Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69870
Title: | อิทธิพลของผู้นำทางความคิดในเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการเปิดรับ การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น |
Other Titles: | The influence of influencer on social network on exposure, perception, attitude and purchase decision of fashion amulet |
Authors: | ธีรนุช มนัสกิตติกุล |
Advisors: | ธาตรี ใต้ฟ้าพูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับ การรับรู้และทัศนคติที่มีต่อผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น และการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น 2) เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับ การรับรู้และทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น 3) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเปิดรับ การรับรู้และทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น 4) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการเปิดรับ การรับรู้ และทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น ในการทำนายการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ด้วยวิธีการวิจัยแบบสำรวจด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบ แบบสอบถามทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง โดยต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และเคยเปิดรับข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กเพจหรืออินสตาแกรม ของผู้นำทางความคิด และนำผลมาวิเคราะห์ใน SPSS ในการศึกษานี้ พบว่า 1) เพศชายมีการเปิดรับจากผู้นำความคิดมากกว่าเพศหญิง 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากมีการรับรู้มากกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อย 3) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีการรับรู้เนื้อหามากกว่าคนที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี 4) เพศหญิงมีทัศนคติที่ดีต่อผู้นำทางความคิดมากกว่าเพศชาย แต่ในขณะเดียวกันเพศชายมีทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาสารเชิงบวกมากกว่าเพศหญิง 5) ปัจจัยการเปิดรับ การรับรู้ และทัศนคติ สามารถทำนายพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น โดยการศึกษาในครั้งนี้มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | This objective of this study is to know 1) To study exposure, perception and attitude of influencer about amulet fashion amulet. And also purchase decision. 2) To study the differentiation of demographic for exposure, perception and attitude of influencer about fashion amulet. 3) To study the correlation of exposure, perception and attitude of influencer about fashion amulet. 4) To study the factors of exposure, perception and attitude of influencer about fashion amulet. To predict purchase decision on fashion amulet by quantitative research according with survey research method from online survey. Sample size who are 18 years old and upper, live in Bangkok and also exposed information via facebook or instagram of influencer who presented about fashion amulet at least 1 person within 1 year and take the result to analyze with SPSS. This study found 1) Male has exposure from influencer about amulet more than female 2) Older samples has exposure more than younger. 3) Higher degree perceived information more than bachelor’s degree. 4) Female has positive attitude of influencer more than male meanwhile male has attitude in term of positive information more than female. 5) Factors of exposure, perception and attitude to influencer able to predict behavior of purchase decision on amulet. From this study, there are statistical significance at the level of 0.05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69870 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.862 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.862 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6184879028.pdf | 5.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.