Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69822
Title: การสื่อสารแบบห้องเสียงสะท้อนในเฟซบุ๊ก
Other Titles: Echo chamber on Facebook
Authors: วรางคณาง อุ๊ยนอก
Advisors: พิรงรอง รามสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) องค์ประกอบของปรากฏการณ์ห้องเสียงสะท้อนในการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อปรากฏการณ์ห้องเสียงสะท้อน และ (3) ผลที่สามารถประเมินได้ของปรากฏการณ์ห้องเสียงสะท้อน ผ่านเพจเฟซบุ๊กที่มีแนวโน้มจะเกิดปรากฏการณ์แห่งห้องเสียงสะท้อน ในประเด็นการสื่อสารที่มีแนวโน้มแบ่งขั้วทางความคิด 2 ประเด็น คือ ประเด็นการจัดการผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ และประเด็นความวุ่นวายในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนของนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ คือ วิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์ตัวบทความคิดเห็นบนโพสต์ของเพจ อีกทั้งยังสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ติดตามเพจที่มีความกระตือรือร้นสูง และค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ ผลการศึกษาองค์ประกอบของปรากฏการณ์ห้องเสียงสะท้อนในการสื่อสารทั้งสองประเด็น โดยการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า ผู้ติดตามเพจสื่อสารความคิดเห็น โดยให้ข้อเท็จจริงและตั้งคำถามต่อข้อมูลที่ได้รับรวมกันน้อยกว่าการให้ความคิดเห็นถึง 9 เท่า การสัมภาษณ์พบว่าผู้ติดตามเพจมีวิธีเลือกรับและหลีกเลี่ยงข้อมูลที่ขัดแย้งกับทัศนคติของตนเอง 4 แบบ คือ 1) การหลีกเลี่ยงทางกายภาพต่อเนื้อหา 2) การไม่ทำความเข้าใจเนื้อหา 3) การเลือกรับข้อมูลเพื่อหาข้อโต้แย้ง และ 4) การเลือกรับข้อมูลเพื่อจับผิดผู้นำเสนอข้อมูล และการวิเคราะห์ตัวบทพบว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊ก 1) เลือกรับและตอบสนองต่อข้อมูลอย่างลำเอียง 2) สร้างกลุ่มแบ่งขั้ว และ 3) สื่อสารกันอย่างเป็นภัย ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อปรากฏการณ์ห้องเสียงสะท้อน ได้แก่ 1) การนำเสนอข่าวสารของสื่อและบรรยากาศการสื่อสาร ส่งผลต่อเฉพาะการสื่อสารประเด็นการจัดการผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ 2) ปัจจัยด้านการกำกับดูแลเนื้อหา และ 3) ลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการออกแบบฟีเจอร์และฟังก์ชันการใช้งานโดยมีกลไกของอัลกอริทึมอยู่เบื้องหลัง ได้ลดทอนความซับซ้อนของข้อมูล ผลักดันเนื้อหาที่ได้รับความนิยม และสร้างสังคมของคนที่คิดเหมือนกัน โดยผู้ติดตามเพจประเมินว่าการสื่อสารแบบห้องเสียงสะท้อนมีผลทั้งด้านที่ดีและด้านเสีย ทั้งต่อตัวบุคคลและต่อสังคม
Other Abstract: This research aims to study 1) the composition of Echo Chamber phenomena in communication on Facebook social media 2) the factors that affects the echo chamber and 3) the results of echo chamber evaluated by facebook users through some facebook pages that tends to cause echo chamber effect on 2 political issues: first is the tackling with persons who ‘show unrespect’ to the monarchy and the second is the turmoil during the ceremony in which Chulalongkorn University freshmen of academic year 2017 will pledge allegiance to the statue of king Rama V and VI. The researcher applied mixed methods by using content analysis and textual analysis for comments on posts of those pages, using in-depth interview for the admins and highly active followers of those pages and lastly documents collection was included. After studying the echo chamber’s composition by using content analysis, it was found that the followers provided fact and question 9 times less than providing any opinion, when using in-depth interview found that there are 4 different types of information avoidance of the highly active followers; physical avoidance, inattention, adopting (some information) in order to contest and adopting (some information) in order to offend. And after applying textual analysis it was found that followers 1) filtered out some information and responded to them with biased, 2) built polarization groups, and 3) communicated with harmful speech. The factors affecting the echo chamber are: 1) media’s presentation and communication climate, that affects only the second issue 2) the content regulation on the internet and 3) the feature and functional design of social media. It tends to reduce complex information, push popular content, and divide people in society into different attitudes; however, the followers evaluated that echo chamber affects person and society in both positive and negative aspects.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69822
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.926
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.926
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884665328.pdf21.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.