ผ่านการปรับสภาพผิวที่แตกต่างกัน เตรียมเซอร์โคเนียขนาด 8 x 8 x 2 มิลลิเมตร จำนวน 12 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้น เผาซินเทอร์ นำไปฝังลงในท่อพีวีซีด้วยยิปซัมทางทันตกรรมและขัดเรียบ ผิวของเซอร์โคเนียถูกปรับสภาพผิวโดยการพ่นผงอะลูมิเนียมออกไซด์ (S) การกรอด้วยเข็มกรอกากเพชร (G) การทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์ (Z) การพ่นผงอะลูมิเนียมออกไซด์ร่วมกับทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์ (SZ) การกรอด้วยเข็มกรอกากเพชรร่วมกับทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์ (GZ) และกลุ่มที่ไม่ได้ปรับสภาพผิวเป็นกลุ่มควบคุม จากนั้นแบ่งชิ้นงานออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งนำแบร็กเกตจัดฟันมาเชื่อมติดชิ้นงานด้วยเรซินแอดฮีซีฟทรานสบอนด์ เอ็กซ์ที (TransbondTM XT) กลุ่มที่สองนำแบร็กเกตจัดฟันมาเชื่อมติดชิ้นงานด้วยเรซินซีเมนต์รีไลน์เอ็กซ์ยูสองร้อย (RelyXTM U200) จากนั้นแช่ไว้ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นทดสอบค่ากำลังแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบอเนกประสงค์ โดยใช้ความเร็วในการทดสอบที่ 1 มิลลิเมตรต่อนาที ศึกษาลักษณะความล้มเหลวที่เกิดขึ้นด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ และวิเคราะห์พื้นผิวของเซอร์โคเนียด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง (Three-way ANOVA) ใช้สถิติความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และสถิติเวลช์ (Welch) เปรียบเทียบค่ากำลังแรงยึดเฉือนแต่ละกลุ่ม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากผลการศึกษาพบว่าการใช้เข็มกรอกากเพชร กรอที่ผิวเซอร์โคเนียช่วยเพิ่มความขรุขระที่ผิวและสามารถเพิ่มค่ากำลังแรงยึดเฉือนได้ดีกว่าการพ่นผงอะลูมิเนียมออกไซด์ และไม่ได้รับการปรับสภาพพื้นผิวเชิงกล การทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์ (MDP) ให้ค่ากำลังแรงยึดเฉือนมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์ในทุกกลุ่ม หากไม่ได้ทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์ กลุ่มที่ใช้เรซินซีเมนต์รีไลน์เอ็กซ์ยูสองร้อยให้ค่ากำลังแรงยึดเฉือนสูงกว่ากลุ่มที่ใช้เรซินแอดฮีซีฟทรานสบอนด์ เอ็กซ์ที อย่างมีนัยสำคัญอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) การปรับสภาพผิวเซอร์โคเนียด้วยการกรอด้วยเข็มกรอกากเพชรร่วมกับการทาสารปรับปรุงผิวเซอร์โคเนียไพรเมอร์ มีประสิทธิภาพในการเพิ่มแรงยึดของแบร็กเกตจัดฟันซึ่งอาจลดปัญหาการหลุดของแบร็กเกตขณะรักษาและเพิ่มความสำเร็จของการรักษาได้
Other Abstract: The purpose of this in vitro study was to compare shear bond strength between metal orthodontic brackets and zirconia with different surface treatments. Zirconia blocks with dimension of 8 x 8 x 2 mm were sintered. Sample size implemented was 12 groups with 10 zirconia blocks per group. The specimens were embedded in PVC cylinder using dental gypsum. The specimen surfaces were polished and randomly treated by sandblasting (S), grinding with diamond bur (G), zirconia primer (Z), sandblasting + zirconia primer (SZ), grinding with diamond bur + zirconia primer (GZ). Another group with no surface treatment served as a control. Then, the specimens were divided into 2 groups and bond to metal orthodontic bracket with either resin adhesive (TransbondTM XT) or resin cement (RelyXTM U200). Subsequently, the specimens were stored in distilled water at 37°C for 24 hours and tested for shear bond strength using universal testing machine under crosshead speed of 1 mm/min. The mode of failure was examined and categorized under stereomicroscope. Microstructure after debonding was investigated using scanning electron microscope (SEM). The data were analyzed with Three-way ANOVA, One-way ANOVA and Welch (α=0.05). The result showed that surface treatment by grinding with diamond bur resulted in higher shear bond strength than sandblasting and control groups significantly (p<0.05). Zirconia primer containing MDP application increased the shear bond strength in all groups. When zirconia primer was not applied, RelyXTM U200 gave significantly higher bond strength than TransbondTM XT. In conclusion, zirconia surfaces treated by grinding with diamond bur with application of zirconia primer had increased the shear bond strength to metal bracket. This method could lessen the debonding complication and improve the success of orthodontic treatment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69570
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.806
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.806
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6175829132.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.