Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69607
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคณพล จันทน์หอม-
dc.contributor.authorบุณยวีร์ บุญณรงค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T11:44:01Z-
dc.date.available2020-11-11T11:44:01Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69607-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของความผิดฐานทำร้ายร่างกายนับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งศึกษาแนวคิด และเนื้อหาความเป็นมาของความผิดฐานทำร้ายร่างกายเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวของต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและเสนอแนะแนวทางในการรวบรวมบทบัญญัติและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความเหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยประสบปัญหาต่อการตีความถ้อยคำจากความผิดต่อร่างกายมาโดยตลอด แม้จะมีบทกฎหมายในเรื่องดังกล่าวก็ตาม แต่บทบัญญัติของความผิดฐานทำร้ายร่างกายในปัจจุบันยังไม่ชัดเจนเพียงพอและมาตราที่เกี่ยวกับความผิดฐานทำร้ายร่างกายยังคงอยู่คนละภาคความผิด ส่งผลให้ผู้กระทำความผิดแต่ละคนได้รับบทลงโทษไม่เท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับการตีความถ้อยคำและดุลพินิจของผู้พิพากษา นอกจากนี้ผู้เสียหายอาจไม่ได้รับความยุติธรรมสำหรับการดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดด้วยปัญหาเรื่องอายุความหรือถ้อยคำที่กำกวมในตัวบท  เมื่อได้พิจารณาบทกฎหมายของต่างประเทศพบว่า ประเทศอังกฤษ ประเทศอินเดีย ประเทศอิตาลี ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอียิปต์ รวบรวมความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทำร้ายร่างกายไว้ในหมวดเดียวกัน และมีการจำแนกประเภทความผิดเพื่อบ่งบอกอันตรายแต่ละรูปแบบอย่างชัดเจน ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนวิทยานิพนธ์จึงเสนอให้นำทุกฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับการทำร้ายร่างกายมาไว้ในหมวดเดียวกัน และจัดเรียงมาตราให้สอดคล้อง ด้วยการรวบรวมมาอยู่ในภาคความผิดและแก้บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ถึงมาตรา 300 และมาตรา 390 ถึงมาตรา 391 ซึ่งจะทำให้เกิดความยุติธรรมในการปรับใช้กฎหมายมากขึ้น  -
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims at studying background of the offences of bodily harm from the past until now. It also studies the concepts and the background contents of the offences of bodily harm in foreign countries in order to analyze, compare and propose recommendations for the collection of provisions and amendments to the law to be suitable for Thailand. The study shows that Thailand has been confronted with the interpretation of terms regarding the offence of bodily harm, the offence provision is not yet clear enough and sections relating to the offence of bodily harm are separated. When considering the legal principle in foreign countries, specifically in England, India, France, Italy and Egypt, it is found that the offence provisions are categorized in the same segment and each type of guilt is also categorized to clearly define its definition. This thesis, therefore, it is recommended that the offences of bodily harm are categorized in the same segment by section accordingly. This can be achieved by amending Section 295 to Section 300 and Section 390 to Section 391 of the Criminal Code, and this will also ensure a better justice in sentencing.  -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.910-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการวิเคราะห์พื้นฐานความผิดฐานทำร้ายร่างกาย-
dc.title.alternativeAn analysis of fundamental offence of bodily harm-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorKanaphon.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.910-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186022834.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.