Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6973
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขันทอง สุนทราภา-
dc.contributor.authorนันทชัย ศรีนภาวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-05-22T06:55:18Z-
dc.date.available2008-05-22T06:55:18Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741308574-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6973-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractน้ำเสียจากชุมชน เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ งานวิจัยนี้มีแนวความคิดของการจัดการน้ำเสียด้วยระบบบำบัดแบบติดกับที่ ระบบร่วมเยื่อแผ่น-ถังโปรยกรองเป็นการดัดแปลงระบบถังโปรยกรองปกติด้วยการเพิ่มชั้นตัวกลางที่ได้เคลือบผิวด้วยพอลิเมอร์ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพทางด้านล่างของถังโปรยกรอง และมีชั้นตัวกลางที่ไม่ได้เคลือบผิวตามแบบถังโปรยกรองปกติอยู่ถัดขึ้นไป งานวิจัยนี้ได้ออกแบบตามแบบถังโปรยกรองอัตราต่ำและสร้างถังโปรยกรองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 เซนติดเมตร สูง 1.15 เมตร เลือกใช้ตัวกลางเป็นท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 นิ้ว ยาวท่อนละ 1 นิ้ว เจาะรูจำนวน 35 รูต่อท่อน (5 รู X 7 แถว) ตัวกลางเคลือบเยื่อแผ่นได้จากการเคลือบสารละลายพอลิเมอร์ไคโตแซนซึ่งสังเคราะห์จากเปลือกกุ้งบนตัวกลาง โดยสารละลายพอลิเมอร์ไคโตแซนมีลักษณะสมบัติคือ ความหนืดประมาณ 4200-4500 เซนติพอยส์ การกำจัดหมู่อะเซติลร้อยละ 84.4 มวลโมเลกุลประมาณ 1.8x10x10x10x10x10 ดัลตัล น้ำเสียนำมาจากบ่อปรับสภาพน้ำเสียของโรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำสี่พระยา ซึ่งได้ผ่านขั้นตอนเครื่องดักกากของแข็งขนาดหยาบและละเอียดมาแล้ว โดยมีค่า BOD-loading, COD-loading, N-loading และ P-loading อยู่ในช่วง 0.03-0.124, 0.119-0.269, 0.01-0.025 และ 0.019-0.03 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าระบบร่วมเยื่อแผ่น-ถังโปรยกรองที่ใช้ชั้นความสูงของตัวกลางที่เคลือบผิวด้วยเยื่อแผ่นไคโตแซน 10 และ 20 เซนติเมตร ให้ประสิทธิภาพการกำจัดสารอินทรีย์ในเทอมของบีโอดีและซีโอดีเพิ่มขึ้น จากประมาณร้อยละ 50 และ 55 เมื่อเป็นระบบโปรยกรองตามแบบปกติ เป็นประมาณร้อยละ 60 และ 65 ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัดฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส ทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 8 เป็นประมาณร้อยละ 15-20 และประสิทธิภาพในการกำจัดค่าทีเคเอ็นในน้ำเสียดีขึ้นเล็กน้อย จากประมาณร้อยละ 31-35 เป็น ประมาณร้อยละ 36-50 ได้เสนอกลไกการกำจัดสารอินทรีย์และสารอาหารที่เพิ่มขึ้นในระบบร่วมว่าเกิดจากเมือกจุลินทรีย์ในชั้นตัวกลางที่เคลือบด้วยเยื่อแผ่นมีความเหมาะสมกับคุณลักษณะน้ำหลังผ่านชั้นตัวกลางปกติมากยิ่งขึ้น จึงทำการย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอาหารในน้ำเสียเพิ่มเติม ได้ทำการศึกษาอายุการใช้งานของเยื่อแผ่นไคโตแซนที่เคลือบบนผิวของตัวกลางพบว่ามีอายุการใช้งาน 12 วันen
dc.description.abstractalternativeMunicipal wastewater is a main cause of water pollution. This research was aimed to manage wastewater with an onsite treatment system. The combined membrane-trickling system is a modified tricking filter by an additional coated media bed with biodegradable polymer at the bottom part of the unit and followed up by the conventional uncoated media bed. Low rate trickling filter was designed. A diameter of 50 cm and 1.15 m height unit was fabricated as the studied unit. The media materials were rigid PVC elements of 0.5 inch diameter and 1 inch length making into a perforated wall of 35 opening (5 opening/rowX7 rows) each. The membrane-coated media was prepared by casting chitosan dope solution synthesized from shrimp shell on each piece of media as a thin membrane layer. The characteristics of the synthesized chitosan dope solution were as follows: viscosity 4200-4500 cP, degree of deacetylation 84.4% and molecular weight 1.8 MDalton. Raw municipal wastewater was taken from the equlization tank from Sipraya Water Quality Improvement Factory. It was after bar screen and rotating fine screen by which large and fine objects were removed. The BOD loading, COD loading, N-loading and P-loading were 0.03-0.124, 0.119-0.269, 0.01-0.025 and 0.019-0.03 kg/m3.d, respectively. For the combined membrane-trickling system with coated media bed of 10 and 20 cm, it was found that the organic and nutrient removal efficiency in terms of BOD, COD and T-PO4 3- increased from ~50%, ~55% and ~8% in the conventional trickling filter system to ~60%, ~65% and 15-20%, respectively. Little improvement on total Kjeldahl nitrogen removal was also obtained from 31-35% to 36-50%. The removal mechanism at the viscosity of coated media bed was due to the appearance of more appropriate biofilm to the wastewater characteristic. The chitosan membrane coated on the media laster for 12 days operationen
dc.format.extent1836973 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- ระบบเยื่อแผ่น-ถังโปรยกรองen
dc.subjectไคโตแซนen
dc.titleการบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบร่วมเยื่อแผ่น-ถังโปรยกรองen
dc.title.alternativeTreatment of municipal wastewater with combined membrane-trickling systemen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิคes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorkhantong@sc.chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntachai.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.