Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69849
Title: ทัศนคติ ความพึงพอใจ และแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C)
Other Titles: Attitude satisfaction and consumer behavioral trend towards consumer to consumer (C2C) electronic marketplace services
Authors: ไวยกรณ์ จริตไวทย์
Advisors: ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: พฤติกรรมผู้บริโภค
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Consumer behavior
Electronic commerce
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคต่อการให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C) โดยมีปัจจัยที่ใช้ศึกษา 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. ทัศนคติต่อการสื่อสารตลาดแบบบูรณาการ (IMC) 2. ความพึงพอใจต่อบริการหลังการขาย และ 3. การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ กับกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 25-49 ปี เป็นผู้เคยซื้อสินค้าออนไลน์จากผู้ขายรายย่อยผ่านผู้ให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบการเลือกตัวแปรโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อบริการหลังการขายมากที่สุด โดยพึงพอใจมากต่อเงื่อนไขการบริการหลังการขายที่มีความเป็นธรรม จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า สมการพยากรณ์ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่ดีที่สุด คือ “ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค = 3.402 + (0.145)บริการหลังการขาย” โดยสามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อได้ร้อยละ 02 ทั้งนี้ ที่บริการหลังการขายสามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อ อาจเป็นไปได้ว่า เงื่อนไขการบริการหลังการขายที่มีความเป็นธรรม สามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ และนำไปสู่ความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคได้
Other Abstract: This research aimed to study predictive variables towards consumers' purchasing intention in the service of the electronic commerce market between consumers and consumers (C2C). The survey research was conducted with online questionnaire distributed to 400-sample group aged 25-49 years who used to buy products online from small sellers through the service providers. The data were analyzed by Multiple Regression Analysis using the variable selection method as well as independent variables Stepwise regression. The results showed that respondents were most satisfied with the After-sales Service particularly with the fair after-sales service conditions. From the analysis using the Stepwise multiple regression method, it was found that the best prediction of the buying intention of consumers is “Consumers Purchase Intention = 3.402 + (0.145) After-sales service” which can predict the intention to Buy at 02 percent. In conclusion, After-sales Service can predict purchasing intention as fair After-sales Service conditions can make consumers satisfied and can finally lead to consumers' purchasing intentions.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69849
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.897
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.897
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184674628.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.